fbpx

 

โพสนี้ อาจไม่ได้ประโยชน์ ความรู้ด้านโซล่าเซลล์ สักเท่าไหร่
แค่บอกว่า วันพรุ่งระดมพล ลงแขก นำแผงขึ้นบนหลังคา 900กว่าแผง
ต้องเสร็จ ภายใน 16.00 น. เนื่องจากโรงงาน ต้องการมีไลน์การผลิตงาน ตลอด 24 ช.ม. ก็เลยเจียดเวลา ให้นำแผงขึ้นหลังคาได้ 8 ช.ม. ซึ่งจริงๆก็ดีใจนะ ที่โรงงานมีงานผลิตต่อเนื่อง แสดงว่าธุรกิจยังไปได้สวย ถึงแม้นว่าจะมีปัญหาเรื่องโควิด-19 ระบาดในขณะนี้

พรุ่งนี้กำลังพล 45 ชีวิต พร้อมเครน 50ตัน ที่มารวมตัว ลงแขก กันยกแผงขึ้นบนหลังคาให้แล้วเสร็จ ภายในเวลา 4โมงเย็น

ดังนั้นกระสุน ดินดำก็ต้องเตรียมให้พร้อม ดังรูป กองทัพต้องเดินด้วยท้อง ตามคอนเซ็ปที่ว่า ทีมงานต้องกินอิ่ม นอนอุ่น


จริงๆงานด้านโซล่าเซลล์ ถ้าเป็นคนทำจริงๆ ก็ต้องถือว่าเป็นงานที่หนักเอาการ ต้องทำงานบนหลังคา กลางแดด แถมรวมงานสารพัดช่างอีกต่างหาก เช่น งานไฟฟ้า งานเหล็ก งานปูน งานสี งานโครงสร้าง งานสื่อสาร งาน.... แถมเพิ่มเติมอีกอย่างคือเสี่ยง เพราะทำงานบนที่สูง ซึ่งหากค่าแรงหรือสิ่งตอบแทนไม่จูงใจเพียงพอ ก็จะหาคนที่ทำงานหนักๆแบบนี้ แล้วให้มีความชำนาญ ที่หลากหลายสาขาช่าง ก็ต้องบอกว่าหายากพอควร

ซึ่งจริงๆ กว่าที่โซล่าฮับ จะรวบรวมทีมงานได้ดังปัจจุบัน ก็ผ่านการลองผิด ลองถูก มาหลากหลายแนวทาง เจ็บมั่ง ปวดมั่ง ก็ถือว่าเป็นความสวยงามของการเดินทาง

สรุปมี 2 อย่าง ที่สำคัญในการสร้างทีมงาน คือ
1.ชัดเจนในเงื่อนไขก่อนการร่วมงานกัน
2.ให้...........................ใจ

จบ....

สรุปแว่... ก็ขึ้นแผงทันตามกำหนด เสร็จในเวลา 6 ช.ม.

 

 

 

     ในตอนนี้จะกล่าวถึงเงื่อนไขในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ในเขตของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยเป็นกรณีสถานที่ติดตั้งนั้น มีการเชื่อมต่อ ที่แรงดัน 12 kv. หรือมีการติดตั้งตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า นั่นเอง (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ที่เป็นแบบบริษัท หรือโรงงาน)

      จากรูป Diagram จะเห็นว่าเราติดตั้งทั้ง Relay Protection (เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขขนานไฟฟ้า ของการไฟฟ้า ) และ ติดตั้ง Zero Export เพื่ออำนวยความสะดวก Owner เพื่อจะได้ไม่มีไฟไหลย้อนจนทำให้ Main Breaker Solar โดนสั่งTrip 

      แต่ กฟน. มีระเบียบ หรือเงื่อนไข ให้เราเลือกติดตั้ง อย่างใด อย่างหนึ่งได้ คลิกอ่านเพิ่มเติม ตามไปดูกันเลย

อ่านเพิ่มเติม...

4. STC : Standard Testing Conditions คือการทดสอบแผงเซลล์เมื่อได้รับแสงความเข้ม (Irradiance) 1000 W/m² ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ที่เราดูเอามาใช้เทียบเคียงหรือออกแบบ ก็ใช้แบบนี้ STC ครับ
สมมุติ ตามรูปเป็นสเป็ค ของแผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ RISEN ขนาด 455 W. ซึ่งก็หมายความว่า ถ้ามีแสงแดด ที่มีความเข้มแสง ที่ 1000 W/m² แผงโซล่าเซลล์ จึงจะผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาได้ 455 W. แต่

อ่านเพิ่มเติม...

วงการโซล่าเซลล์ ในมุมมองของโซล่าฮับ
ปีหน้า 2564 น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรืออัพเดทเทคโนโลยี หลายๆอย่าง ที่น่าดูชม อาทิ

>>> เรื่องระบบความปลอดภัยในการติดตั้ง ระบบโซล่าเซลล์ ที่ต่างประเทศเริ่มมีมาตรฐานบังคับใช้แล้ว แต่ในเมืองไทย ก็ยังรีๆรอๆ อยุู่ไม่รู้เอาไงแน่
     - Fire Fither Switch
     - Arc Fault
     - Rapid Shut down

อ่านเพิ่มเติม...

ศัพท์ทางเทคนิค ที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์

อันเนื่องมาจากที่ได้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ให้กับผู้ที่อุดหนุนจ้างโซล่าฮับติดตั้ง ( อ๊ะ..ทีมงานกราบผู้มีพระคุณ...โดยพร้อมเพรียงกัน... ) แล้วมีคำถามว่า ติดตั้ง 3 kW. ทำไมพอติดตั้งแล้ว แดดมา ผลิตแล้วไม่เห็นได้ 3 kW. ตามที่คุยไว้เลย?
อ๊ะ..อ๊า...มาๆ ขยับเข้ามาใกล้ๆ เดี๊ยวจะเล่าให้ฟัง 
1.Irradiance ความเข้มของแสงอาทิตย์ มีหน่วยเป็น W/m² >>>ความหมายคือ
อ่านเพิ่มเติม...