fbpx

เนื่องจากมีผู้สอบถามว่าจะติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่บ้านพักอาศัย และหรือโรงงาน แล้วราชการเค้าอนุญาต ให้ติดตั้งได้สูงสุดเท่าใดกันแน่ เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 หน่วยงาน อันประกอบด้วย กกพ. , กฟน. และ กฟภ. และประกอบกับทั้ง 3 หน่วยงานข้างต้นก็มีการอัพเดทกฏ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องมาเป็นระยะๆ จึงมีคำถามผุดๆ ขึ้นมาจากเพื่อนช่าง และลุกค้าหลายๆท่าน

อย่ากระนั้นเลย โซล่าฮับ จึงขออัพเดท ข้อมูลว่า หน่วยงานราชการฯอนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ได้สูงสุดขนาดเท่าใด?

>>> เท่าที่ได้ประสานงาน และลองยื่นขออนุญาตในทางปฏิบัติจริงมาบ้างแล้ว ก็ขออัพเดท ไว้ ณ ปัจจุบัน กันยายน 2565 ตามนี้

ก่อนอื่น มารู้คอนเซ็ปคร่าวๆ ก่อนว่าเราต้องขออนุญาต หน่วยงานใดบ้าง 

 

>>> องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. , เทศบาล , สำนักงานเขต , กนอ. ออกใบอนุญาต ปรับปรุงอาคาร (อ.1) เพื่อติดตั้งระบบโซล่าเซลล์บนหลังคา Solar Rooftop

>>> กกพ. ออกใบอนุญาตฯ ยกเว้นเพื่อขออนุญาตติดตั้ง โดย กกพ. ให้แนบใบ อ.1 เป็นหลักฐานการขอใบยกเว้นฯด้วย จึงจะออก ใบจดแจ้งยกเว้นฯ ให้

             *** ใบอนุญาตฯยกเว้น อันนี้เรียกสั้นๆย่อๆนะครับ จริงๆแล้ว กกพ. เค้าไม่ได้ใช้คำว่าใบอนุญาตนะครับ เค้าใช้คำว่า " รับแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า "   งงล่ะสิ ไม่ต้องงง555 ก็ภาษาราชการแหล่ะ เราเรียกสั้นๆ ว่าใบยกเว้นฯ ก็แล้วกัน >>> ทำไมต้องเขียนให้มันเข้าใจยากส์  ที่เราเข้าใจคือ กฏหมายหลักคงระบุไว้ว่า ใครจะติดตั้งโซล่าเซลล์ขนาดเท่าใดก็แล้วแต่ จะต้องขออนุญาตฯ และได้รับใบอนุญาตฯ แต่พอติดตั้งกันเยอะๆ คณะกรรมการฯ คงทำไม่ทัน งั้นเลยนำเสนอเป็นกฏระเบียบฯ ว่า ถ้าติดตั้งไม่ถึง 1,000 kW. ก็ไม่ต้องขออนุญาตฯ เอาแค่จดแจ้งให้ราชการทราบก็พอ ถ้าขออนุญาตจะมีขั้นตอนและเงื่อนไขที่มากมายกว่านี้อีกเยอะ ก็แค่นั้นแหละ จึงใช้คำว่า รับแจ้งประกอบกิจการ........ มันก็เป็นเช่นนั้นแล...

             *** แต่ก็มีข้อยกเว้นบางประการสำหรับบ้านพักอาศัย ซึ่งจุดนี้ก็ขึ้นอยู่กับ กกพ.เขตแต่ละแห่ง ต้องลองสอบถามโดยตรงแต่ละเขตเองเด้อ ติดต่อ สำนักงานประจำเขต กกพ.ทั้ง 13 แห่ง

>>> การไฟฟ้าฯ โดย กฟน. หรือ กฟภ. จะรับยื่นและออกใบอนุญาตให้ขนานไฟ ให้ก็ต่อเมื่อได้แนบเอกสาร ใบจดแจ้งยกเว้นฯ จาก กกพ. เป็นหลักฐานในการแจ้งขอขนานไฟด้วย

             *** แต่กรณีที่ขอขายไฟ ต้องยื่นออนไลน์ ที่เว็บของการไฟฟ้าฯ ก่อน จนได้รับสัญญาฯให้ขายไฟ  แล้วจึงยื่นขอจดแจ้งยกเว้น กับทาง กกพ.

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ.

ประกาศโครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน ปี 2565  เมื่อวันที่ 20 พ.ค.65  หรือการขออนุญาตเพื่อขายไฟฟ้า ปี 2565 อนุญาตให้ขายไฟได้ขนาดติดตั้งได้ไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp.) ซึ่งคือดูจากขนาดกำลังวัตต์ ของแผง  (ไม่ใช่ดูจากขนาดอินเวอร์เตอร์)

♦ สำหรับบ้านที่ไม่ขายไฟ กกพ.ให้ติดตั้งได้ สูงสุด 1,000 kW. (ดูจากขนาดรวมของแผงโซล่าเซลล์) โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4 ทั้งนี้

        >>> หากติดตั้งเกิน 200 kW. (ดูจากขนาดของอินเวอร์เตอร์) ต้องได้รับใบผลิตพลังงานควบคุม พค.2  โดยยื่นออนไลน์ ผ่านทางเว็บของ กกพ. (erc.or.th) ขอจดแจ้งใบยกเว้นในคราวเดียวกัน แล้วทาง กกพ. ก็จะส่งต่อเรื่องไปยัง กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงาน : พพ. และไปตรวจสอบการติดตั้งที่หน้างานโดยเจ้าหน้าที่ของ พพ.

♦ หากต้องการติดตั้งมากกว่า 1,000 kW. ต้องมีการขออนุญาต รง.4

 

การไฟฟ้านครหลวง : กฟน. 

  >>> สำหรับผู้ใช้ไฟแรงต่ำ หรือไม่มีหม้อแปลง ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ต้องไม่เกินขนาดการขอใช้ไฟฟ้าที่ได้รับอนุมัติจาก กฟน. หรือดูจากขนาดมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้า ตามตารางด้านล่างนี้ หรือจะดูรายละเอียดที่เว็บของ กฟน. ที่นี่ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ภายในอาคาร ไม่ขายไฟฟ้า

 

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : กฟภ.

   >>> สำหรับผู้ใช้ไฟแรงต่ำ หรือไม่มีหม้อแปลง คล้ายๆกับ กฟน. โดยดูจากขนาดมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้า ตามตารางด้านล่างนี้

 

  >>> สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าแรงสูง หรือโรงงานที่มีหม้อแปลงของตนเอง  ก็มีระเบียบการเชื่อมต่อฯ ที่ปรับปรุงใหม่ ประกาศเมื่อวันที่ 29 เม.ย.65 ที่

         - ที่กำหนดวิธีการ รูปแบบการเชื่อมต่อ แรงต่ำ

         - ที่กำหนดวิธีการ รูปแบบการเชื่อมต่อ ขนาดไม่เกิน 2 MW

         - ที่กำหนดวิธีการ รูปแบบการเชื่อมต่อ ขนาดเกิน 2 MW

      *** ขนาดที่อนุญาตให้ติดตั้งโซล่าเซลล์ กฟภ. จะพิจารณาขนาดหม้อแปลง ที่โซล่าเซลล์เชื่อมขนานด้วย โดยารไฟฟ้าเขตฯ ส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ติดโซล่าเซลล์ ไม่เกิน 75% ของขนาดหม้อแปลง ทั้งนี้ต้องประสานโดยตรงกับการไฟฟ้า แต่ละเขตเองเน้อ  

      *** ขอออกตัวก่อน ว่า โซล่าฮับ ส่วนใหญ่จะขออนุญาตฯ ติดตั้งต่อไซท์ ที่ไม่เกิน 1 MW ซึ่งโรงงานฯ ก็จะติดตั้งไม่เกิน 1 MW เพื่อย่นระยะเวลาในการขออนุญาตฯ เพราะการขออนุญาต รง.4 มีขั้นตอนที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องประชาพิจารย์ , ทำรายงาน EIA , EHIA  เป็นต้น