fbpx

คำนวณและออกแบบระบบโซล่าเซลล์

หลังจากที่มึนงงกับ การออกแบบการต่อแผงโซล่าเซลล์ไปก่อนหน้านี้กันแล้วกันแล้ว ทีนี้จะพามาดูการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ สำหรับโรงงาน ทั้งนี้หากจะแบ่งลักษณะการติดตั้ง Solar PV Rooftop ผมขอแบ่งเป็น 2 ลักษณะ (มีอย่างอื่นอีกหรือป่าว ไม่แน่ใจครับ แต่ขอกล่าว 2 ลักษณะแล้วกันครับ)

1.ติดตั้งยึดติดบนหลังคา หรือ Roof Mounting 

     1.1 หลังคาแบบเมทัลชีต

     1.2 หลังคาซีแพ็ค

     1.3 หลังคากระเบื้อง

2.ติดตั้งบนดาดฟ้าของอาคาร หรือ Ground Mounting

อ่านเพิ่มเติม...

จากรูปตัวอย่างการต่อแผง PV สำหรับการติดตั้งแบบ Ongrid จะเห็นว่าเราต่อแผงอนุกรมกัน 4 ชุด หรือเรียกว่า 4 String โดยแต่ละ String อนุกรมกัน 17 PV 

ทำไมต้องเป็น 17 PV 4 String ด้วย...ทามมายยย?

ต่ออนุกรมกันมากกว่านี้ได้ไหม?

ต่อขนานกันมากกว่านี้ได้ไหม?

เราจะหาคำตอบเหล่านี้ ได้จากการดูที่ Specification ของ อินเวอร์เตอร์ ที่เรานำมาใช้งาน ตามรูป ครับ

อ่านเพิ่มเติม...

การต่อแผงโซล่าเซลล์ ก่อนอื่นต้องรู้ Specification ของ ตัวแผงโซล่าเซลล์ (ต่อจากนี้จะเรียก PV นะครับ) และ อินเวอร์เตอร์ ก่อน เพื่อจะได้นำมาออกแบบได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องมีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้าเบื้องต้นมาก่อน ซึ่งบทความก่อนหน้านี้ ทางทีมงานโซล่าฮับได้ปูพื้นฐานไปมากพอควรแล้ว สามารถไปหาอ่านได้ที่ facebook.com/solarhub.co.th และที่เว็บ solarhub.co.th ที่เมนู ความรู้เบื้องต้นทางไฟฟ้า เช่น

- การต่ออนุกรม ทำให้ แรงดัน(V)เพิ่ม  , กระแส(A) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- การต่อขนาน  ทำให้  กระแส(A)เพิ่ม , แรงดัน(V) เท่าเดิม , กำลังไฟฟ้าเพิ่ม

- สูตรพื้นฐานทางไฟฟ้า P=ExI  , E=P/I  , I=P/E

อ่านเพิ่มเติม...

ตัวอย่างการคำนวณ แบบอ๊อฟกริด อีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมากและต้องการสำรองไฟฟ้า ไว้ใช้2 วัน กรณีไม่มีแดด ดังนั้นจึงต้องใช้ขนาดอินเวอร์เตอร์ ที่ใหญ่ขึ้นและเพิ่มจำนวนแบตเตอรี่มากขึ้นด้วย โดยทำนำ3PV อนุกรมกัน ได้ประมาณ 112 VDC (เนื่องจากอินเวอร์เตอร์รับได้สูงสุด 145 VDC) รวม 4 String นำทั้ง4 String มาขนานกัน เพื่อให้ได้ค่าวัตต์ที่เพิ่มขึ้น (แต่โวลท์เท่าเดิม และแอมป์เพิ่มขึ้น ซึ่งได้เคยอธิบายไปแล้ว ที่บทความก่อนหน้านี้)
นำ PV ขาบวก แต่ละString มาเข้าฟิวส์แยกแต่ละString แล้วต่อไปเข้า DC Breaker ซึ่งก่อนเข้า DC Breaker เชื่อมไปยังSurge Protection ก่อน
นำขาลบ ยิงตรงเลยไม่ต้องผ่านฟิวส์ ออกจาก DC Breaker ก็เข้า Hybrid Inverter
อ่านเพิ่มเติม...