fbpx

ว่าด้วยเรื่องการใช้งานระบบอ๊อฟกริด 

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนติดตั้งโซล่าเซลล์แบบอ๊อฟกริด (ไม่ต้องเชื่อมต่อกับไฟของการไฟฟ้าฯ) โดยอาจจะเป็นทั้งผู้ที่จะลองติดตั้งเอง DIY ( Do It Your Self ) หรือผู้ที่จะจ้างช่างมาติดตั้งฯ วันนี้ทีมงานโซล่าฮับขอเสนอมุมมองให้ท่าน เพื่อเป็นแง่คิดที่จะใช้งานระบบอ๊อฟกริด ดังนี้ครับ

 

1.การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ คือการใช้เป็นพลังงานทดแทน ยังมิใช่พลังงานหลัก ดังนั้นการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรกำหนดการใช้งานเฉพาะที่มีความจำเป็นและเหมาะสม เนื่องจากมีผลกับงบประมาณ และอายุการใช้งานของอุปกรณ์

2.ถ้าที่บ้านหรือสำนักงาน มีไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายฯแล้ว ควรใช้เป็นระบบออนกริด จึงเหมาะสมและคุ้มค่าการลงทุนที่สุด

 

3.ปัจจุบัน จุดอ่อนของระบบอ๊อฟกริด คือแบตเตอรี่ เพราะราคายังสูง และอายุการใช้งานสั้น (เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ) หากต้องการใช้งานให้ยาวนาน ก็ต้องเคร่งครัดการใช้งานโหลด ตามที่ออกแบบไว้ เมื่อเลือกใช้ และหรือออกแบบ ได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถเกิดประโยชน์ คุ้มค่า และคุ้มทุนในระยะยาว ซึ่งหากท่านไปเพิ่มโหลดการใช้งานมากกว่า ตอนที่ออกแบบไว้ ก็มีผลให้พลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ หมดก่อน ที่จะสว่างหรือมีแดดมาชาร์จเพิ่มนั่นเอง ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่เสื่อมก่อนเวลาอันควร

4.เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ใช้ขดลวดเป็นตัวขับเคลื่อน เช่น มอเตอร์ , ปั๊มน้ำ , สว่าน , พัดลม , เครื่องดูดฝุ่น... ที่ใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่า ½ แรงม้า หรือ 370 W. ต้องแยกออกมาใช้เป็น อินเวอร์เตอร์ แบบ Soft Start หรือระบบ Solar Pump Inverter

5.ระบบปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ (ที่ต้องใช้ แบบ Soft Start หรือระบบ Solar Pump Inverter ) ในเวลาที่มีแสงแดดควรใช้การสูบน้ำขึ้นหอคอยแทงค์น้ำ โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ แล้วใช้แรงดันน้ำ จากแทงค์น้ำปล่อยไปยัง เรือก สวน ไร่นา ทั้งนี้ต้องคำนวณปริมาณน้ำให้สมดุล ระหว่างสูบขึ้นแทงค์ และปล่อยไปบริโภค

6.หากเน้นระบบอ๊อฟกริด แบบราคาถูกๆ ออกแบบใช้ใช้ชาร์จเจอร์ แบบ PWM และ  การใช้งานโหลดหรือพลังงานไฟฟ้า ควรต่ำกว่า 1,000 w-hr/day ซึ่งถ้าต้องการให้ถูกลงไปอีก ก็ใช้อินเวอร์เตอร์แบบ Modified Sine Wave แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทขดลวดหรือมอเตอร์ ห้ามนำมาใช้งาน

7.หากใช้พลังงานไฟฟ้า มากกว่า 1,000 w-hr/day ควรใช้ออกแบบใช้ชาร์จเจอร์ แบบ MPPT และควรใช้อินเวอร์เตอร์แบบ Pure Sine Wave เพื่อนำเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภทมาใช้งานร่วมกันได้

8.หากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า DC ก็ไม่ต้องใช้ Inverter และพลังงานสูญเสีย ก็น้อยลง เพราะไฟฟ้าจาก แบตเตอรี่ หรือแผงโซล่าเซลล์ ก็ได้เป็นไฟฟ้า DC ( ในทางปฎิบัติ คงยาก ) เช่น ใช้พัดลม DC , หลอด LED DC , TV DC , ตู้เย็น DC เป็นต้น

9.การออกแบบระบบอ๊อฟกริด ที่ใช้ ชาร์จเจอร์แบบ PWM ต้องหาค่ากระแสไฟฟ้า ที่ต้องการจาก PV เป็นหลัก

10.การออกแบบระบบอ๊อฟกริด ที่ใช้ ชาร์จเจอร์แบบ MPPT เราต้องหาค่ากำลังไฟฟ้า ที่ต้องการจาก PV เป็นหลัก