fbpx

Conductive Loops คือพื้นที่วงรอบของตัวนำไฟฟ้า ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับระบบฯ โดยสนามไฟฟ้า และสนามแม่เหล็ก ถ้าอยู่ถูกที่ถูกทางก็จะเป็นประโยชน์ เช่น มอเตอร์ก็เป็นการใช้ประโยชน์ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เหนี่ยวนำจนทำให้โรเตอร์หมุนแล้วทำให้เกิดการสร้างพลังงานกล นั่นเอง

ขอยกตัวอย่าง Conductive Loops

ตัวอย่างหนึ่ง ของConductive  Loops ไม่ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น เรามีม้วนปลั๊กพ่วงที่มีสายยาวมากเกิน 20 เมตรขึ้นไปแล้วขดม้วนอยู่ในโรลสาย ไม่คลี่หรือดึงออกมา จากนั้นเราลองเอาเครื่องอ๊อกเหล็ก มาเสียบปลั๊ก จากโรลสายนั้น แล้วลองเชื่อมเหล็กดู ก็จะรู้ว่าสายนั้นร้อนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากเรายังเชื่อมเหล็กนั้นต่อไปเรื่อยๆ ฉนวนของสายไฟที่อยู่ในโรลสายนั้นก็จะละลาย จนช็อตกันในที่สุด ซึ่งอันนี้ก็เป็นผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า นั่นเอง

 

 ที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์

Conductive  Loops หรือพื้นที่วงรอบตัวนำไฟฟ้า ในแวดวงการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์  ไม่ค่อยได้มีคนพูดถึงกันสักเท่าไหร่ แต่สิ่งที่โซล่าฮับ ยึดถือมานมนานหลายปีแล้ว (น่าจะเกิน 5ปี)  ที่ไวริ่งสายสตริง ต้องไม่ก่อให้เกิด Conductive Loops เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลังการติดตั้งระบบฯ

 

ปูพื้นก่อนเข้าเรื่อง

การอนุกรมแผง

แผงโซล่าเซลล์ ขนาดประมาณ 1x2 ม. ในปัจจุบัน ที่ติดตั้งบนหลังคา กำเนิดไฟฟ้าเป็นไฟฟ้า DC ที่มีขั้วบวก+ และขั้วลบ- กำลังไฟฟ้า 300 - 500 W. แล้วก็มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 35 - 50 โวลท์ ซึ่งหากเป็นระบบออนกริด แค่ 1 แผง ก็ยังไม่สามารถนำมาต่อใช้งานได้ ถ้าเป็นงานบ้านพักอาศัย ก็ต้องนำมาต่ออนุกรมกัน ประมาณ 5 - 12 แผง สำหรับงานโครงการขนาดใหญ่ ก็จะต่ออนุกรมกันประมาณ 15 - 25 แผง เป็นต้น

การอนุกรมกัน ก็คือการนำสายไฟ DC ขั้วบวก+ และขั้วลบ- มาต่อกันโดยให้ ขั้วบวก+ของแผงที่ 1 ต่อเข้ากับขั้วลบ- แผงที่ 2 จากนั้นนำขั้วบวก+ของแผงที่ 2 ไปต่อกับขั้วลบ- ของแผงที่ 3 และจะต่อแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแล้วก็จะเหลือ ขั้วลบ-ของแผงที่1 และ ขั้วบวก+แผงสุดท้าย แล้วไปต่อเข้ากับตัวอินเวอร์เตอร์ นั่นเอง ซึ่งสาย + - ที่ลากจากบนหลังคา ลงมายังอินเวอร์เตอร์ เราเรียกว่าสายสตริง

 

 

ผลลัพธ์ หรือผลเสียของการเดินสายแล้วทำให้เกิด Conductive Loops

ตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น หากมีการเกิดฟ้าผ่า หรือฟ้าลง หรือ กระแสเซิร์ท เข้ามาในระบบโซล่าเซลล์ที่เราติดตั้ง แล้วมาเจอกับการเดินสายเป็นวงรอบ หรือ Conductive Loops ก็จะทำให้แรงดันที่เซิร์ทเข้ามามีค่าเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ อันจะเป็นผลให้เป็นอันตรายกับอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้นไปอีก หรืออาจจะพบว่าเกิด PV Connection (MC-4) ไหม้ หรือหัวฟู่ หรือละลายได้ หรืออาจเกิดระเบิดในจุดต่อกราวด์ ที่มีความต้านทานสูง เป็นต้น

 

 

ต่อสายระหว่างแผงอย่างไร ทำให้เกิด Conductive Loops

การต่อสายระหว่างแผงหนึ่ง ไปยังอีกแผงหนึ่ง หรือการไวริ่งสาย นี่แหละที่อาจทำให้เกิด Conductive  Loops หรือพื้นที่วงรอบเหนี่ยวนำไฟฟ้า ที่ไม่พึงประสงค์ จากรูปด้านล่างเป็นตัวอย่าง ขั้วบวก และขั้วลบ เดินสายแยกกันมา (ห่างกันประมาณ 4 เมตร เพราะแผงยาวประมาณ 2 เมตร) ซึ่งเป็นผลให้มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขนาดพื้นที่ประมาณ 36 ตารางเมตร ( 4 x 9 ม. : กว้างxยาว)

 

 

การต่อสายระหว่างแผง ที่ไม่ทำให้เกิด Conductive Loops

ตามรูปด้านล่าง เราต้องทำการเดินสายจากขั้วบวก จากแผงสุดท้ายย้อนกลับมาทางเดิม คู่กับสายขั้วลบ เพื่อมิให้เกิดวงรอบ การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งวิธีการนี้ก็ทำให้เปลืองสายเพิ่มขึ้นอีก และนี่ก็เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ โซล่าฮับใช้สายบวก และ ลบ เป็นสีดำสีเดียว เพราะถ้าใช้สำดำ แดง ก็จะหมดไม่พร้อมกัน อันเนื่องจากการใช้ไม่เท่ากันนั่นเอง ซซึ่งการเดินสายแบบนี้ก็ไม่มีสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำเกิดขึ้น หรือหากีก็น้อยมาก

และนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ไม่ค่อยรับงานเป็น Sub Contractor เพราะรับแล้วมีข้อจำกัด หลายประการ เช่น การออกแบบที่เราไม่ได้ทำเอง , ด้านงบประมาณที่เอาถูกที่สุดเข้าว่า , วัสดุ อุปกรณ์ที่เราต้องรอแล้ว รออีก ที่ Main Contractor ไม่ส่งมาซักที อื่นๆอีกมากมาย...

 

วสท.ได้ระบุุเกี่ยวกับ การเดินสายเป็นวงรอบ ไว้ในมาตรฐานการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2565

วสท. มีระบุไว้ในมาตรฐานฯ เล่มแรก ปี 2559 ใช้คำว่า Conductive Loops แต่มาตรฐานฯ ปี 2565 ใช้คำว่า การเดินสายเป็นวงรอบ (wiring loops) เพื่อลดขนาดแรงดันเกินเหนี่ยวจากฟ้าผ่า ดดยสามารถดูรายละเอียดจากมาตรฐานการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ปี 2565 หน้า 32 , 50 และ หน้า 51 ดังรูปด้านล่าง

 

====================================================================