fbpx

     ในตอนนี้จะกล่าวถึงเงื่อนไขในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ในเขตของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยเป็นกรณีสถานที่ติดตั้งนั้น มีการเชื่อมต่อ ที่แรงดัน 12 kv. หรือมีการติดตั้งตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า นั่นเอง (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ที่เป็นแบบบริษัท หรือโรงงาน)

      จากรูป Diagram จะเห็นว่าเราติดตั้งทั้ง Relay Protection (เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขขนานไฟฟ้า ของการไฟฟ้า ) และ ติดตั้ง Zero Export เพื่ออำนวยความสะดวก Owner เพื่อจะได้ไม่มีไฟไหลย้อนจนทำให้ Main Breaker Solar โดนสั่งTrip 

      แต่ กฟน. มีระเบียบ หรือเงื่อนไข ให้เราเลือกติดตั้ง อย่างใด อย่างหนึ่งได้ คลิกอ่านเพิ่มเติม ตามไปดูกันเลย

 

ต้องทำความเข้าใจ หลักการทำงานของ Relay Protection และ Zero Export ก่อนจึงจะไปต่อเรื่องกฏระเบียบของ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

ซึ่งขอให้กลับไปอ่าน Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์ EP1 ,  Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์ EP2Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์ EP3 ให้เข้าใจถ่องแท้ก่อน แล้วค่อยมาต่อ EP4 นี้ครับ

 กฟน. มีเงื่อนไขในการติดตั้ง Relay Protection และ Zero Export กล่าวคือ...

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน กรณีเชื่อมต่อกับระบบ กฟน. ที่ระดับแรงดัน 12 kV ขึ้นไปจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดยสามารถเลือกยื่นเอกสาร >>> Zero Export Controller หรือ Reverse Power Relay เลือกยื่นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง

    1. หากใช้ Zero Export Controller ต้องเพิ่มเติมเอกสาร โดยแยกแต่ละหมายเลขเครื่องวัด ดังนี้ ( ดูข้อมูลการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้า กฟน. )
- กรอกแบบแจ้งความประสงค์ขอใช้งาน Zero Export Controller >>> แบบแจ้งความประสงค์ในการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟน. (กรณีใช้อุปกรณ์ Zero Export Controller) โดย Zero Export Controller ต้องผ่านการทดสอบ หรือขึ้น List ของ กฟน. >>> รายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller) 8 ม.ค. 64
- Datasheet สเปคของอุปกรณ์ Zero Export Controller
- Datasheet สเปคของ Current Transformer
โดยต้องกรอกข้อมูลให้ตรงตาม list ของ กฟน. เช่น ลำดับที่ 23 จะต้องใช้อุปกรณ์และยี่ห้อ Inverter ตาม list ในบรรทัดเดียวกัน ไม่สามารถใช้งานข้ามหัวข้อได้
ยกตัวอย่างเช่น การใช้งาน Inverter SE10K และ SE27.6K (ติดตั้งที่เดียวกันแต่ติด 2 ขนาด) ยังไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Zero Export Controller รุ่นเดียวกันได้
หากจะใช้ Zero Export Controller รุ่นเดียวกัน จะต้องติดต่อที่ กองพัฒนาระบบไฟฟ้า ฝ่ายวิจัยและพัฒนา การไฟฟ้านครหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-348-5000 ต่อ 2817 เพื่อขอขึ้นทะเบียบอุปกรณ์ Zero Export Controller

หรือ
    2. หากเลือกยื่นเอกสาร Reverse Power Relay (32) ต้องเพิ่มเติมเอกสาร ดังนี้
- Datasheet สเปคของอุปกรณ์ Reverse Power Relay (32) โดย Reverse Power Relay (32)
- เพิ่ม Reverse Power Relay (32) ใน Single Line Diagram
- Schematic Diagram
- CT & VT Calculation
- Relay Setting Table: Data Sheet โดยต้อง set up config ใน Software โดยใช้ Software แล้ว Export Relay Setting ออกมาในรูปแบบ Data Sheet
- Relay Setting Calculation โดยต้อง setting ดังนี้
ไม่เกิน 5% of Transformer Rated
ไม่เกิน 10% of PV System installed Capacity
ซึ่งจะต้องเปรียบเทียบ 2 ค่านี้ ค่าใดต่ำกว่า ให้ Set เป็นค่า Reverse Power ต่ำที่สุดที่จะยอมให้ไหลย้อน
(ตัวอย่างเอกสาร: https://drive.google.com/drive/folders/1CKPEB9CnEIeuYuYuN8t_SkXWEBuW0iRR?usp=sharing)

 

>>> โซล่าฮับ สรุปให้ว่า หากที่บริษัท หรือโรงงาน ที่มีการขอใช้ไฟฟ้าที่มีหม้อแปลงของตัวเอง แล้วขอติดตั้งโซล่าเซลล์ สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์ เฉพาะ Zero Export ก็ได้ แต่ Zero Export ต้องผ่านการทดสอบจาก กฟน.ก่อน (ต้องขึ้น List กฟน.) ตามข้อ 1.

หรือ จะเลือกเป็นติดตั้ง Reverse Power Relay (32) ก็ได้ ตามเงื่อนไข ข้อ 2.

ซึ่งส่วนใหญ่ โซล่าฮับ ก็จะเลือกข้อแรกคือเลือกใช้ Zero Export เพราะต้นทุนถูกกว่า แต่ก็ต้องดูด้วยว่า อินเวอร์เตอร์ และ Zero Export ขึ้นList กฟน.แล้ว และต้องยื่น Data Sheet ของ CT ที่นำมาใช้งานด้วย ซึ่งข้อดีของ Zero Export คือหากไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เหลือ ก็ไม่ไหลย้อนกลับ จนไปตัดเมนเบรคเกอร์ของโซล่าเซลล์ ด้วยนะเออ...