สำหรับว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP2 ตอนนี้ จะกล่าวถึงคุณลักษณะ รูปร่าง หน้าตา รวมถึงการติดตั้ง ว่าเป็นอย่างไร ตามไปดูกัน
ท่านที่ยังไม่ได้อ่าน EP1 ไปอ่านได้ที่นี่ ว่าด้วยอินเวอร์เตอร์ Sungrow EP1
>>> รูปร่างหน้าตา
Inverter ยี่ห้อ SUNGROW รุ่น SG5.0RS สำหรับ 1 เฟส 220 V. ขนาด 5 กิโลวัตต์ มีขนาด กว้าง 41 ซ.ม. , สูง 27 ซ.ม. , หนา 15 ซ.ม. มีหน้าจอ LED digital display & LED indicator แสดงผล
♦ จากรูปด้านล่าง ก็จะเห็นว่ามีช่องสำหรับเสียบ PV Connector 4ช่อง สำหรับ 2 String โดย 1 String / 1 MPPT ซึ่งก็เป็นข้อดีอย่างที่กล่าวไปใน EP1 ว่าบ้านเดี่ยวในเมืองไทยส่วนใหญ่ก็จะเป็นหลังคาจั่ว ซึ่ง 2 ฝั่ง ก็จะรับแสงไม่เท่ากัน กล่าวคือ ช่วงเช้าทิศตะวันออก ก็จะรับความเข้มแสง ได้มากกว่าทิศตะวันตก และช่วงบ่าย ทิศตะวันตก ก็รับความเข้มแสงได้มากกว่าฝั่งตะวันออก
♦ ซึ่งถ้าเป็นรู่นก่อนๆ จะมีแค่ 1 MPPT 2 String เมื่อเราต่อ
>>> ตัวอย่างการการติดตั้ง
บ้านพักอาศัยในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นทรงจั่ว ที่ติดตั้งแผงได้ฝั่งละประมาณ 3 - 10 แผง เป็นต้น ซึ่งขนาดแผงประมาณ 1x2 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่อินเวอร์เตอร์ สำหรับบ้านพักอาศัยรุ่นใหม่ๆ ก็จะทำออกมาเป้น 2 MPPT แล้ว เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะการนำมาใช้งานที่ติดตั้งตามบ้าน ที่ต้องมีทิศรับแสงอย่างน้อย 2 ทิศ
ของ Sungrow รุ่น SG5.0RS ก็เช่นกันที่มี 2 MPPT ดังรูปจะเห็นว่า ฝั่งทิศใต้ เราติดตั้ง 6 แผง (MPPT1) และ ฝั่งตะวันออก ติดตั้ง 5แผง (MPPT2)
*** อ้าวแล้วทำไม ฝั่งตะวันออกไม่ติด 6 แผง เท่ากับฝั่งทิศใต้ล่ะ?
>>> เพราะเราขออนุญาต ขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฯ (ได้ 2.2บาท/หน่วย) ซึ่ง กกพ. กำหนดว่า บ้าน 1 เฟส อนุญาตให้ติดได้ไม่เกิน 5.4 kWp. ซึ่งถ้าติดอีก 1 แผง ก็จะเป็น 5 kWp. ก็จะเกินจากที่ท่านกำหนด **ทั้งๆที่ปกติ เราติดตั้งกำลังไฟฟ้าของแผง มากกว่าขนาดกำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์ ประมาณ 10-30% ในเมืองไทย อันนี้ก็ต้องฝากท่าน กกพ. ช่วยปรับขนาดที่ขายไฟได้ให้เหมาะสมกับหลักความเป็นจริงในชีวิตจริงด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูง (ไปสะกิดท่าน แล้วจะโดนไม๊เนี่ย... ก็แค่เค้าพูดความจริง ในมุมของผู้รับเหมา และผู้ขอติดโซล่าเซลล์ะจ๊ะ ^L^''''')
จากรูปด้านบน หากเราติดตั้งอินเวอร์เวอร์ แบบมีแค่ 1 MPPT ก็จะเกิดปัญหาว่าเราติตั้งแผงทั้ง 11 แผง ในทิศเดียวไม่ได้ ก็ทำให้ทั้ง 11 แผงต้องอนุกรมกันอยู่ในตริงเดียวกัน แต่ติดตั้งคนละทิศ การรับแสงแดดก็ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา ทำให้แผงที่รับแสงมากกว่า จ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ส่งมาให้กับแผงที่รับแสงแดดน้อย (ที่กลายเป็นโหลด) แทนที่จะจ่ายไปยังตัวอินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นไฟ AC แล้วจ่ายไปยังโหลดที่แท้จริง
>>> การตั้งค่า และหรือการ Commisioning
การตั้งค่าก่อนการเปิดใช้งานก็คล้ายกับ ยี่ห้ออื่นๆ ที่จะไม่มีจอให้ตั้งค่า เราต้องใช้วิธีการ โหลดแอปพลิเคชั่น iSolarCloud เข้าโทรศัพท์มือถือของเรา เปิดแอป แล้วเข้าเมนู Local Access ระบบก็ให้เราไปสแกน QR Code ที่เนมเพลทที่ติดด้านข้างตัวอินเวอร์เตอร์ ซึ่งเมื่อสแกน QR Code แล้วมือถือของเราก็จะเชื่อมต่อด้วยเทคนิค wifi direct กับตัวอินเวอร์เตอร์โดยอัตโนมัติ จากนั้นเราก็สามารถตั้งค่าต่างๆในตัวอินเวอร์เตอร์ได้
*ส่วนใหญ่อินเวอร์เตอร์ แบรนด์ดังๆ ทั้งหลาย ช่วงหลังๆมานี้จะไม่ค่อยทำหน้าจอ LED ที่ตัวอินเวอร์เตอร์ เพราะอินเวอร์เตอร์การใช้งานยาวนานหรือรับประกัน 10 ปี แต่พบว่าหน้าจอ LED เสียก่อน อยู่ได้ไม่ถึง ดังนั้นเค้าจึงตัดปัญหาไม่ต้องมีหน้าจอให้ตั้งค่า แล้วใช้การเชื่อต่อด้วย wifi direct ไปตั้งค่าที่มือถือ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นแทน แต่ของ Sungrow รุ่นนี้ก็ยังมี จอ LED แสดงาถานะอยู่ แต่ก็ไม่มีการตั้งค่าที่หน้าจอแต่อย่างใด
หลังจากที่มือถือเราเชื่อมต่อกับตัวอินเวอร์เตอร์แล้ว เราก็สามารถตั้งค่าต่างๆได้ โดยขออธิบายคร่าวๆว่า ตัวอย่าง เช่น
- เลือกประเทศที่ติดตั้ง เราก็เลือก >>> Country/Region
- การเชื่อมขนานไฟกับ การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค >>> Network Service Provider
- เลือกประเภทการเชื่อมต่อกริด เราก็เลือก เช่น ขนานไฟแล้วจำกัดไม่ให้ไฟไหลออก Feed-in Limitation Value>>> local grid requirements,
- จากนั้นก็ตั้งค่าไซท์ หรือ Plant
- จากนั้น ก็ไปเข้าเมนู WLAN Configuration เพื่อตั้งค่าให้ตัวอินเวอร์เตอร์ จับ wifi ที่บ้านเรา เพื่อให้อินเวอร์เตอร์ส่งสัญญาณค่าต่างๆ ไปขึ้น Cloud แล้วเราก็สามารถมอนิเตอรืกำลังการผลิตผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้ แม้ไม่ได้อยู่ที่บ้าน
ตอนหน้า เรามาดูระบบมอนิเตอร์ของ Sungrow ว่าจะมีความสามารถดูอะไรได้บ้าง และมีอะไรที่เป็นคุณสมบัติพิเศษที่น่าดูชมกัน