fbpx

มีคำถามเข้ามาแว่...ว่า เสียค่าไฟ 2,000 บาท ต่อเดือน ติดโซล่าเซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ จะคุ้มไม๊ ?
>>> คิดคร่าวๆเบื้องต้น จุดคุ้มทุน น่าจะ 8-9 ปี คืนทุน
ความคิดเห็นของ โซล่าฮับ ลองพิจารณาดูข้อมูลตามข้างล่างนี้ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจ เนื่องจากเป็นการตัดสินใจ ปัจเจกบุคคล...
.
>>> ติด 5 kw เฉลี่ยผลิตไฟได้ 20 หน่วยต่อวัน (ภาพรวมเฉลี่ยทั้งปี)
หากเราทำเรื่องขายไฟ ได้ 2.2 บาทต่อหน่วย
เราใช้เอง ก็เหมือนว่า เราประหยัดได้ 5 บาทต่อหน่วย

อ่านเพิ่มเติม...

 VDO นี้เป็นคำตอบ โดยดูระบบมอนิเตอร์ของ Inverter Huawei ที่เรียกกันว่า Fusion Solar ซึ่งเราติดระบบกันย้อน จึงทำให้เห็นกราฟ กำลังการผลิตของโซล่าเซลล์ และการใช้ไฟของการไฟฟ้า ด้วย ซึ่งก็ทำให้เราเห็นพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในภาพรวมได้ชัดเจนขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...

ถ้าท่านใดที่เป็น FC Solarhub ย้อนไปอ่านบทความก่อนๆ โน้น ก็คงจะเคยอ่านบทความการประมาณการ ว่าเราควรติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด ขนาดเท่าใดดี ซึ่งก็เขียนไว้หลายบทความ และก็มีอยู่หลากหลายวิธีการ 

ตอนนี้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่เน้นแบบง่ายๆ ในการประมาณการขนาดที่เหมาะสมติดตั้งโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านพักอาศัย โดยไม่ต้องจดมิเตอร์ ให้ยุ่งยาก เพียงแต่อาจต้องคำนวณ นิดหน่อย พอได้ดึง DHA&โอเมก้า 3 มาใช้งานมั่ง!

1. นำบิลค่าไฟฟ้าเรามาดูสัก 1 เดือน โดยหาจำนวนหน่วย ที่ใช้ในเดือนนั้น ดังรูปตัวอย่าง ที่วงกลม

อ่านเพิ่มเติม...

ว่าด้วยเรื่องการขออนุญาตฯ จากหน่วยงานภาครัฐ กรณีติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด ที่บ้านพักอาศัย ได้เคยเขียนบทความไว้แล้วว่ามีระเบียบ จากหน่วยงานราชการ ที่ต้องขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด แต่ก็ยังไม่ได้สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ในทางปฏิบัติ ว่าต้องทำอะไรบ้างอย่างละเอียด

วันนี้ก็ได้ฤกษ์งามยามดี ในการกลั่น จากประสบการณ์การขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ว่าต้องขี่ช้าง ลงเรือ ไปเหนือ ล่องใต้ เดินเท้าเปล่า ขึ้นเขา ลงห้วย ขี่หลังจระเข้ รอนแรม กลางเต๊นท์นอนกลางป่า รอใบอนุญาต กว่าจะได้มา อ๊ะล้อเล่น!!! ไม่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ใกล้เคียง ^L^'

อ๊ะ..ขยับเข้ามาใกล้ๆ จะเล่าให้ฟัง!!!

อ่านเพิ่มเติม...

ขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ควรเป็นเท่าใด?

บ้านพักอาศัย ที่ใช้ไฟ ของการไฟฟ้าฯ หากต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรติดโซลล่าเซลล์ แบบออนกริด หรือเรียกให้เข้าใจง่ายอีกอย่างคือ แบบขนานไฟ กับการไฟฟ้าฯ

จริงๆแล้วเคยเขียนบทความเรื่อง จะตรวจสอบยังไงว่า บ้านเราติดโซล่าเซลล์ แล้วคุ้มค่า แล้วควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ?  แล้ว แต่วันนี้ขอฉายซ้ำอีกรอบ และสรุปแบบเน้นๆสำหรับบ้านพักอาศัย

เราไม่ต้องคำนวณเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่ามีกี่ตัวอะไรบ้างครับ หากคำนวณ พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า ยุ่งยาก ซับซ้อน ปัจจัย ไม่เหมือนกันอีก เช่น แอร์ยี่ห้ออะไร, เก่าหรือใหม่ , เปิดกี่ชั่วโมง , เป็นห้องนอน หรือห้องรับแขก , แอร์อินเวอร์เตอร์ หรือไม่ , ตู้เย็นกี่คิว , อยู่กี่คน , อาบน้ำบ่อยไม๊ , ทำกับข้าวกินเองหรือซื้อกิน , มีเตาอบไม๊ , มี.... ฯลฯ ซึ่งระบบออนกริด หลักการคือขนานกับไฟ ของการไฟฟ้าฯ โดยหากมีแสงแดด เครื่องใช้ไฟฟ้า จะดึงไฟจากโซล่าเซลล์ มาใช้งานก่อน หากไม่พอก็จะดึงไฟ การไฟฟ้าฯ มาใช้งานครับ

อ่านเพิ่มเติม...

สำหรับท่านที่กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาติดตั้ง Solar PV RoofTop เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ทางทีมงาน SoLarHub.co.th ขอรวบรวมเป็นลิงค์ ตามลำดับความสำคัญเพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...

พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา ( Solar PV RoofTop ) เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า นี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยแบบ 1-Phase หรือ 3-Phase ที่ใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันจำนวนมาก โดยติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 1-10 KW ซึ่งมีอุปกรณ์ส่วนประกอบที่ต้องติดตั้ง ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม...

ขอกล่าวถึงอายุการใช้งานและการรับประกันของ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้

1.แผงโซล่าเซลล์ หรือ แผง PV ย่อมาจาก PhotoVoltaic หรือ solar panel (ในวงการฯเค้าเรียกชื่อกันหลายอย่างครับ เลยขอเอ่ยไว้หน่อย เผื่อท่านไปได้ยินมาจะได้ไม่งง ว่ามันคือไรหว่า) ส่วนใหญ่แผง PV ประสิทธิภาพในปีแรกเมื่อติดตั้ง จะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากมีผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์ ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม และหลังจากนั้น ปีที่ 2-25 ประสิทธิภาพจะลดลงปีละประมาณ 0.7 % ดด้านล่างนี้เป็นตารางแสดงรายละเอียด การลดลงของประสิทธิภาพแบบคร่าวๆ

อ่านเพิ่มเติม...

ประมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์ ออนกริด บนหลังคา เชื่อมกับระบบจำหน่ายฯ สำหรับผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Solar RoofTop OnGrid) โดยมีรายละเอียดขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละวัน , แต่ละเดือน , จำนวนเงินที่ประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือน และปี , จำนวนแผง PV ที่ใช้ , ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้ง , จำนวนเงินลงทุน และระยะเวลาคุ้มทุน ทางทีมงานโซล่าฮับ ได้รวบรวมและคำนวณเพื่อเป็นแนวทางหรือไกด์ไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจจะติดตั้งโซล่าเซลล์ 

อ่านเพิ่มเติม...

ต้องใช้พื้นที่หลังคาเท่าไหร่ อย่างไรและต้องหันไปทางทิศใด?
เทคโนโลยีการผลิตแผงโซล่าเซลล์ สามารถผลิดกระแสไฟฟ้าได้ประมาณแผงละ 300 W ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (เม.ย.59) โดยมีขนาด ประมาณ (กว้างxยาวxหนา) 100 x 200 x 4 ซ.ม. และ มีน้ำหนักประมาณ 25 – 30 ก.ก. ดังนั้นแผงจะมีน้ำหนักประมาณ 12 – 15 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่ง หากหลังคาที่สร้างมาไม่เกิน 10 ปี ก็สามารถติดตั้งโซล่าเซลล์ได้ แต่หากเกิน 10ปี ต้องตรวจสอบโครงสร้างก่อนว่าสามารถรับนำหนักของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่จะนำมาติดตั้งได้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม...

          ที่ผ่านมาทีมงานโซล่าฮับ ได้รับคำถามจากท่านลูกค้าจำนวนมากว่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆอย่างเช่น ที่บ้านใช้แอร์ 3 เครื่อง ใช้พัดลม 3 ตัว ตู้เย็น 2เครื่อง เครื่องซักผ้า1เครื่อง TV 3 เครื่อง.... และอื่นๆอีกมากมาย จะติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟได้ไหม ต้องติดขนาดเท่าใด เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่ ? เป็นต้น จากคำถามข้างต้น ทางทีมงานโซล่าฮับขออธิบายแบบง่ายๆดังนี้

อ่านเพิ่มเติม...

          เนื่องจากในขณะนี้ (เม.ย.59) ภาครัฐได้ปิดการรับสมัครการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เมื่อ 30 มิถุนายน 2558 ( ซึ่งหากเข้าโครงการนี้ ภาครัฐจะจ่ายค่ารับซื้อไฟ 6.96 บาท/หน่วย ) ดังนั้นในที่นี้จะแนะนำการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า สำหรับบ้านพักอาศัย โดยใช้รูปแบบการติดตั้งระบบ ออนกริด ( On Grid ) หรือ แบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า (ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยโซล่าเซลล์ได้ที่นี่) โดยมีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องให้ความสำคัญในการพิจารณา และขอตอบคำถามเป็นรายข้อ ดังนี้

อ่านเพิ่มเติม...

ปัจจุบัน (เม.ย.59) ราคาของอุปกรณ์โซล่าเซลล์ลดลงมาพอสมควร จนถึงจุดที่เมื่อลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า แล้วระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 5-9 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ประเภท และขนาดที่จะติดตั้ง กล่าวคือถ้ายิ่งติดตั้งขนาดกำลังวัตต์ ที่มากขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนติดตั้งต่อวัตต์ ต่ำลง โดยประมาณการแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย

อ่านเพิ่มเติม...