fbpx

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ออกประกาศขั้นตอนการรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องขออนุญาตรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า ลงวันที่ 28 กันยายน 2565

ดูรายละเอียดประกาศฯ ตามรูปด้านล่างสุด บทความนี้

สำหรับบางท่านอ่านแล้ว อาจจะไม่เข้าใจ เดี๊ยวโซล่าฮับ จะเล่าให้ฟัง

>>> ก่อนอื่นต้องไปทำความเข้าใจเรื่องการ ขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ก่อน ว่ามีขั้นตอนอย่างไร โดยโซล่าฮับได้เคยเขียนอธิบายไว้บ้างแล้ว 3 ตอน 

การติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ต้องขออนุญาตหรือไม่?

การยื่นขออนุญาต ติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา

ห๊ะอะไรนะ! ติดโซล่าเซลล์ ที่บ้านต้องขออนุญาตฯ ด้วยเหรอ?

 

>>> ขั้นตอนวิธีการขออนุญาตติดตั้งฯ เดิม (ก่อนที่จะมีระเบียบนี้) ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้

       ♣ กรณี ถ้าเป็นบ้านพักอาศัย ที่ยื่นขอขายไฟฟ้า 

             1. เรายื่นขออนุญาต ขายไฟฟ้า ทางออนไลน์ จากในเว็บของ การไฟฟ้าฟ้านครหลวง และหรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

             2. เมื่อการไฟฟ้าทั้ง 2 รับเรื่องแล้วก็จะตรวจสอบ ว่าหม้อแปลง หรือ โครงข่ายของเขา รองรับการขายไฟฟ้าได้ไม๊ ถ้าได้ เค้าก็จะประกาศอนุญาต ให้ขายไฟได้ เป็นรอบๆ ไป

             3. หากเราได้รับอนุญาต ให้ขายไฟฟ้า ได้ การไฟฟ้าก็ให้เราส่งข้อมูลทางเทคนิคเพิ่มเติม รอไว้

             4 จากนั้นเราก็ทำการจ้างช่างมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่บ้านเราให้เรียบร้อย พร้อมถ่ายรูป การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว เตรียมไว้

             5. เข้าเว็บของ erc.go.th เพื่อทำการยื่นแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องขออนุญาตรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า   กับ กกพ. โดยในแบบคำร้อง ต้องแนบรูปถ่าย การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ให้กับ กกพ. ด้วย  ***อันนี้แหละที่ผมว่าตลก และย้อนแย้งสิ้นดี ที่บอกว่า ต้องขออนญาต การติดตั้งโซล่าเซลล์ ก่อนนะไปติดส่งเดชไม่ได้ ต้องขออนุญาตก่อน ... แต่ในแบบฟอร์ม ดั้นมีเงื่อนไขรูปถ่ายการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งแล้วเสร็จ จึงจะยื่นได้ อะไรฟร๊ะะ งงเลย...***

              6.เมื่อได้ ใบจดแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ จาก กกพ.แล้ว จึงนำส่งให้กับ การไฟฟ้าฯ จากนั้นการไฟฟ้า ก็เรียกให้เราเข้าไปเซ็นสัญญา ซื้อ-ขายไฟฟ้า

              7. การไฟฟ้าฯ แจ้งนัดวันเข้ามาตรวจงานการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่หน้างาน แล้วทำการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์ซื้อ-ขายไฟฟ้า  (มิเตอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบ2ทิศทาง มี Import และExport)

              8. การไฟฟ้าแจ้งวันจำหน่ายไฟเข้าระบบ หรือ COD ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

 

          ♣ กรณี ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยหรือโครงการขนาดใหญ่ (ติดตั้ง ไม่เกิน 2 MW)  ที่ยื่นขอขนานไฟฟ้า  ( ไม่ขายไฟ )

              1. เราทำการจ้างช่างมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่บ้านเราให้เรียบร้อย พร้อมถ่ายรูป การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว เตรียมไว้

             2. เข้าเว็บของ erc.go.th เพื่อทำการยื่นแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องขออนุญาตรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า   กับ กกพ. โดยในแบบคำร้อง ต้องแนบรูปถ่าย การติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งเสร็จแล้ว ให้กับ กกพ. ด้วย  ***อันนี้แหละที่ผมว่าตลก และย้อนแย้งสิ้นดี ที่บอกว่า ต้องขออนญาต การติดตั้งโซล่าเซลล์ ก่อนนะไปติดส่งเดช

ไม่ได้ ต้องขออนุญาตก่อน ... แต่ในแบบฟอร์ม ดั้นมีเงื่อนไขรูปถ่ายการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งแล้วเสร็จ จึงจะยื่นได้ อะไรฟร๊ะะ งงเลย...***

              3. เมื่อได้ ใบจดแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นฯ จาก กกพ.แล้ว จึงทำเรื่องขออนุญาตกับการไฟฟ้าฯ โดย

                   3.1 การไฟฟ้านครหลวง สามารถยื่นทางออนไลน์ ผ่านเว็บทางเว็บ myenergy.mea.or.th

                   3.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่สามารถ ยื่นออนไลน์ได้ ท่านต้องเดินทางข้ามจังหวัด ไปติดต่อโดยตรง กับการไฟฟ้าเขต ที่รับผิดชอบเอง โดยการไฟฟ้าเขต ก็จะดูแลเป็นโซนๆ  ประมาณโซนละ4-5 จังหวัด

              4. การไฟฟ้าฯ ตรวจเอกสาร แบบไฟฟ้าฯ และอื่นๆ ถ้าครบแล้ว จึงแจ้งนัดวันเข้ามาตรวจงานการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ที่หน้างาน แล้วทำการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์แบบไม่หมุนกลับ หรือแบบดิจิตอล เป็นต้น 

              5.  หากตรวจแล้วครบถ้วน ก็แจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม พร้อมแต้งอนุญาต ให้เชื่อมขนานไฟฟ้าได้ ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

 

>>> ระเบียบขั้นตอน ที่ประกาศนี้ ลงวันที่ 28 ก.ย.65

         สาระสำคัญคือ

              1. ให้ยื่นขอติดตั้งโซล่าเซลล์ กับ กกพ. และ การไฟฟ้าฯ พร้อมกันเลย ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ โดย เมื่อยื่นแล้ว  การไฟฟ้าฯ และ กกพ. จะประสานข้อมูล กันเอง 

              2. กรณีที่ มีขนาดติดตั้งเกิน 200 kVA ก็ให้ กกพ. ส่งเรื่องไปยัง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน : พพ. เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาต พค.2

 

*** ความเห็นโซล่าฮับ

              1. อันนี้ก้ต้องขอชื่นชม ที่ระดับนโยบายของภาครัฐ พยายาม ปรับปรุงขั้นตอน การขออนุญาตฯ ให้กระชับและรวดเร็วขึ้น แต่ก็ต้องดูกันต่อไป ว่าแล้วในทางปฏิบัติจะเร็ว ขึ้นหรือไม่อย่างไร

              2. ในเอกสารแนบ Work Flow เริ่มที่ ผู้ประกอบการ แต่กระบวนการตอนจบแล้ว ไม่เห็นมีแจ้งผลให้กับผุ้ประกอบการ ทราบผลการขออนุญาต เลยครับ >>> อันนี้ความเห็น ว่าจริงๆน่าจะมีลูกศร มาชี้สุดท้าย ให้ผู้ประกอบการ รับทราบด้วยว่าได้รับอนุญาต หรือไม่อย่างไร

              3. ระยะเวลาตั้งแต่ต้นจนจบ รวมระยะเวลาเท่าไหร่ ในการได้รับใบอนุญาต? ถ้าระบุได้ ก็ดีนะ เช่น 30 , 60 , 120 , 150 , 180 ,210......วัน  ก็ได้ขอระบุไว้หน่อย ผู้ประกอบการจะได้รออย่างมีความหวัง ^L^"....