fbpx

บทความนี้เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์  ที่ผ่านมาของงานการติดตั้งโซล่าเซลล์ ของทีมงานโซล่าฮับ

ที่ผ่านมา ทีมงานโซล่าฮับ ทำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาโรงงาน เพื่อใช้เอง ประหยัดค่าไฟฟ้า โดยรับงานหลากหลายขอบเขต และหน้าที่ อาทิ เช่น

     - เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานเฉพาะค่าแรงติดตั้งโซล่าเซลล์

     - เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานเฉพาะค่าแรง และค่าของบางส่วน

     - เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานเฉพาะค่าแรง และค่าของทั้งโครงการ

     - เป็นผู้รับเหมาโดยตรงจาก Owner (โอวเนอร์) แต่ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ

      - เป็นผู้รับเหมาโดยตรงจาก Owner (โอวเนอร์) รวมออกแบบตั้งแต่ต้นโครงการ หรือเรียกให้หรูหราหน่อยก็ EPC (Engineering Procument Construction)

     - ออกแบบอย่างเดียว (อันนี้ไม่ค่อยได้กะตังค์ 555 เพราะหวังว่าจะได้งาน แต่ก็อด)

     - เป็นที่ปรึกษา มีทั้งแบบไม่เป็นทางการ (ไม่ได้กะตังค์) และแบบเป้นทางการ (อันนี้ได้กะตังค์) 555

     - ...

มาบอกทำไมฟร่ะ?

มาบอกเพื่อ บอกเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นว่าแต่ละหัวข้อข้างต้น เป็นอย่างไร ท่านเจ้าของโครงการ หรือ เพื่อนๆผู้รับเหมาจะได้ หาทางป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา

     1.เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานเฉพาะค่าแรง >>> อันนี้ไม่ต้องคิดไรมาก มีของมาก็ทำๆๆ ตามแบบเลย แต่ปัญหาคือ

 

 

         1.1 มีของ แต่ของไม่ครบ ของบางอย่างขาดนิดๆหน่อยๆงานก็เดินต่อไม่ได้แล้ว เพราะว่าคนสั่งของคือผู้รับเหมาหลัก ที่ยังไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง ,จำนวนเท่าไหร่ ,ใช้อย่างไร, ระยะเวลาการสั่งแล้วได้ของ , ของบางอย่างต้องใช้ก่อนแต่มาทีหลัง , บางอย่างใช้ตอนสุดท้ายดั๊นมาตอนแรกเลย ,ต้องใช้น็อตยาวแต่สั่งน็อตสั้นมา , Fitting ต้องใช้ งอ90เปิดนอก แต่สั่งเปิดในมา ก็ต้องรอของนานเลย, ของบางอย่างสั่งแล้วต้องรออีกเป็นเดือน ยิ่งถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ กว่าจะซื้อของได้ต้องทำเรื่องผ่านระบบจัดซื้อของบริษัทอีกด้วย ทีนี้รอยาวเลย ฯลฯ อีกมากมาย.....

 

         1.2 ไม่มีแบบ หรือมีแบบก็จริงแต่ แบบยังไม่เสร็จ ทำไปแก้ไป งานยืดเยื้อ ไม่เสร็จสักที เพราะถ้าต้องรอแบบเสร็จ ก็ไม่ได้ติดตั้งสักที แต่พอทำไปก็ไม่ถูกใจเจ้าของโครงการอีกเพราะไม่มีแบบให้ดูเป็นแนวทาง เป็นอย่างนี้เรื่อยไป งานเลยจบยาก

 

         1.3 ได้เงินช้า แต่เราต้องจ่ายค่าแรงลูกน้องทุกๆวัน เมื่องานไม่เสร็จตาม Progress หรือ ไม่มีความคืบหน้าของงาน ผู้รับเหมาหลัก ก็ไปเบิกเงินจาก Owner ไม่ได้ เราเป็นผู้รับเหมาช่วง ก็พลอย อดเงินไปด้วย ซึ่งผู้รับเหมาช่วงบางราย ทนรับภาระไม่ไหวก็ต้องทิ้งงานกันไป (ต่างก็โทษกันไปมาว่า ใครผิดสัญญากันแน่ งานนี้ยาวว..)

 

               1.4 Scope of Work ไม่ชัดเจน อันนี้ก็หมายถึงเนื้องานที่ตกลงกันไว้แค่นี้ แต่ต่อมาเพิ่มโน่นนี่นั่น เช่น เพิ่มงานท่อน้ำ บันไดลิง ไลฟ์ไลน์ วอล์คเวย์ ...

 

     2.เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานเฉพาะค่าแรง และค่าของบางส่วน  >>> ข้อนี้ดีขึ้นมาหน่อย คือของเล็กๆน้อยๆ หรืออุปกรณ์ประกอบ เช่น น็อต สกรู wireway mounting ... เราเป็นผู้จัดหาเอง ซึ่งเราก็จะรู้ว่า อะไรใช้ก่อนหรือหลัง ขนาด จำนวน ระยะเวลา ก็จะพอคาดเดาได้ ทำให้งานเสร็จตามกำหนดได้ในระดับหนึ่ง เพราะเราควบคุมเวลาได้

 

     3.เป็นผู้รับเหมาช่วง รับงานทั้งค่าแรง และค่าของทั้งโครงการ >>> เราเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์เองทั้งโครงการ ซึ่งเราก็จะรู้ว่า อะไรใช้ก่อนหรือหลัง ขนาด จำนวน ระยะเวลา ก็ประมาณการได้ทั้งจำนวนของและระยะเวลา ทำให้งานเสร็จตามกำหนดได้ในระดับหนึ่ง เพราะเราควบคุมเวลาได้เอง แต่ก็มีอีกนิดหนึ่งคือ การออกแบบ ยังอยู่ที่ผู้รับเหมาหลัก เป็นผู้ออกแบบ ซึ่งบางอย่างคนออกแบบอาจจะไม่ได้เป็นคนลงมือทำ ก็อาจจะทำให้ขาดรายละเอียดบางอย่าง หรืออาจใช้งานได้แต่ก็เกิดปัญหาในการบำรุงรักษา การใช้งานได้

 

     4.เป็นผู้รับเหมาโดยตรงจาก Owner (โอวเนอร์) แต่ไม่ได้ออกแบบ โดย Owner จ้าง Consult ออกแบบ >>> งานนี้ค่อนข้างราบรื่น เพราะคอนเซาท์ ต้องออกแบบมาอย่างสมบูรณ์ แต่อาจจะติดขัดเรื่องเล็กๆน้อยๆ ที่ต้องหาของหรืออุปกรณ์ประกอบให้ได้ตามสเป็ค ที่คอนเซาท์ออกแบบไว้ เพราะของหรืออุปกรณ์บางอย่าง อาจหายากในตลาดทั่วไป หรือถ้ามีก็ต้องรอนาน กว่าจะได้ และการทำงานต้องละเอียดเป็นอย่างมากเพราะคอนเซาท์ จะตรวจสอบเข้ม กว่าจะเบิกเงินได้ตาม Progress

 

     5.เป็นผู้รับเหมาโดยตรงจาก Owner (โอวเนอร์) รวมออกแบบตั้งแต่ต้นโครงการ หรือเรียกให้หรูหราหน่อยก็ EPC (Engineering Procument Construction) ข้อนี้แจ่มสุด เพราะทำตั้งแต่สร้างโครงการ ออกแบบ สั่งของ ติดตั้ง ขออนุญาตฯหน่วยงานราชการ จนกระทั่งเชื่อมต่อหรือขนานไฟ แต่ข้อนี้ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการบริหารเวลาและการบริหารเงิน เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูง

 

     แถมอีก 2 ข้อ

      * ออกแบบอย่างเดียว (อันนี้ไม่ค่อยได้กะตังค์ 555 เพราะหวังว่าจะได้งาน แต่ก็อด)

     ** เป็นที่ปรึกษา มีทั้งแบบไม่เป็นทางการ (ไม่ได้กะตังค์) และแบบเป้นทางการ (อันนี้ได้กะตังค์) 555

 

 

เนื่องจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ ยังอยู่ในวงจำกัด (ไม่เหมือนกับการติดตั้งแอร์ หรือติดตั้งระบบไฟฟ้าทั่วๆไป ที่มีการติดตั้งมานานแล้ว รายละเอียดหรืออุปกรณ์ในท้องตลาดก็จะมีค่อนข้างครบถ้วนแล้ว) สำหรับในประเทศไทยระบบโซล่าเซลล์ ที่ทำแบบเชิงพาณิชย์ (Commercial) ไม่เกินสิบปีมานี้ ซึ่งก็คงต้องรออีกสักระยะหนึ่ง ที่ทุกๆฝ่าย จะได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

ในระยะนี้ก็เลยขอนำเอา ข้อสังเกตุ และสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ในการจัดทำโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา

*Contract  การจัดทำสัญญาจ้างติดตั้งโครงการ

*การขออนุญาตหน่วยงานภาครัฐ  ข้อนี้ต้องให้ความสำคัญเรื่องการขออนุญาตเชื่อมต่อหรือขนานไฟ กับการไฟฟ้าฯ เพราะงบประมาณอาจจะบานปลายได้ เกี่ยวกับการติดตั้งรีเลย์ป้องกันไฟย้อน

*BOI  บางโรงงานอาจเข้าหลักเกณฑ์ ที่ BOI ช่วยสนับสนุนเงินลงทุนติดตั้งระบบพลังงานทดแทน

*Engineering of Project การออกแบบทางด้านวิศวกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน คุ้มค่า สะดวกในการติดตั้ง และบำรุงรักษา 

*Material Management ข้อนี้ต้องให้ความสำคัญเพราะ ระยะเวลาโครงการจะเร็วหรือช้า ก็อยู่ข้อนี้ 

*Installation เน้นติดตั้งตามาตรฐานและความปลอดภัยขั้นสูงสุด

*Test & Commissioning  ทดสอบการใช้งาน

*Operation & Maintenance ใช้งานและบำรุงรักษา หากออกแบบมาอย่างสมบูรณ์แบบ ก็ทำให้ง่ายในการบำรุงรักษา