วิศวกร หรือช่างเทคนิคในโรงงาน อาจจะกังวลหรือเกิดคำถาม อยู่ในใจหลายอย่าง ว่าหากติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าแล้ว จะมีผลกระทบกับระบบไฟฟ้าหรือเครื่องจักรในโรงงานหรือไม่? ทีมงานจึงขอรวมคำถามและคำตอบ ดังนี้
1. Q. ต้องติดตั้งโดยใช้แบตเตอรี่หรือไม่?
A. ไม่ต้อง เพราะเราติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด คือเชื่อมกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ โหลดในโรงงานจะดึงไฟจากแหล่งจ่ายไฟที่ใกล้ที่สุดก่อนซึ่งก็คือ จากระบบโซล่าเซลล์ หากไม่พอจ่ายให้โหลด ก็จะไปดึงจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯโดยอัตโนมัติ
2. Q. จะติดตั้งโซล่าเซลล์ก่อนเฉพาะบางโซนก่อนได้ไหม เช่นโซนอ๊อฟิสมีแอร์ 22,000btu, คอมพิวเตอร์10เครื่อง,หลอดไฟ50หลอด...?
A. ได้ แต่เราไม่ต้องไปคำนวณโหลด ให้ยุ่งยากซับซ้อนครับ เนื่องจากส่วนใหญ่ในโรงงานก็จะมีมิเตอร์ของการไฟฟ้าแค่ 1 มิเตอร์เท่านั้น ไม่ได้แยกมิเตอร์เพื่อจ่ายค่าไฟแต่ละโซนของโรงงาน ดังนั้นเมื่อเราติดตั้งระบบโซล่าเซล์แล้ว ค่าไฟฟ้าก็จะลดลงในภาพรวมของทั้งโรงงานเลย ไม่ได้ลดค่าไฟเฉพาะโซน
ยกเว้นที่บางโรงงานจะแยกมิเตอร์แต่ละโซนอยู่แล้ว หากเราเชื่อมต่อกับ Main Breakerโซนนั้น โหลดของโซนนั้นก็จะดึงไฟจากระบบโซล่าเซลล์ก่อน ก็จะทำให้เห็นว่าโซนนั้นใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯลดลงเพราะไปดึงจากระบบโซล่าเซลล์มาใช้ก่อน แต่หากว่าโซนนั้นหยุดการใช้ไฟฟ้า เช่น โซนอ๊อฟฟิสหยุดวันเสาร์ อาทิตย์ ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ ก็จะใหลเข้าโซนถัดๆไปเช่นในไลน์ผลิตของโรงงานของเราเอง ซึ่งค่าไฟฟ้าในภาพรวมของโรงงานเราก็ลดลงเช่นกัน แต่หากว่าในไลน์ผลิตเราก็หยุดผลิตเช่นกัน ไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ของเราก็จะใหลคืนไปเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ เพื่อส่งต่อไปยังผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น โดยที่เราไม่ได้ค่าไฟฟ้ากลับคืนมาแต่อย่างใดเลย
***ธรรมชาติของระบบไฟฟ้า คือโหลดจะดึงกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายที่ใกล้ที่สุดก่อน ในที่นี้ก็จะไปดึงมาจากระบบโซล่าเซลล์ก่อน หากไม่เพียงพอจึงไปดึงไฟจากแหล่งจ่ายไฟถัดๆไป ก็คือระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านั่นเองครับ
3. Q. คุณภาพกระแสไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์ ติดแล้วอาจทำให้เครื่องจักรในโรงงานมีปัญหาหรือไม่?
A. ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ากระแสไฟฟ้าที่ได้จากโซล่าเซลล์ เป็นไฟฟ้า DC แล้วมาต่อผ่านเข้าอุปกรณ์ กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วนำมาเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ซึ่งอุปกรณ์กริดไทร์ อินเวอร์ นี้จะต้องผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดสำหรับอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าประเภทเชื่อมต่อกับโครงข่ายของการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ สามารถคลิกดู รายชื่ออินเวอร์เตอร์ผ่านการทดสอบฯ จาก กฟน. และ รายชื่ออินเวอร์เตอร์ผ่านการทดสอบฯ จาก กฟภ.
สำหรับข้อกำหนดหลักๆ ของการทดสอบอินเวอร์เตอร์ ของทั้ง กฟน. และ กฟภ. มีดังนี้
(1) ฮาร์มอนิก (Harmonics)
(2) แรงดันกระเพื่อม(Voltage Fluctuation)
(3) การจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง (DC injection)
(4) การควบคุมกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ (Reactive Power control) และวิธีการควบคุมกำลังไฟฟ้ารีแอคทีฟ
(5) การควบคุมกำลังไฟฟ้า (Active power control)
(6) ความสามารถในการทนต่อสภาวะแรงดันต่ำชั่วขณะ (Low voltage fault ride through)
(7) การป้องกันแรงดันต่ำและแรงดันเกิน (Under/Over voltage protection)
(8) การป้องกันความถี่ต่ำและความถี่เกิน (Under/Over frequency protection)
(9) การป้องกันการจ่ายไฟแบบระบบไฟฟ้าแยกโดด (Anti-Islanding)
(10)การเชื่อมต่อกลับคืนเข้าสู่ระบบโครงข่าย (Response to utility recovery)
สามารถคลิกดู ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟน. และ ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ.
ในเบื้องต้นจึงมั่นใจในระดับหนึ่งว่า อินเวอร์เตอร์ที่ผ่านการทดสอบฯแล้ว คุณภาพของกระแสไฟฟ้า ที่ได้จากโซล่าเซลล์ มีคุณภาพเทียบเท่า จากกระแสไฟฟ้าที่มาจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ทั้งนี้หากจะให้มั่นใจได้ยิ่งขึ้นไปอีก ก็ควรจะเลือกอินเวอร์เตอร์ ยี่ห้อที่มีมาตรฐานสากล และมีบริการหลังการขายที่ดี เพื่อให้มั่นใจในการที่จะต้องมีการใช้งานในระยะยาวๆ นับสิบปี ทั้งนี้ในรายละเอียดทางเทคนิคลึกๆของการทดสอบ จะขอไปกล่าวถึงในหัวข้อของอินเวอร์เตอร์ ต่อไปในโอกาสหน้า
4. Q. หลังคาโรงงานหรือบ้าน รับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ ได้หรือไม่?
A.