fbpx

กรุณาอ่านความเดิม 3 ตอนที่แล้วก่อนเน้ออออ.. Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP1 และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP2  และ Huawei Hybrid Solution หัวเว่ย ไฮบริด โซลูชั่น EP3

 

จริงๆ EP4 ว่าจะดองเค็ม ไว้อีกสักระยะหนึ่ง อันเนื่องจาก ติดภารกิจหลายอย่างไม่ค่อยมีสมาธิเขียน
แต่... บังเอิญ มีคนฝากบอกมาว่า เฝ้าติดตามเพจ และบทความในเว็บของ โซล่าฮับ ตลอด เฝ้ารอrefresh ว่า จะมีบทความใหม่ๆ มาเมื่อไหร่อ่านเพลิน เกินห้ามใจ 555... ว่าไปนั่น

มายอ..ได้ซะที่ไหนล่ะ
เราก็คนบ้ายอ ไม่หยอกเน้อ.. ยิ่งยอ ยิ่งเขียนไม่หยุด 555 ^L^

 

 

3 หลักการทำงาน Huawei Hybrid Solution (On-Off Grid Hybrid)

 

     1เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบกับแผงโซล่าเซลล์ (PV) ทำให้เกิดเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) โดยในปัจจุบันนี้ ( มกราคม 2566 ) แต่ละแผงได้กำลังไฟฟ้าสูงสุด ประมาณ 400 - 600 Wp. (Watts Peak) ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีการผลิตของแต่ละยี่ห้อ และมีแรงดันต่อใช้งานประมาณ 30-60 V ต่อPV จากนั้นเราก็นำเอาแต่ละ PV มาต่ออนุกรมกันทำให้ได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งแรงดันก็เพิ่มมากขึ้นด้วย แต่กระแสไฟฟ้าเท่าเดิม ซึ่งเราเรียกการต่ออนุกรมนี้ว่าการทำString โดยจำนวน PVที่ต่ออนุกรมกันในแต่ละString ขึ้นอยู่กับ Specification ของอินเวอร์เตอร์ และ PV ซึ่งเราก็ต้องทำการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในประเทศไทย

 

     

   เมื่อมีไฟฟ้ากระแสตรง DC ไหลมายังตัวอินเวอร์เตอร์ แล้วก็จะทำหน้าที่แปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ทั้งนี้เราต้องป้อนไฟฟ้ากระแสสลับ 3 ที่มาจากการไฟฟ้าฯ ให้กับตัวอินเวอร์เตอร์ด้วย ซึ่งไฟฟ้ากระแสสลับจากโซล่าเซลล์กับไฟฟ้าของโครงข่ายการไฟฟ้าก็จะรวมผสมกันไปจ่ายยัง อุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน 4  แล้วส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

     หากบางช่วงเวลา มีแสงแดมาก ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้มาก แต่เรายังไม่ได้ใช้ไฟฟ้า เราก็ตั้งค่าให้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์ มาชาร์จลงในแบตเตอรี่ 6  เพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้งานในช่วงเวลาที่เราต้องการ ซึ่งสามารถตั้งค่าจ่ายไฟให้ขนานเข้ากับไฟของการไฟฟ้าฯ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าได้

 

     ทั้งนี้ในกลางวัน กรณีที่ไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯดับ ถ้าเป็นระบบออนกริด แบบทั่วไป อินเวอร์เตอร์ ก็จะหยุดการทำงาน ทำให้บ้านเราก็ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้ แต่กรณีที่เราติดตั้ง อุปกรณ์ Backup Box  7  ก็จะทำหน้าที่สลับแหล่งจ่ายไฟที่รับจาก ไฟการไฟฟ้าที่ผสมกับไฟจากโซล่าเซลล์ ให้เครื่องใช้ไฟฟ้ามารับไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ แทน ซึ่งเราเรียกเครื่องใช้ไฟฟ้า (ที่ใช้งานได้ตอนไฟการไฟฟ้าฯดับ) ว่า Important Load หรือ BackUp Load  8  ซึ่งจะต้องมีกำลังไฟฟ้า ไม่เกิน 5 kW. ( หากใช้เกินกว่า 5 kW. อาจทำให้อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ ชำรุด เสียหาย )

     สำหรับอุปกรณ์ Smart Power Sensor  9  หรืออาจเรียกว่า Zero Export หรือ ตัวกันย้อน ทำหน้าที่วัดพลังงานไฟฟ้า เข้า-ออก จากระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ แล้วส่งสัญญาณไปยังตัวอินเวอร์เตอร์ เพื่อนำค่ามาแสดงผล และหรือจำกัดพลังงานไฟฟ้าตามที่เราได้ตั้งค่าไว้ตามต้องการ ซึ่งการตั้งค่าต่างๆ เราสามารถทำได้แบบออนไลน์ รวมทั้งดูกำลังการผลิตไฟฟ้า ผ่านแอพพลิเคชั่น Fusion Solar by Huawei  10 

 

4.ตัวอย่างไดอะแกรม Huawei Smart Solution 

 

     สำหรับโครงการ หัวเว่ย สมาร์ท โซลูชั่น นี้ มีอุปกรณ์ ประกอบดังนี้ 

         Total System 5.40 kWp.(DC)
>>> Inverter                       5  kWp. 3Phase
>>> Inverter Qnt.               1  Set
>>> String Qnt.                 2  String
>>> PV Modules           450  W.
>>> PV Qnt.                    12  Modules
>>> Optimizer                 12  Set
>>> Battery                       5  kWh.  2 Set
>>> Backup Box               1 Set

 

 

 

 

     สำหรับโครงการ หัวเว่ย สมาร์ท โซลูชั่น นี้ มีอุปกรณ์ ประกอบดังนี้ 

>>> Total System 5.40 kWp.(DC)
>>> Inverter 5 kWp. 3Phase
>>> Inverter Qnt. 1 Set
>>> String Qnt. 2 String
>>> PV Modules 450 W.
>>> PV Qnt. 12 Modules
>>> Optimizer 12 Set
>>> Battery 5 kWh. 2 Set
>>> Backup Box 1 Set