ตัวอย่างที่ 1 ( มีท่านหนึ่ง จากเฟซบุ๊ค ขอมาให้ออกแบบ PV Design ระหว่าง แผง 550 W กับ HUAWEI 5kW. 1 เฟส )
>>> ตัวอย่างนี้ ส่วนใหญ่โซล่าฮับ ไม่ค่อยทำ เพราะ แผง 550 W หนัก และ ใหญ่ กว่าแผง 450 W ทำให้ติดบนหลังคาบ้านพักอาศัยยาก ซึ่งแผงขนาด 500 W ขึ้นไป เหมาะสำหรับงานโครงการฯขนาดใหญ่ มากกว่า !!! แต่เนื่องจากมีคนขอให้ออกแบบ จึงทำให้ดูจร้า
>>> อีกทั้งส่วนใหญ่ กระแสไฟฟ้าแผง Imp.จะสูงกว่า ที่ตัวอินเวอร์เตอร์รับได้
ใช้แผงยี่ห้อ LONGI 550 W. และอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อ HUAWEI 5 kW. ประเภท 1 เฟส
LONGI 550 W. >>> Vmp = 41.95 V. , Voc = 49.80 V. , Imp = 13.12 A , Isc = 13.98 A
*บ้านพักอาศัย ในเมืองไทยเรา ส่วนใหญ่เราไม่สามารถติดตั้งแผง ได้ในระนาบการรับแสง ทิศเดียวกันแน่ๆ (ยกเว้นเป็นหลังคาเมทัล โรงรถ) ดังนั้นเราต้องต่อ แยกคนละ MPPT กัน เพราะหากรับแสงไม่เท่ากัน ทำให้ผลิตกระแส และแรงดัน ได้ไม่เท่ากัน ซึ่งหากนำมาขนาน หรืออนุกรมกัน เป็นผลให้ประสิทธิภาพต่ำลงมากๆ อีกทัั้งในระยะยาว อาจเกิดความเสียหายกับแผง และอินเวอร์เตอร์
ซึ่งการขนาน หรือ อนุกรมกัน กระแแส หรือแรงดันไฟฟ้า ควรที่จะต้องใกล้เคียงกัน
ทีนี้เราลองไปดูสเป็ค ของอินเวอร์เตอร์ HUAWEI 5 kW. 1 phase
♦ ช่วงแรงดัน ทำงาน >>> 90 - 560 V.
♦ แรงดันที่ทำงานได้ประสิทธิภาพสูงสุด >>> 360 V.
♦ กระแสไฟฟ้า ที่สามารถแปลงเป็นไฟ AC ได้มากสุด >>> 13 A
♦ กระแสไฟฟ้า ที่รับได้มากสุด >>>15 A
♦ มี 2 MPPT
♦ แต่ละ MPPT ต่อได้ 2 String หรือขนานกันนั่นแหละ >>> แต่ ณ ปัจจุบัน แต่ละ MPPT ก็ไม่ควรขนานสตริงกัน เนื่องจาก ขนาดกระแส เกินจากที่ อินเวอร์เตอร์รับได้
จากตาราง MPPT 1 ต่ออนุกรม 6 แผง และ MPPT 2 ต่ออนุกรม 5 แผง รวมแล้วเป็น 11 แผง กำลังไฟฟ้ารวม 6.05 kWp. , DC to AC ratio 1.21
→ หากจะขออนุญาตฯ ขายไฟ กกพ. อนุญาตให้ติดตั้งแผงได้ไม่เกิน 5 kWp. นะจ๊ะ ตัวอย่างนี้ออกแบบให้เหมาะสมทางวิศวกรรมเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการขออนุญตฯ เน้อ (เออ!!! แล้วทำไม กกพ. มาจำกัด แค่ 5 kWp. ทำไมว่ะ มันมีเหตุผลไรรึ! กกพ. ลองเล่าให้ฟังหน่อยซิ!!! )
♦ จำนวนแผงอนุกรม 6 PV. Voc รวม = 49.80 x 6 = 298.80 V. >>> อนุกรม 6 แผง ได้ แรงดันขณะเปิดวงจร ไม่เกิน 600 V. ที่อินเวอร์เตอร์ทนได้
♦ จำนวนแผงอนุกรม 5 PV. Voc รวม = 49.80 x 5 = 249 V. >>> อนุกรม 6 แผง ได้ แรงดันขณะเปิดวงจร ไม่เกิน 600 V. ที่อินเวอร์เตอร์ทนได้
♦ จากข้อมูล จะเห็นว่า อินเวอร์เตอร์แปลงไฟฟ้า AC ได้เต็มที่ 13 A แต่แผง มีกระแส Imp แค่ 13.12 A ซึ่งหมายความว่า ช่วงเที่ยงๆ แดดจัดๆ แผงสร้างกระมาเต็มที่เลย 13.12 A แต่อินเวอร์เตอร์ ได้เพียง 13 A เท่านั้น หายไป 0.12 A ก็แค่เล็กน้อยไม่ใช่สาระสำคัญอะไร เราก็นำมาต่อใช้งานได้แหละ *แต่ข้อควรระวัง
→ 1.ถ้าเป็น HUAWEI 5KW 3 เฟส จะรับกระแสได้เพียง 11 A ดังนั้นหากนำแผงนี้ไปใช้กับ HUAWEI 5KW 3 เฟส จะทำให้ ช่วงเที่ยงๆกระแสหายไป 2.13 A หรือ ประมาณ 15 % เลยนะ ซึ่งอันนี้ไม่ควรทำแน่
→ 2.แผงแต่ละยี่ห้อ กระแสไม่เท่ากัน บางยี่ห้อ ขนาด 550 W แต่กระแสมากถึง 17 A ดังนั้นหากนำแผงนี้ไปใช้กับ HUAWEI 5KW ทั้ง 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็จะทำให้ ช่วงเที่ยงๆกระแสหายไป 5 - 6 A หรือ ประมาณ 30 % เลยนะ ซึ่งอันนี้ไม่ควรทำอย่างยิ่ง !!!
→ 3.สรุป ก่อนนำมาใช้งาน ควรต้องดู Data Sheet ของแผง และ อินเวอร์เตอร์ ก่อนทุกครั้ง โดยดูตัวอย่างการคำนวณ ดังข้างต้น
→ 4.แผง 500 W ขึ้นไป ใหญ่และหนัก โซล่าฮับ ไม่นิยมมาใช้กับงานบ้าน เราเน้นใช้งานโครงการขนาดใหญ่ และอินเวอร์เตอร์ ขนาดใหญ่ ก็จะรองรับกระแส ได้มากกว่า อินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก โดยงานบ้านพักอาศัย เราจะช้แผงขนาดประมาณ 450 W. เหมาะสมกว่า
=================================================================================================
ตัวอย่างที่ 2
ใช้แผงยี่ห้อ SOLAR PPM ขนาด 600 W. (ผลิตในเมืองไทย) และอินเวอร์เตอร์ขนาด 30 kW. ของ Huawei
.
Vmp = 35.22 V.
จำนวนแผงอนุกรม 20 PV. Voc รวม = 826.2 V. >>> 1.อนุกรม 20 แผง ได้ แรงดันขณะเปิดวงจร ไม่เกิน 1,100 V. ที่อินเวอร์เตอร์ทนได้
Imp = 17.07 A.
Isc = 17.95 A.
>>> 2.ไม่ควรขนานสตริง เพราะ ถ้าขนานแล้ว กระแสมากสุด(ช่วงแดดแรง) 34.14 A แต่อินเวอร์เตอร์แปลงไฟได้สูงสุดแค่ 26 A.
*แต่หากยังดึงดันจะขนาน ก็ทำได้แต่ช่วงเที่ยงๆ Performance จะหายไปประมาณ 8 A. หรือประมาณ 25% หรือหายไปประมาณ 150 W.ต่อแผง เลยนะนั่น
>>>3.ขนานสตริงได้ อินเวอร์เตอร์ไม่พัง เพราะ ถ้าขนานแล้ว กระแสมากสุด(ช่วงแดดแรง) 35.9 A เนื่องจากInverter รับได้สูงสุด 40 A. ***แต่เราไม่ควรทำ เนื่องจากอินเวอร์เตอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพตามข้อ2***
================================================================================
ตัวอย่างที่ 3
ใช้แผง LONGI 555 W และ Inverter SUNGROW ขนาด 125 kW.
แผง LONGI 555 W.
>> Imp = 13.19 A.
>> Vmp = 42.10 V.
>> Voc = 49.95
.
>> มี ทั้งหมด 12 MPPT แต่ละ MPPT ต่อขนานกันได้ 2สตริง หรือมี 2 connector
>> 1 MPPT แปลงกระแสได้เต็มที่ 30 A.
>> 1 MPPT รับกระแสสูงสุดได้ 40 A.
>> แต่ละสตริง รับกระแสสูงสุดได้ 20 A.
>> rated voltage 600 V ถ้ามีแรงดัน Vmp เข้ามา600 V. ตัวอินเวอร์เตอร์ ชอบสุด มีประสิทธิภาพสูงสุด (แต่เมืองไทยแดดแรง อุณหภูมิสูง แล้ว ค่าแรงดันจะตกลงหน่อย จึงเผื่อแรงดัน ไว้สัก 5-10%)
ตามตาราง จึงทำการอนุกรม กัน 16 แผง ดังนั้น แรงดันขณะเปิดวงจร = 49.95 x 16 = 799.2 V >>> OK ไม่เกิน 1,000 V. อนุกรมกันได้อยู่
.
ขนาน 2 สตริงได้ เพราะ 14.04 x 2 = 28.08 A. เพราะSUNGROW แปลงกระแสได้สูงสุด 30 A.ต่อ MPPT และรับได้ไม่พัง เพราะไม่เกิน 40 A.
.
แล้วทำไมไม่ขนาน ทุก MPPT ให้เต็มทุก MPPT ?
เพราะแว่...ว่า กำลังไฟฟ้าจะมากเกิน >>> แต่จริงแล้วเพิ่มอีก 16 หรือ 32 แผง ก็ยังได้ (แต่เมืองไทย DC to AC ratio อย่าให้เกิน 1.3 ) แต่บังเอิญว่าอันนี้ เค้า(Owner) ซื้อแผงกับอินเวอร์เตอร์ มาจำนวนเท่านี้แล้ว ก็เลยจับยัดๆ ให้เหมาะสมที่สุด
.
ทำไมสตริง สุดท้ายมีแค่ 15 แผง ซื้อแผงกับอินเวอร์เตอร์ มาจำนวนเท่านี้แล้ว ก็เลยจับยัดๆ ให้เหมาะสมที่สุด >>> แต่ถ้าจะขนานอีกสตริง ในMPPTเดียวกัน จำนวนแผง ที่มาขนานกัน ต้องเท่ากันนะ
.
จริงๆ ท่านอาจจะจัดอนุกรม เป็น 17 แผงต่อสตริง ก็ได้ ก็ลอง นำมาจัดดู โดยนำค่า Voc คูณ จำนวนแผง
หรือ 18 ก็ได้ แต่ คูณกันแล้ว อย่าให้เกิน 950 V. เผื่อไว้หน่อย ว่า บางวันของเดือน มี.ค. หรือ เม.ย. มีความเข้มแสง มากกว่า 1,000 W/ตารางเมตร ซึ่งแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ก็อาจจะมากกว่า ที่ระบุใน Data sheet