fbpx

ได้รับคำถามจากผู้มีพระคุณ ลูกค้า ของ ลูกค้า ถามมาว่า ไมโครอินเวอร์เตอร์ ( Micro Inverter) กับ สตริงอินเวอร์เตอร์ ( String Inverter ) แตกต่างกันอย่างไร อันไหนดีกว่ากัน?

>>> อันดับแรก เรามาดูภาพรวมก่อนว่าอินเวอร์เตอร์ ในระบบโซล่าเซลล์ มีกี่อย่างกันแน่ ในปัจจุบันนี้ (พ.ศ.2566)

 

 อินเวอร์เตอร์ ออนกริด ( Ongrid Inverter) ที่ใช้งานในระบบโซล่าเซลล์

    • เซ็นทรัลไลซ์ อินเวอร์เตอร์ (Centralize Inverter)
    • สตริง อินเวอร์เตอร์ (String Inverter)
    • อินเวอร์เตอร์ แบบมี Power Optimize
    • ไมโคร อินเวอร์เตอร์
    • ไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์
  • อ๊อฟกริด อินเวอร์เตอร์
    • Modified Sine Wave
    • Pure Sine Wave
    • Solar Pump Inverter (Soft Start System)

 

>>> อันดับสอง ต้องเข้าใจก่อนว่า แผงโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือไฟ DC

แต่ไฟฟ้าที่เรานำมาใช้ในโรงงาน หรือบ้าน เป็น ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ AC

ซึ่งปัจจุบันนี้ แผงโซล่า แต่ละแผง (มีขั้วบวก+ และ ขั้วลบ- เหมือนแบตเตอรี่) ก็ผลิตกำลังไฟฟ้าประมาณ 400 - 600 วัตต์ และมีกระแสไฟฟ้า ประมาณ 9 -15 แอมป์ และมีแรงดันไฟฟ้า ประมาณ 35 - 55 โวลท์(V)

ดังนั้นเมื่อเราได้ไฟฟ้า จากแผงโซล่า ซึ่งคือ ไฟ DC เราก็ต้องนำมาแปลงเป็นไฟฟ้า AC แล้วจึงนำมาจ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า

ซึ่งอุปกรณ์แปลงไฟ DC เป็น AC เรียกว่า Inverter

ทีนี้มาพูดถึง String Inverter ก็มีหลายขนาด ถ้าเป็นขนาดเล็ก งานบ้าน อินเวอร์เตอร์ขนาด 3 , 5 , 10 kW. จะทำงานก็ต่อเมื่อมีแรงดันไฟฟ้า ประมาณ 120 - 600 V

แต่String Inverter ขนาดใหญ่ ที่ใช้งานโครงการ หรือโรงงานขนาดใหญ่ เช่นอินเวอร์เตอร์ขนาด 20 , 30 , 40 , 50 , 60 , 100 kW. เป็นต้น จะทำงานก็ต้องมีแรงดัน 250 - 900 V. เป็นต้น

ซึ่งถ้าใช้ แผง แค่ 1แผง ได้แรงดันแค่ 50 V ตัวอินเวอร์เตอร์ก็ไม่ทำงาน ดังนั้น เราจึงต้องนำแผงมาต่ออนุกรมกัน หลายๆแผง เพื่อให้ได้แรงดันสูงขึ้น ซึ่งการต่อนุกรมนี้ เราเรียกว่า การต่อสตริง ( คือเอา +แผง1 ไปเข้า -แผง2 ต่อๆๆๆไปเรื่อยๆ สุดท้ายจะได้ -แผง1 กับ +แผงท้าย แล้วลากสาย + - นั้น มาเข้าinverter นี่แหละเรียกสายสตริง ) ซึ่งสายสตริงนี้ก็จะลากจากบนหลังคา มายังตัวอินเวอร์เตอร์ ที่อยู่ในบ้าน
ก็เป็นที่มาว่า เรียก สตริง อินเวอร์เตอร์ ก็ทำการแปลงเป็นไฟ AC จ่ายไปยังโหลดในบ้านใช้งานต่อไป

ทีนี้ Micro inverter ก็คือ แทนที่จะต้องต่ออนุกรมกันหลายๆแผง ก็เปลี่ยนเป็น ทำตัวอินเวอร์เตอร์ให้เล็กลง แล้ว ไปติดใต้แผงโซล่าเซลล์ แต่ละแผงเลย แล้วแปลงเป็นไฟฟ้า AC จากบนหลังคาเลย
( ยี่ห้อ Enphase ของอเมริกา ต้องติดmicro inverter 1ตัวต่อ 1แผง , ยี่ห้อ Hoymile จีน ติด micro inverter 1ตัว ต่อได้4แผง )

ซึ่งจะเห็นว่า Micro Inverter ไม่ต้องต่ออนุกรม หลายๆแผง ลงมาข้างล่าง เพราะแปลงเป็นไฟ AC จากบนหลังคาเลย ซึ่งหากมีหลายๆแผง ก็นำไฟฟ้า AC ขนานกันไปเรื่อยๆ บนหลังคาเลย แล้วค่อยรวมเป็นไฟ AC เป็นสายใหญ่ๆ ลงมาจ่ายโหลด หรือขนานไฟ กับการไฟฟ้าฯ ภายในอาคารได้เลย

เมื่อพอจะเข้าใจ ความแตกต่างของไมโครอินเวอร์เตอร์ กับ สตริงอินเวอร์เตอร์แล้ว ก็จะเริ่มมีคำถามผุดขึ้นมาอีกว่า แล้วตัวไหนมันดีกว่ากัน หรือเราจะเลือกใช้อินเวอร์เตอร์ประเภทใดดีกว่ากัน?

อินเวอร์เตอร์ ทั้ง 2 ประเภทนี้ ก็มีจุดเด่น จุดด้อย ด้วยกันทั้งคู่ แล้วแต่ท่านจะมีมุมมอง และการนำไปใช้ประโยชน์ กับท่านอย่างไร ซึ่งตอนต่อไปก็จะมาว่ากันด้วย จุดเด่น จุดด้อย ในมุมมองของทีมงานโซล่าฮับกัน โปรดติดตาม ^L^