fbpx

สถานการณ์การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ พ.ศ.2565

          ในปัจจุบันนี้ พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ระบบโซล่าเซลล์ ที่นิยมติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งบ้านพักอาศัย อาคาร สำนักงาน ห้างร้าน และโรงงานขนาดใหญ่ จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าแทบทั้งสิ้น เนื่องจากอุปกรณ์เก็บกักพลังงาน Energy Storage หรือแบตเตอรี่ ราคายังสูงอยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี่การผลิต และการนำวัสดุมาผลิต อีกทั้งอยู่ระหว่างการสร้างความสมดุลย์ระหว่างดีมานด์ และ ซัพพลายในตลาด

อ่านเพิ่มเติม...

อย่างที่บอกกล่าวในช่วงแรกๆแล้วว่า โซล่าเซลล์ แบบไฮบริด ในช่วงแรกๆ นี้คงไม่สามารถที่จะนำมาติดตั้งทดแทน โหลดในบ้านได้ทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเทคนิคของแบตเตอรี่และด้านงบประมาณ ดังนั้นหากเราจะติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบไฮบริด สำหรับในบ้านเรา จึงจำเป็นต้องแบ่งโหลดสำรอง ที่เหมาะสมสำหรับต่อเข้ากับวงจรสำรองหรือแบ็คอัพ ที่มีแบตเตอรี่เป็นตัวจ่ายพลังงาน เพราะแบตเตอรี่ไม่สามารถรองรับโหลดทั้งหมดภายในบ้านได้ทั้งหมด โดยต้องแยกวงจรภายในบ้านเป็น 2 ส่วน คือ

อ่านเพิ่มเติม...

         โซล่าเซลล์ แบบไฮบริด แต่ละยี่ห้อ มีจุดประสงค์ หรือจุดขาย แตกต่างกันออกไป จึงทำให้การตั้งค่าหรือฟังก์ชั่นการใช้งาน ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ละยี่ห้อ ดังนั้นหากจะทำให้ท่านเข้าใจ จึงจำเป็นต้องลงลึกในรายละเอียด ในแต่ละยี่ห้อ เพราะช่วงก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงในภาพรวมมาเยอะล่ะ

          ตอนนี้ก็ถึงคิวของยี่ห้อ Sungrow รุ่น SH5K-30 Residential Hybrid Single Phase Inverter เป็นอินเวอร์เตอร์ ไฮบริด ออน-อ๊อฟกริด (Hybrid On-OffGrid) มาพร้อมกับแบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน Sungrow SBP4K8 Residential Energy Storage Battery ซึ่งชุดนี้ทีมงานโซล่าฮับ ได้ติดตั้งทดสอบการใช้งานมาหลายเดือนล่ะ ที่น่าสนใจคือมีฟั่งกชั่นให้ตั้งค่า การใช้งานแบตเตอรี่ เป็นช่วงเวลาตามที่เราต้องการ ซึ่งทำให้เราปรับเปลี่ยนการใช้งานให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละครอบครัว และสอดคล้องกับบ้านที่ใช้ไฟแบบมิเตอร์ TOU  (Time Of Use : เสียค่าไฟฟ้าตามแต่ละช่วงเวลา)

อ่านเพิ่มเติม...

ไม่รู้ไปโกรธ ใครมา ไม่พูดไม่จา ทำหน้าบึ้งตึง ทำฟืด ทำฟัด ทำดื้อดึง เพราะใครหรือจึง ทำบึ้งตึงบอกมา... พอๆๆ

(^L^)' ฮ่ะๆๆ..ถถถถ...จั่วหัวเหมือนไปยั๊วะใครมา... อ่ะล้อเล่ง แค่ขี้เกียจเสนองานแบบมีแบตเตอรี่ ในช่วงเวลานี้ก็แค่นั้นเอง( มิถุนายน 2564 ) เพราะถึงเสนอไป จ้างให้ท่านก็ยังไม่ติด เพราะเห็นราคา ก็หงายท้องผลึ่ง ^0^" 

          วันนี้ก็ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์ ซะที ที่จะมาพูดเรื่องโซล่าเซลล์ ระบบไฮบริด แบบจริงๆจังๆ สักกะหน่อย ซึ่งไม่ใช่ว่า ทางโซล่าฮับ ไม่เห็นด้วยกับระบบไฮบริด เพียงแต่ว่า ณ เวลานี้ อาจยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม สำหรับไฮบริด ที่มีแบตเตอรี่ ลิเธียม เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด ให้โตๆ ในเวลานี้ แต่คงอีกไม่เกิน 1-3 ปีนี้แหละ ได้เห็นแน่..นั่นแหละ ตอนนั้น โซล่าฮับ จะนำไปเสริฟท์ ไปเคาะประตูบ้านท่านถึงที่บ้านเลย ว่าใส่เดี่ยวกันป่าว..เอ้ยไม่ใช่ๆ...ใส่แบตป่าวๆๆ ขอบอก!!!

อ่านเพิ่มเติม...

เนื่องจากลูกค้าบ้านหลังนี้ เกิดไฟฟ้าดับบ่อยมาก ซึ่งดับแต่ละครั้งนานหลายชั่วโมง (ตประเทศเพื่อนบ้าน) ดังนั้นความต้องการของลุกค้า หลักๆคือขอให้มีไฟฟ้า สำรองใช้ในเวลา กริดการไฟฟ้าดับ โดยให้ใช้ได้บางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องออกแบบและตั้งค่าคอนฟิก ของ โกรวัตต์ ไฮบริด อินเวอร์เตอร์ เพื่อจุดประสงค์หลักคือ สำรองไฟฟ้า กรณีที่กริดการไฟฟ้าฯดับ ซึ่งดูได้จากรูปที่แสดงด้านล่างนี้ 

 1.กลางวันมีแดด (รูปแรกทำเป็นลูกศรกระพริบ ปิ๊บๆ เผื่อจะได้ดูง่าย!! เอ๊ะหรืองง!! ยิ่งกว่าเดิม )

อ่านเพิ่มเติม...

        ไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ จะส่งต่อมายังอุปกรณ์ DC Combiner Box (ซึ่งจะมี DC Breaker,Surge Protection และอาจจะมี FireFighter Switch) จากนั้นส่งต่อไฟฟ้า DC ไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงไฟฟ้า DC เป็น AC จากนั้นก็ต่อเข้า Main Breaker จากนั้น

อ่านเพิ่มเติม...

          ตอนนี้เรามาลุยดูการใช้งานของ ระบบไฮบริด อินเวอร์เตอร์ ของยี่ห้อโกรวัตต์ : GROWATT ซึ่งเค้าคุยว่าเป็น All in one hybrid inverter (จริงๆเค้าไม่ได้คุยหรอก.. แค่ดูมาจาก Data Sheet ของเค้า)  ซึ่งรุ่นที่ทีมงานโซล่าฮับ ติดตั้งก็ถือว่าเป็นรุ่นขนาดกลาง เพราะเป็นขนาด 30 KW. ใช้ชื่อโมเดล ATESS HPS 30 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอินเวอร์เตอร์ ไฮบริด แบบออน-อ๊อฟกริด ซึ่งมีฟีเจอร์เด่นๆ  หลายอย่าง 

ถามกันจัง..เอาแบบมีแบตด้วย ไฮบริดอ่ะ เสนอราคามาเลย..!! เป็นยังไงกันฮึ? (Solar Hybrid EP1)

โซล่าเซลล์ แบบไฮบริด ปูพื้น...ลื่นหัวแตก!!! (Solar Hybrid EP2) 

♦ รองรับ โซล่าเซลล์ , แบตเตอรี่ , กริดของการไฟฟ้า และโหลด

♦ Peak Shaving หรือเทคนิคลดกำลังไฟฟ้าสูงสุด โดยให้แบตเตอรี่ดีสชาร์จ ออกมาเพื่อลดกำลังไฟฟ้าในชั่วขณะนั้น แล้วก็จะชาร์จเข้าเมื่อมีโหลดลดลง หรือจะตั้งค่าเป็นแบบแบ็คอัพ ก็ได้ตามต้องการ

อ่านเพิ่มเติม...

หากเราจะนำระบบโซล่าเซลล์ แบบอ๊อฟกริด มาใช้เป็นพลังงานหลัก เราจึงต้องเข้าใจถึงข้อจำกัดก่อนว่า พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งไม่สามารถผลิตใช้งานได้ตลอดเวลา เหมือนกับโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ(เขื่อน) หรือพลังงานไอน้ำ(จากถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ) ที่สามารถผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากเรานำระบบไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้เป็นพลังงานหลักแล้ว เราก็ต้องคำนึงถึงการเก็บพลังงานไฟฟ้า มาใช้งานในช่วงที่ไม่สามารถผลิตมาใช้งานได้ซึ่งก็คือช่วงกลางคืนหรือช่วงไม่มีแสงแดด ซึ่งอุปกรณ์ที่จะเก็บพลังงานไฟฟ้าก็คือแบตเตอรี่ นั่นเองครับ

อ่านเพิ่มเติม...

โซล่าเซลล์ แบบไฮบริด มุมมองของโซล่าฮับ มีอุปกรณ์หลักๆ อยู่ 7 ส่วน ประกอบด้วย

ก่อนจะไปต่อ... กลับไปอ่าน EP1 ก่อน ถามกันจัง..เอาแบบมีแบตด้วย ไฮบริดอ่ะ เสนอราคามาเลย..!! เป็นยังไงกันฮึ? (Solar Hybrid EP1)

1.แผงโซล่าเซลล์

2.Inverter Hybrid และหรือ อินเวอร์เตอร์ ออนกริด แล้วมีอุปกรณ์เสริม ให้สามารถต่อเพิ่มแบตเตอรี่ได้

3.Battery ซึ่งอาจจะเป็นแบบตะกั่วกรด (Deep Cycle)  หรืออาจเป็นแบตเตอรีลิเธียม แล้วแต่จะนำมาต่อใช้งาน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับอินเวอร์เตอร์แต่ละยี่ห้อ ว่ารองรับแบตเตอรี่ ประเภทใด หรืออาจรองรับทั้ง 2 แบบ เลยก็มี

อ่านเพิ่มเติม...

          ไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ จะส่งต่อมายังอุปกรณ์ DC Combiner Box (ซึ่งจะมี DC Breaker,Surge Protection และอาจจะมี FireFighter Switch) จากนั้นส่งต่อไฟฟ้า DC ไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงไฟฟ้า DC เป็น AC จากนั้นก็ต่อขนานเข้า Main Breaker หากในโรงงานอาจเรียกว่า MDB หรือ MCB ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อกับไฟฟ้า AC ที่มาจาก ระบบจำหน่ายไฟฟ้า AC จากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย และจากนั้นก็ส่งต่อไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านของเรา ตามรูปด้านล่างนี้เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อ แบบผลิตเพื่อใช้เอง สำหรับประหยัดค่าไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีดิจิตอลมิเตอร์ (ตัวเลขไม่หมุนย้อนกลับ) แค่ 1 ตัว 

อ่านเพิ่มเติม...