fbpx

จากการที่ทีมงานโซล่าฮับ ได้เข้านำเสนอข้อมูลและรายละเอียดการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด (Solar Rooftop) สำหรับใช้งานเองเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ให้กับโรงงาน สำนักงาน อพาร์ทเม็นท์ หรือ สถาบันการศึกษา ฯลฯ มีอยู่ข้อหนึ่งที่จะได้รับเป็นคำถามอยู่เสมอคือ

***ช่วงแรกยังไม่ค่อยมั่นใจว่าระบบระบบโซล่าเซลล์แบบออนกริด จะดีจริงหรือคุ้มค่าหรือไม่ จะติดตั้งระบบฯเพื่อรองรับเฉพาะแสงสว่างหรือบางโซน ก่อนได้ไหม หากได้ผลดี แล้วค่อยติดตั้งเพิ่ม ขยายครอบคลุมให้รองรับทั่วทั้งโรงงาน ได้หรือไม่ ?

 จึงได้เป็นที่มา อธิบายด้วยภาพข้างล่างนี้

กล่าวคือเราสามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กก่อนได้ แต่จะจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าให้รองรับเฉพาะบางโซนไม่ได้ เนื่องจากเป็นระบบออนกริด ซึ่งเราได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟฟ้าฯของ กฟน./กฟภ. ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปได้ทั้งหมดในโรงงาน หรืออาคารที่เราติดตั้งระบบโซลล่าเซลล์

โดยธรรมชาติของโหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า จะดึงไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายที่ใกล้ที่สุดมาใช้งานก่อน ในที่นี้จะดึงไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มาใช้ก่อน หากไม่เพียงพอ โหลดก็จะไปดึงไฟจาก กฟน./กฟภ. มาชดเชยโดยอัตโนมัติ

แต่หากบางช่วงเวลาในจุดนั้นๆไม่ได้ใช้งานหรือไม่ใช้ไฟฟ้า แต่ระบบโซล่าเซลล์ยังผลิตกระแสไฟฟ้าได้อยู่ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะไหลไปยังจุดอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงถัดๆไปนำไปใช้งานจนหมด

ซึ่งก็เป็นคำตอบว่าทำไมเราจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าให้รองรับเฉพาะบางโซนไม่ได้ และก็เป็นคำตอบว่าทำให้เราประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างไร เนื่องจากเราจะเสียค่าไฟฟ้าเฉพาะในช่วงที่เราดึงกระแสไฟฟ้าจาก กฟน./กฟภ. มาใช้งานชดเชยเท่านั้น

จากรูปต่อมาด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงการไหลของกระแสไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ แบบออนกริด (Solar Rooftop) และไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายฯ (กฟน./กฟภ.) เมื่อเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายฯแล้ว โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าจะดึงไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ มาใช้ก่อน ในช่วงเวลากลางวันหรือในช่วงเวลาที่โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้ หากไม่เพียงพอ โหลดก็จะไปดึงไฟจาก กฟน./กฟภ. มาชดเชยโดยอัตโนมัติ