กรุณาอ่านความเดิม 4 ตอนที่แล้วก่อนเน้ออออ.. Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP2 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP3 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP4
จากตอนที่แล้วได้เกริ่นถึงหลักการทำงาน คร่าวๆ ของ Huawei Hybrid Solution (On-Off Grid Hybrid) ไปบ้างแล้ว สำหรับตอนนี้ ก็จะมากล่าวถึงการทำงานแต่ละโหมด หรือการทำงานแต่ละ State ซึ่งตรงจุดนี้จะสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจให้ลึกลงไปอีกหน่อย เพราะเราต้องตั้งค่าการทำงาน ให้เหมาะสม หรือสอดคล้องการใช้ไฟฟ้าภายใน ของลูกค้าแต่ละราย
เนื่องจากพฤติกรรม การใช้ไฟฟ้า แต่ละรายไม่เหมือนกัน เช่น
♦ บ้านคุณหนุ่ม อยู่บ้านกันหลายคน ช่วงกลางวันออกไปทำงานกันหมด ช่วงเย็นย่ำ กลับมาบ้าน ก็มีการใช้ไฟฟ้าเวลากลางคืนเป้นส่วนใหญ่
♦ บ้านคุณนุก อยู่บ้านคนเดียว กลางวันไม่ค่อยอยู่บ้าน เน้นสังสรรค์ตอนกลางคืน แต่มีบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ ต้องมีปั๊มอ็อกซิเจ็นสำหรับปลา ที่กินไฟ 500วัตต์ ตลอด 24 ช.ม. ดังนั้นไฟฟ้าต้องมีจ่ายตลอดเวลา ห้ามดับเช่นกัน ถ้าไฟดับปลาตายหมดยกคลอกแน่
♦ บ้านคุณหญิง อยู่บ้านกันหลายคน มีผู้ป่วยติดเตียงต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่นอ็อกซิเจ๊นตลอด 24 ช.ม. ดังนั้นไฟฟ้าต้องมีจ่ายตลอดเวลา ห้ามดับเช่นกัน
♦ บ้านท่านขุน อยู่กลางทุ่งบ้านเดียวโดด มีไฟของการไฟฟ้าฯ เข้าถึง สร้างรั้วรอบ ขอบชิดอย่างดี แถมติดตั้งระบบไฟช็อตที่รั้ว ถ้ามีผู้บุกรุก ปีนรั้ว โดนไฟช็อต ท่านขุนเลยเกรงว่าถ้าไฟของการไฟฟ้าฯดับ เดี๊ยวไฟที่จ่ายให้กับรั้ว ไม่มี แล้วโจรจะปีนเข้ามาได้ ดังนั้นไฟฟ้าห้ามดับ ต้องมีไฟตลอด 24 ช.ม.
♦ บ้านคุณเสก อยู่บ้านเป็นครอบครัวใหญ่ แถมมีห้องเช่าในบริเวณบ้าน และมีการใช้ไฟฟ้า มิเตอร์เดียวกันด้วย ดังนั้นมีใช้ไฟกลางวันเยอะอยู่ และใช้เป็นมิเตอร์ TOU ( ค่าไฟ 9.00-22.00 ค่าไฟ5บาทกว่า/หน่วย และ22.00-9.00 ค่าไฟ 2บาทกว่า/หน่วย )
♦ บ้านคุณลุงโอ่ง เสียค่าเดือนละ พันกว่าบาท ใช้ไฟกลางวันบ้างนิดหน่อย จะติดโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน ขายไฟ 2.2 บาท/หน่วย
ที่ต้องยกตัวอย่างมาข้างต้น เพื่อจะได้เห็นภาพว่า พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า มีหลากหลาย ดังนั้นเราก้ต้องเลือกใช้ และเลือกการตั้งโหมดการใช้งานให้เมหาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของตนเอง เพื่อจะได้เกิดประดยชน์ สูงที่สุด
เพราะของแบบนี้เราควรที่จะรู้และทำความเข้าใจบ้าง จะให้ช่างติดตั้งโซล่าเซลล์ คิดแทนเราทั้งหมดไม่ได้ เพราะหากเข้าใจไม่ตรงกัน ก็อา จจะผิดใจกันได้เมื่อติดตั้งแล้วไม่ประหยัดค่าไฟดังที่วาดวังไว้
มาเข้าเรื่องการโหมดการทำงานของ Huawei Hybrid Solution (On-Off Grid Hybrid) กันเลย
โหมดการทำงานของ Huawei Inverter และแบตเตอรี่ สามารถตั้งค่าได้เป็น 4 โหมดการทำงาน
1.Maximum Self-Consumption >>> การบริโภคพลังงานที่เราสร้างขึ้นมาเองสูงสุด
สำหรับโหมดที่ 1 กรณีนี้เราสมมติเราติดตั้ง HUAWEI Inverter SUN2000-5KTL และแบตเตอรี่ LUNA Battery 10 kWh. แล้วเราไม่ได้ตั้งกันย้อน
a) PV energy flow: load > battery charging > grid connection แปลว่า การไหลของไฟฟ้าจากโซล่า : โหลด > ชาร์จเข้าแบต > กริดการไฟฟ้าฯ
b) Load Energy:PV output >battery discharge>Grid supply แปลว่า พลังงานของโหลด : กำลังไฟฟ้าจากแผง > แบตเตอรี่จ่ายออก > กริดการไฟฟ้า
>>> กรณีที่ 1. เมื่อมีแสงแดดเข้าแผงโซล่าเซลล์ (PV : PhotoVotaic) แล้ว PV ผลิตไฟได้ 8 kW. โดยโหลดนำไปใช้ 4 kW. ที่เหลืออีก 4 kW. ไหลไปชาร์จเข้าแบตเตอรี่
>>> กรณีที่ 2. เมื่อมีแสงแดดเข้าแผงโซล่าเซลล์ (PV : PhotoVotaic) แล้ว PV ผลิตไฟได้ 8 kW. โดยโหลดนำไปใช้แค่ 2 kW. แล้วไหลไปชาร์จเข้าแบตเตอรี่ 5 kW. ที่เหลืออีก 1 kW. ไหลย้อนออกไปยังกริดการไฟฟ้า
>>> กรณีที่ 3. เมื่อมีแสงแดดอ่อนๆ เข้าแผงโซล่าเซลล์ (PV : PhotoVotaic) แล้ว PV ผลิตไฟได้แค่ 3 kW. แต่มีโหลดใช้ 4 kW. เราก็ตั้งค่าให้แบตเตอรี่ จ่ายเสริมเข้ามา 1 kW. ซึ่งเราก็ยังไม่ต้องดึงไฟการไฟฟ้าฯ มาใช้งาน
>>> กรณีที่ 4. พอตกตอนกลางคืน PV ผลิตไฟไม่ได้ มีการใช้งานโหลด 8 kW. โดยแบตเตอรี่จ่ายให้เต็มที่เลย 5 kW. แล้วที่เหลืออีก 3 kW. ก็ใช้ไฟจากกริด การไฟฟ้าฯ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
2.Time-of-Use Price : TOU การตั้งค่าให้แบตเตอรี่จ่ายไฟเสริม ช่วงเวลาที่ค่าไฟฟ้าสูง และโซล่าเซลล์ผลิตไม่ได้
โหมดที่ 2 เหมาะสำหรับบ้าน ที่ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU :Time Of Use เราสามารถไปแจ้งเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU ได้ (ปกติค่าไฟฟ้าของบ้านพักอาศัยทั่วไป จะเป็น TOD : Time of Day คือคิดค่าไฟฟ้า ทุกช่วงเวลาเป็นราคาเดียว แต่เพิ่มเป็นตามจำนวนหน่วย เป็นขั้นบันได) สำหรับ ตัวอย่าง TOU บ้านพักอาศัย ประเภท 1.3 ของ กฟน. จะแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ
On Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ ราคา 5.7982 บาท/หน่วย
Off Peak : เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ ราคา 2.6369 บาท/หน่วย
: เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
*สำหรับ กฟภ. จะเพิ่ม Holiday มาอีกช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ความหมายและราคาต่อหน่วยก็เหมือนกับ Offpeak
เมื่อเข้าใจ TOU เบื้องต้นแล้ว ก็มาเข้าเรื่องของ การตั้งค่าแบตเตอรี่ใหเป็นโหมด TOU หรือการตั้งค่าจ่ายพลังงานไฟฟ้าเสริม ช่วงค่าไฟฟ้าสูง และโซล่าเซลล์ผลิตไฟไม่ได้
>>> กรณีที่ 1. ช่วงกลางคืนโซล่าเซลล์ผลิตไฟไม่ได้ โดยหลัง 4ทุ่ม ค่าไฟถูก สมมติบ้านเราใช้โหลด 2 kWp. ก็ตั้งค่าให้บ้านเราใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ 2 kW. และเราตั้งค่าไฟของกริดการไฟฟ้าฯ ชาร์จเข้าแบตเตอรี่ 3 kW. เนื่องจากค่าไฟถูก เพื่อจะได้นำไปจ่ายช่วงค่าไฟสูงเวลากลางวัน
>>> กรณีที่ 2. เราสามารถตั้งค่าให้ชาร์จแบตเตอรี่ ได้ตามความต้องการ ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งเราอาจไม่จำเป็นต้องให้ไฟจากกริดการไฟฟ้า มาชาร์จก็ได้ โดยให้ใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ มาชาร์จอย่างเดียวก็ได้
>>> กรณีที่ 3. บ้านเราใช้ไฟตอนกลางวัน 4 kW. แต่โซล่าเซลล์ผลิตและจ่ายไฟได้ 3 kW. และเราเลือกตั้งค่าให้ไฟจากกริดการไฟฟ้าฯ จ่ายเสริม 1 kW. โดยเราจะสำรองไฟของแบตเตอรี่ ไว้เกิดเหตุที่ไฟกริดการไฟฟ้าฯ ดับช่วงกลางคืน เราจะได้มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่อง >>> กรณีนี้ เหมาะกับบ้าน ที่มีบ่อปลาคราฟ , มีผู้ป่วยที่ต้องใช้อ๊อกซิเจ๊น , บ้านที่มีรั้วไฟฟ้า กันขโมย เป็นต้น
>>> กรณีที่ 4. บ้านเราใช้ไฟตอนกลางวัน 4 kW. แต่โซล่าเซลล์ผลิตและจ่ายไฟได้ 3 kW. และเราเลือกตั้งค่าให้แบตเตอรี่ จ่ายไฟเสริม 1 kW. เพื่อประหยัดค่าไฟช่วง On Peak
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
3.Fully Fed To Grid : กรณีที่ขายไฟ ก็เน้นว่าส่งพลังงานไฟฟ้าเข้ากริดการไฟฟ้าอย่างเต็มที่
โหมดที่ 3 เน้นการป้อนกำลังไฟฟ้า เข้าสู่กริด โครงข่ายของการไฟฟ้าให้มากที่สุด (หรือการขายไฟฟ ให้การไฟฟ้านั่นเอง) ซึ่งเหมาะสำหรับ กรณีที่ติดตั้งกำลังไฟฟ้า PV มากกว่ากำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์มากๆ ซึ่งโดยปกติในเมืองไทย ส่วนใหญ่เราจะออกแบบ ติดตั้งกำลังแผงโซล่าเซลล์ มากกว่า กำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์ ประมาณ 20%
ถ้าใช้โหมดนี้ เราอาจต้องติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ มากกว่าอินเวอร์เตอร์ มากกว่า 50% ดังรูปตัวอย่าง
>>> กรณีที่ 1 ช่วงเวลากลางวัน เมื่อ PV ผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 8 kW. แล้วส่งต่อมายังอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงไฟฟ้าเป็น AC ได้ 5.5 kW. ส่งเข้าใช้โหลดในบ้านแค่ 1 kW. แล้ว AC อีก 4.5 kW.ส่งต่อขายเข้าสู่กริดการไฟฟ้าฯ สำหรับไฟ DC ที่เหลืออีก 2.5 kW. ก็ส่งเข้าไปชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อสำรองใช้งานในช่วงเวลาที่โซล่าเซลล์ไม่ได้ผลิต
>>> กรณีที่ 2 ช่วงเวลาที่แสงแดดอ่อน PV ผลิตได้แค่ 3 kW. และแบตเตอรี่จ่ายกำลังไฟฟ้าเสริมได้อีก 2.5 kW. แล้วอินเวอร์เตอร์แปลงเป็นไฟฟ้า AC ได้รวม 5.5 kW. ประกอบกับที่บ้านเราใช้โหลดเพียง 1 kW. ส่วนที่เหลืออีก 4.5 kW. ป้อนเข้าสู่โครงข่ายกริด การไฟฟ้าฯ
>>> กรณีที่ 3 ช่วงเวลากลางคืน PV ไม่ผลิตกำลังไฟฟ้า แบตเตอรี่จ่ายกำลังไฟฟ้าได้ 5 kW. แล้วอินเวอร์เตอร์แปลงเป็นไฟฟ้า AC ได้ 5 kW. ประกอบกับที่บ้านเราใช้โหลด 7 kW. ดังนั้น กริดการไฟฟ้าฯจึงต้องจ่ายเสริมเข้ามาเพิ่มให้กับโหลดอีก 2 kW.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
4.Pure Off Grid : ตั้งเป็นอ๊อฟกริด เพียวๆ ไม่มีกริด การไฟฟ้า ผสม
โหมดที่ 4 (สุดท้าย) เป็นโหมดที่ ไม่มีไฟของการไฟฟ้าฯ หรือแบบอ๊อฟกริด นั่นเอง ซึ่งการใช้งานโหมดนี้ จะต้องมีการตั้งค่า enable ที่ตัวแบตเตอรี่ก่อน จึงจะใช้งานโหมดนี้ได้ และตัวอินเวอร์เตอร์ ต้องเป็นแบบ Single Phase โดยเอาท์พุท จะเป็นแบบไฟ Single Phase 220/230/240 V. 50/60 Hz เท่านั้น
หลังจากแบตเตอรี่ปล่อยพลังงานไฟฟ้า จนถึงค่า SOC (State of Charge) ที่ตั้งค่าไว้ ในวันถัดไปเวลากลางวัน PV จะทำการชาร์จประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ แล้วนำไปใช้งานในวันถัดไป
>>> กรณีที่ 1 เมื่อแสงอาทิตย์เพียงพอ PV จะผลิตกำลังไฟฟ้า 8 kW. โดยจ่ายเข้าชาร์จแบตเตอร์ 5 kW. และโหลดในบ้านกินไฟ 3 kW.
>>> กรณีที่ 2 เมื่อแสงแดดอ่อนลง PV ผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 2 kW. แล้วโหลดใช้พลังงานไฟฟ้า 3 kW. ซึ่งเราก็ตั้งให้แบตเตอรี่ จ่ายไฟเสริมให้กับโหลด 1 kW.
>>> กรณีที่ 3 ถ้า PV ไม่มีการผลิตไฟฟ้า แยตเตอรี่ก็จะจ่ายไฟฟ้า 3 kW. ให้กับโหลดใช้งานในบ้านทั้งหมด
*จริงๆแล้วดหมดนี้ ใช้เป็นบางครั้ง บางคราว ก้พอได้ แต่ถ้าซื้อมาเพื่อใช้เป็นระบบอีอฟกริดเลย น่าะไม่เหมาะ ลองหาๆดู ตัวอินเวอร์เตอร์ ที่เค้าผลิตเป้นแบบอ๊อฟกริดมาโดยเฉพาะ น่าจะเหมาะสมกว่านะ^L^"
=========================================================================