fbpx

พอดีว่าช่วงนี้ ในแวดวงโซล่าเซลล์ เห็นมีการติดตั้งระบบไฮบริด ซึ่งก็มีแบตเตอรี่เข้ามาเพิ่มในระบบ แล้วก็เห็นใน youtube หลายๆช่อง พูดหน่วยความจุของแบตเตอรี่ เป็น kW. (กิโลวัตต์ เฉยๆ) จริงๆแล้ว หน่วยต้องเป็นคำว่า kWh จะอ่านว่า กิโลวัตต์-เอาวเออร์ หรือ กิโลวัตต์-ชั่วโมง ก็ไม่ว่ากัน เพราะ ความหมายไม่เปลี่ยน  แต่หากเขียน หน่วยของความจุแบตเตอรี่ เป็น กิโลวัตต์ อันนี้คือความหมายผิดไปเลย  แล้วก็จะทำให้ผู้ฟัง หรือผู้อ่านสับสน งงงวย ไปกันใหญ่ 

วันนี้เลยทนความหงุดหงิด ไม่ไหว เลยขออธิบาย ของคำว่า kW. และ kWh.

ให้หายคาใจกันไปเลย...มาตามไปดูกัน...

ดูความหมายแบบย่อๆ ก่อน

อ่านเพิ่มเติม...

Solar Energy FAQ Episode 4

22. กฏของโอห์ม Ω (Ohm's Law) ข้อนี้สำหรับคนที่เรียนช่างไฟฟ้ามาต้องจำให้ได้ขึ้นใจเลยครับ กฎของโอห์ม ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ยอร์จ ไซมอน โอห์ม (George  Simon  Ohm) ซึ่งชื่อของเขาได้รับเกียรติเป็นชื่อหน่วยของความต้านทานโดยกฎของโอห์มเป็นหลักการเบื้องต้นของระบบไฟฟ้า บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง

      - ค่าความต้านทาน : Resistance ตัวย่อ R มีหน่วยเป็น โอห์ม Ω

            1,000 โอห์ม = 1 กิโลโอห์ม (KΩ)

            1,000,000 โอห์ม = 1,000 กิโลโอห์ม (KΩ)  = 1 เมกะโอห์ม (MΩ)

      - ค่ากระแสไฟฟ้า : Current ตัวย่อ I มีหน่วยเป็น แอมป์ ( A )

      - ค่าของแรงดันไฟฟ้า : Voltage ตัวย่อ E  มีหน่วยเป็น โวลท์ ( V )

     กฎของโอห์มกล่าวว่า  กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรแปรผันโดยตรงกับแรงดันที่ป้อนและแปรผกผันกับความต้านทานของวงจร

อ่านเพิ่มเติม...

Solar Energy FAQ Episode3

17.Watt : วัตต์ คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้า

18.Kilowatt : KW :กิโลวัตต์คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 W

19.Megawatt : MW :เมกกะวัตต์  คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 KW หรือ 1,000,000 W

20.KW-hour :กิโลวัตต์-อาว์เออร์ คือหน่วยของการคิดค่าพลังงานไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันว่า ยูนิต(Unit) หรือหน่วยนั่นเอง ซึ่งก็คือหน่วยของค่าไฟฟ้า ที่การไฟฟ้าเก็บตังค์บ้านเรานี่แหละครับ ทีนี้มันมีที่มา หรือคำนวณมาจากอะไรมาดูกัน 

อ่านเพิ่มเติม...

ก่อนที่จะรู้ว่า การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) เค้าคิดค่าไฟฟ้าเราอย่างไร เราต้องมาทำความรู้จักกับสูตร และค่าต่างๆที่เกี่ยวข้องก่อนดังนี้

 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย (ที่มิเตอร์หมุนๆเป็นจำนวนหน่วยที่หน้าบ้านเราแหละครับ) มีค่าเท่ากับ 1 KW-Hour  อ่านว่า 1 กิโลวัตต์-ชั่วโมง

ซึ่งมีที่มาจากสูตรนี้

จากสูตร กำลังไฟฟ้า (วัตต์)  = พลังงานไฟฟ้า (จูล) ÷ เวลา (วินาที)  = P = W÷T

พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต)  =  กำลังไฟฟ้า (วัตต์) X เวลา (ชั่วโมง) ÷ 1000

ดังนั้น ค่าไฟฟ้า = จำนวนยูนิต x อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย

 

 

                             

Solar Energy FAQ Episode2

10.พื้นฐานไฟฟ้าเบื้องต้น กำลังไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า

กำลังไฟฟ้า (P) มีหน่วยเป็น วัตต์ (W)

แรงดันไฟฟ้า (E) มีหน่วยเป็น โวลท์ (V)

กระแสไฟฟ้า (I) มีหน่วยเป็น แอมป์ (A)

ทั้ง 3 ค่า ด้านบน จะมีความสัมพันธ์กัน โดยสามารถเขียนเป็นสูตร สมการได้ดังนี้

กำลังไฟฟ้า = แรงดันไฟฟ้า x กระแสไฟฟ้า ==> P = E I

กระแสไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า ÷ แรงดันไฟฟ้า ==> I = P/E

แรงดันไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า ÷ กระแสไฟฟ้า ==> I = P/I

อ่านเพิ่มเติม...

กำลังไฟฟ้า (P)       มีหน่วยเป็น วัตต์  (W)   

แรงดันไฟฟ้า (E)     มีหน่วยเป็น โวลท์ (V)

กระแสไฟฟ้า (I)      มีหน่วยเป็น แอมป์ (A)

ทั้ง 3 ค่า ด้านบน จะมีความสัมพันธ์กัน โดยสามารถเขียนเป็นสูตร สมการได้ดังนี้  

กำลังไฟฟ้า   = แรงดันไฟฟ้า x กระแสไฟฟ้า   ==> P = E I

กระแสไฟฟ้า  = กำลังไฟฟ้า ÷ แรงดันไฟฟ้า  ==>  I = P/E

แรงดันไฟฟ้า  = กำลังไฟฟ้า ÷ กระแสไฟฟ้า   ==> E = P/I

อ่านเพิ่มเติม...

Solar Energy FAQ Episode1

1.OnGrid System : ระบบออนกริด >> เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นก็นำไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วนำไปจ่ายโหลด และพร้อมกับนำไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

2.OffGrid System : ระบบอ๊อฟกริด >> เป๊นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่าย ของการไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระบบนี้เหมาะกับสถานที่ไม่มีไฟฟ้า หรือที่ไฟเข้าไม่ถึง ไม่คุ้มที่จะเดินลากสายไฟยาวๆเข้ามาใช้เนื่องจากต้นทุนสูง

อ่านเพิ่มเติม...