fbpx

วัสดุอุปกรณ์ : Material ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

>>> เหตุที่บนหลังคาเราไม่ใช้ เฟล็กกันน้ำ เพราะเคยนำมาใช้แล้วอยู่กลางแดดบนหลังคา ร้อนๆ 2-3ปี เท่านั้นก็ผุกร่อน ไปก่อนเวลาอัยควร

>>> เหตุที่เราไม่ค่อยใช้ ท่อน้ำ PE เพราะ เดินท่อแล้วต้องติด support ถี่ๆ ไม่งั้นแนวท่อเลื้อยเป็นงูเลย อีกทั้ง เจอร้อนๆ บนหลังคา พอผ่านไป 1-2 ปี จะเข้าไปล้างแผง ทีนึง ก็ต้องเสียเวลาไปซ่อมจุดข้อต่อ ตลอดเลย เนื่องจาก แตก หลวม น้ำรั่ว
 
>>> เหตุที่เราพยายามใช้วัสดุที่ขึ้นสนิมยาก เพราะเมืองไทย ร้อนชื้น วัสดุที่เป็นเหล็ก จะขึ้นสนิมง่ายมาก 2-3 ก็สนิมกินหมด จากนั้นก็ผุกร่อน ซึ่งบางอย่าง ต้องจับยึด โครงสร้างต่างๆ ก็อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยได้
 
แผงรับประกัน10 , 25-30ปี แต่อุปกรณ์ไม่เอื้อที่จะอยู่ให้ครบตามแผง ตามรูป คือคำตอบ อันนี้คือขึ้นปีที่4 บังเอิญงานนี้ที่มีการติดตั้งมาแล้ว 4 ปี เราพึ่งรับงานดูแลบำรุงรักษาจากทีมเดิม ได้ 1 ปี
 
 
 
 
 
การบำรุงรักษา ล้างทำความสะอาดแผง ปกติการล้างแผงเราก็จะล้างด้วยน้ำเปล่าทั่วๆไป จะใช้แปลงพลาสติก หรือผ้าดันฝุ่น
 
หรือบางท่านมีเครื่องล้างก็ตามสะดวก แต่หากเจอพวกคราบขี้นก หรือคราบผงฝุ่นซีเมนต์ นี่ไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องใช้ตัวช่วย คือนำ้ยาล้างแผงโดยเฉพาะ
 
กรณีที่มีขี้นกเป็นจุดๆ หากไม่ล้างนานๆเป็นปี นี่ก็เสี่ยงนะ เพราะจุดที่ขี้นกบังแสง ก็จะเกิดความร้อนไปเรื่อยๆ สะสมความเสื่อมของผลึก จนนานๆไป หลายๆปี ก็อาจทำให้เกิดความร้อน จนแผงไหม้ได้เช่นกัน
 
ก่อนล้าง ลองวัดอุณหภูมิ ด้วย Thermo scan ดูก็จะพบว่ามีอุณหภูมิสูงเป็นจุดๆ ตรงขี้นก เราเรียกว่าจุ hot spot พอล้างขี้นกออก จุดhot spot ก็หายไป งานบ้านพักอาศัย อย่างน้อย ล้างปีละครั้งก็ยังดี
งานโครงการขนาดใหญ่ อย่างน้อย ปีละ 2ครั้งขึ้นไปกำลังสวย แต่ถ้าฝุ่นเยอะต้อง ปีละ4ครั้ง แจ่มเลย
 
แต่ถ้าโรงสี หรือโรงปูนนี่ น่าจะเดือนละครั้งซะล่ะมั้ง ก็ต้องคำนวณ บาลานซ์ดูว่า ค่าล้าง คุ้มกับค่าไฟที่ได้เพิ่ม จะเหมาะสมที่กี่ครั้งดี โตๆกันแล้วลองคำนวณดู555.
 
 
 
 
การบำรุงรักษา การขันอัดสกรูตัวจับยึดแผง หรือเมาท์ติ้งควรสุ่มวัดทอร์ค ดูว่ามันหลวม หรือหย่อนยานไปบ้างไม๊ อย่างน้อยปีละครั้ง ที่ใช้คำว่าสุ่มเพราะถ้าโครงการใหญ่ๆ จะอัดสกรูทุกครั้้ง ก็จะดูว่าเยอะไปหน่อย
 
แต่ถ้าลองสุ่มดูแล้ว สกรูมันหลวมหรือคลายเยอะจัง อันนั้นแหล่ะเราค่อยขันอัดทุกตัวที่สกรู มันคลายเพราะมันมีลมมาตีใต้แผง ซึ่งนานๆเข้ามันก็หลวมหรือคลายได้เหมือนกัน
 
ยิ่งที่ติดตั้งอาคารสูง ยอดตึก นี่ต้องระมัดระวังเลย อาจต้องขันอัดสรูทุกตัว ทุกปีเลยปกติที่เราทำคือ พอครบ 5 ปี (กรณีที่ทำสัญาจ้าง O&M) เราจะให้คำมั่นสัญญากับลูกค้าไว้ว่าเราต้องทำการขันอัดสกรูเมาท์ติ้ง ทุกตัว ป้องกันไว้ก่อน เราผู้รับผิดชอบจะได้ไม่ต้องนอนสะดุ้งว่า วันไหนแผงจะปลิวรึป่าวว๊ะ
 
สำหรับการขันทอร์ค มาตรฐาน วสท. ปี2565 กล่าวเพียง การออกแบบทางกล ซึ่งก็พูดกว้างๆ ไม่มีพูดถึงค่าทอร์คเลยสักนิด ก็ให้ไประวังกันเอาเอง ทีมงานโซล่าฮับ จึงขอสรุปเป้นดังนี้ 
 
1. ถ้าเป็นวัสดุของเมาท์ติ้ง ยึดกับวัสดุของเมาท์ติ้งเอง ต้องถามคนขายเมาท์ติ้งหรือต้องดูดาต้าชีท ของเมาท์ติ้งยี่ห้อนั้น ฯ ไม่เท่ากันทุกยี่ห้อ
เช่น L-Fleet ยึดกับ Rail
.
2. ถ้าเป็นวัสดุของเมาท์ติ้ง ยึดกับวัสดุอื่น เช่นหลังคาเมทัลชีท ขันพอตึงมือ แล้ววัดทอร์คจดไว้ แล้วตัวอื่นๆก็ขันให้เท่าๆกัน
เช่น L-Fleet กับหลังคาเมทัลชีท >> เนื่องจากหลังคาเมทัลชีท แต่ละอันมีความหนาและความยืดหยุ่นไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงกำหนดเป็นมาตรฐานไม่ได้ครับ
 
 
การบำรุงรักษา การถ่ายภาพความร้อนด้วยกล้องอินฟาเรด หรือเราเรียกว่า Thermo Scan เป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างนึง อย่างน้อยก็ควรทำปีละ 1 ครั้ง
 
เมื่อเวลาผ่านไป แล้วดูว่าจุดใดมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ หรือจุดต่อทางไฟฟ้าจุดใดที่หลวม หรือคลาย เราจะได้แก้ไขก่อนที่จะ สายเกินไป
มันสายเกินไป สายเกินไป...
กับคำนั้นจึงยอม ยอมหนี
เพราะใจมันรู้...ดี
เคยผิดหวังและต้องหวั่นไหว
กับคำสุดท้าย (เสียใจ)
มันสายเกินไป สายเกิน เกินที่จะทน...