fbpx

เนื่องจากที่ผ่านมา 5-6 ปีที่รับงานติดตั้ง ช่วงแรกๆ ก็จะเจอปัญหามากมาย ในช่วงระหว่างการติดตั้งระบบฯ อีกทั้งก็เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้า 

ทีมงานโซล่าฮับ จึงได้ลองปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงาน โดยหากเป็นงานโครงการที่ติดตั้งขนาดหลายร้อยกิโลวัตต์  โซล่าฮับ จะทำการอบรมระบบโซล่าเซลล์ ให้กับเจ้าหน้าที่ หรือOwner ก่อนการเริ่มงาน เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก่อนการปฏิบัติงาน หรืออีกนัยยะ หนึ่งก็คือการ คอมมิทเมนต์ หรือรับรองว่า เราจะติดตั้งตามที่อบรมหรือตกลงกันก่อนเริมทำงาน (*ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า โรงงานหรือ Owner ก็ผลิตหรือทำงานอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่ทำเรื่องโซล่าเซลล์ ดังนั้น หากเป็นมุมมองของ ผู้ปฏิบัติของOwnerเองอาจไม่ทราบรายละเอียดลึกๆในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ) ดังนั้นโซล่าฮับ จึงใช้วิธีการ ให้ความรู้ โซล่าเซลล์ ที่ถูกต้องก่อน เมื่อ เจ้าหน้าที่เข้าใจแล้ว ก็จะได้มาประสานงาน ควบคุมงานได้อย่างไหลลื่น

 

อีกอย่างหนึ่ง ก่อนเข้าติดตั้ง หรือรับงาน เราควรหารือ ประเด็นต่าง กับ Owner เพื่อความชัดเจน ก่อนการเข้าปฏิบัติงาน ซึ่งได้ลองลีส รายการตามด้านล่างนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ กับทั้ง Owner และเพื่อนๆช่างทั้งหลาย โดยชั่วกาลนานเทอญ ^L^"


1.แผงจำนวน xxx แผง สามารถขนขึ้นบนตึกไปไว้บนอาคาร ในวันเดียว ได้หรือไม่? มีที่วางหรือไม่?
หรือต้องทยอยจับยึด บนเมาท์ติ้ง ในแต่ละวันครับ?
2.การขนของเข้าลิฟท์ จะใช้ลิพท์ขนของ มีช่วงเวลา ที่ขนของหรือไม่ ?
3.ระหว่างทางเดิน จากรถ ถึง ลิฟท์ ต้องทำทางเดิน หรือปูพื้นด้วย วัสดุอะไร หรือไม่?
4.เข้าในลิฟท์ ต้องใช้วัสดุอะไร ในการป้องกันรอยขูดขีด ?
5.บนหลังคาเมทัลชีท ค่อนข้างบางมาก เนื่องจากเราติดเต็มทั้งพื้นที่ จึงไม่มีที่ว่างให้ใส่ walk way แต่ช่วงระหว่างติดตั้งจะวาง walk wayอลูมิเนียมชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เมทัลชีท ชำรุด (แต่ก็ไม่ได้การันตีว่า จะไม่ชำรุด แต่หากชำรุดเราก็ซ่อม อุดรูรั่ว ให้อยู่แล้วครับ)


6.หากยิงสกรูบนเมทัลชีท และเจาะพื้นคอนกรีต ก็ย่อมต้องมีเสียงดัง ดังนั้นขอทราบ ช่วงเวลา ที่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ เพื่อประเมินระยะเวลาการทำงาน และต้นทุนต่างๆ
7.รบกวนชี้แนวท่อน้ำเชื่อมกับระบบน้าของอาคาร และจุดติดตั้งก็อกน้ำ
8.รบกวนชี้แนวสายไฟ DC จากบนดาดฟ้า มายังห้องอินเวอร์เตอร์
9.รบกวนชี้จุดติดตั้งอินเวอร์เตอร์ โดยจะทำโครงเหล็ก support ติดตั้งใกล้กับตู้ MDB
10.รบกวนชี้จุดขนานเข้า busbar ของอาคาร


11.โรงงานมี Capbank ที่ห้องเมน MDB หรือไม่อย่างไร?
12.สำรวจดูช่องเซอร์วิสและช่องทางเดินสายสัญญาณ RS485 จากชั้นบน ไปยังห้องเมน MDB ชั้นล่าง
13.สำรวจจุดเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต , สายแลน สำหรับเข้าตัวอินเวอร์เตอร์
14.สำรวจดูจุดคล้อง CT ที่เมน MDB
15.เนื่องจากแผง ติดตั้งหลายจุด จึงต้องมีการโยงสายสตริง เชื่อมต่อข้ามหลังคา หากัน โดยจะชี้แนวเดินท่อIMC แต่ละจุด แต่ละช่วง เพื่อจะได้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน


16.อธิบาย การใช้สกรู (ขนาดสกรู) ในการยึดเมาท์ติ้ง บนเมทัลชีท
17.อธิบาย แจ้งขนาดเหล็กสตัด ความลึก การเจาะรู ใช้กาวอีพ็อกซี่ ก่อปูนทำบล็อก รายละเอียดในการติดตั้งบนพื้นคอนกรีตสแลป
18.ตู้ AC for Solar ต้องส่งให้อนุมัติก่อนติดหรือไม่ อย่างไร?
19.สอบถาม ห้องน้ำและ ที่พักผ่อนสูบบุหรี่ สำหรับทีมงาน
20.ต้องทำแบบ Shop drawing ก่อนหรือไม่? >> ปกติโซล่าฮับ ไม่ได้ทำ เนื่องเคยทำแล้วระยะเวลา กว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จ จะช้าไปเกือบๆ เท่าตัว ดังนั้น เราใช้วิธีการคุยกันกับคนหน้างาน ว่าจะทำอย่างไร ไปแนวนี้ ... แล้วก็ทำเลย เมื่อเสร็จแล้ว เราจึงทำเป็น As-Built Drawing


     *เพราะที่ทำ shop drawing ต้องผ่านกระบวนการApproved แบบ ซึ่งบางครั้งคนอนุมัติก็ไม่ได้เข้าใจหน้างานอย่างถ่องแท้ อีกทั้งอาจไม่ได้เข้าใจรายละเอียดการติดตั้งระบบฯเท่าที่ควรจะเป็น ทำให้เสียเวลา แทนที่จะได้ประหยัดค่าไฟได้เร็วๆ


     **ดังนั้นคนคุมงานต้องมีอำนาจตัดสินใจเลย เมื่อคุยกันแล้ว ตามที่ตกลงกัน ก็ต้องว่าตามนั้นเลย

     ***ข้อมูล ตามข้อที่20 อาจนำไปใช้กับ องค์กรใหญ่ๆ ไม่ได้ เนื่องจากลำดับชั้น สายการบังคับบัญชา มากมาย ไขว้ไปมา อีกทั้ง แยกผุู้รับผิดชอบ เป็นหลายส่วน หลายแผนก จึงมีความจำเป็นที่ต้องเขียนแบบ Shop Drawing ให้ทุกๆคน ที่อยู่แต่ละแผนก เข้าใจตรงกัน ซึ่งก็ต้องทำใจเรื่องระยะเวลา การติดตั้งอาจใช้มากกว่าองค์กรเล็กๆ

     ท้ายนี้ข้อมูลข้างต้น เป็นการทำงานที่โซล่าฮับ ที่ถือว่าเป็นองค์กรเล็กๆ (ที่ไม่ได้มีหลายส่วน หรือหลายแผนก มากนัก) ที่นำแนวทางนี้มาปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 4-5ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การติดตั้งเสร็จรวดเร็ว (ที่ช่วยให้ Owner ประหยัดค่าไฟฟ้าได้เร็วขึ้น) และมีคุณภาพ มาตรฐาน ใช้งานยาวนานยั๊นลูกบวช...และเห็นว่าเป็นว่าเป็นประโยขน์ กับเพื่อนช่างทั้งหลาย จึงขอนำมาแชร์ไว้ ณ ที่นี้ ^L^"