4. STC : Standard Testing Conditions คือการทดสอบแผงเซลล์เมื่อได้รับแสงความเข้ม (Irradiance) 1000 W/m² ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ส่วนใหญ่ที่เราดูเอามาใช้เทียบเคียงหรือออกแบบ ก็ใช้แบบนี้ STC ครับ
สมมุติ ตามรูปเป็นสเป็ค ของแผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อ RISEN ขนาด 455 W. ซึ่งก็หมายความว่า ถ้ามีแสงแดด ที่มีความเข้มแสง ที่ 1000 W/m² แผงโซล่าเซลล์ จึงจะผลิตกำลังไฟฟ้าออกมาได้ 455 W. แต่
- ปีแรก เมื่อนำแผงโซล่าเซลล์มาทำการติดตั้ง ประสิทธิภาพจะลดลงประมาณ 2.5% สำหรับปีแรก (ซึ่งเป็นธรรมชาติ ของผลึกคริสตัล ที่นำมาผลิตแผงโซล่าเซลล์) และปีต่อไปจะลดลงประมาณ 0.7-0.8 % ทุกๆปี
- หากนำอุปกรณ์มาติดตั้งแล้ว ต้องนำมาต่อกับอุปกรณ์อื่นๆประกอบ เพื่อนำมาใช้งาน เช่่น อินเวอร์เตอร์ , สายไฟฟ้า , คอนเน็คเตอร์ ...
ซึ่งก็ต้องมีค่าสูญเสียเพิ่ม มีผลให้ประสิทธิภาพลดลงไปอีก
- ความเข้มแสงในประเทศไทย ที่จะมีปริมาณ เท่ากับหรือ มากกว่า 1000 W/m² ก็จะอยู่ในช่วงเวลา ประมาณ เที่ยง ถึง บ่ายโมง ซึ่งช่วงเช้า หรือเย็นๆ ก็จะลดหลั่นกันไปตามความเข้มแสง
- อีกทั้งความเข้มแสง 1000 W/m² ไม่ได้มีทุกวัน มีเป็นบางวันและบางฤดูกาลเท่านั้น
- ประกอบกับในประเทศไทย หากมีความเข้มแสงที่ 1,000 W/m² อุณหภูมิ สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และก็เป็นผลให้ ประสิทธิภาพลดต่ำลงไปอีก (ข้อนี้คอยติดตามเรื่องเกี่ยวกับ Temperature Coefficient) เพราะอุณหภูมิสูง ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง มันสวนทางกับความเข้มแสง
* และนี่ก็เป็นคำตอบว่า ทำไมๆติดตั้ง ขนาดเท่านี้แล้ว เมื่อมาดูระบบมอนิเตอร์แล้วไม่ได้กำลังวัตต์ ตามที่ติดตั้ง
>>> อันเนื่องจากขนาดกำลังไฟฟ้า ของแผงโซล่าเซลล์ นั้นเค้าทดสอบในห้องทดลอง แล้ว บังคับให้มีความเข้มแสง 1000 W/m² ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่พอมาติดตั้งจริง มีปัจจัยอย่างอื่นอีกมากมาย ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เหมือนกับที่เค้าทำในห้องทดสอบ<<<
=================================================
5. NOCT : Nominal Operating Cell Temperature คือการทดสอบและวัดค่าที่ความเข้มแสง 800 w/m² อุณหภูมิปกติ 20 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 1 เมตร/วินาที และ ติดตั้งเมาท์ติ้งแบบเปิดโล่ง
ทำไมต้องมีการวัดแบบ NOCT ก็ในเมื่อมี STC แล้ว
เดาล้วนๆ >>> มีหน่วยวัด เมตร หรือ เมตริก แล้ว ก็ยั้งจะมี หน่วยวัดเป็น นิ้ว เป็นฟุต ให้งง เข้าไปอีก
ก็เพราะ คนสร้างหน่วยวัด เค้าเป็นคนละโซน ซึ่งตอนนี้อเมริกา ก็ยังไม่ใช้หน่วยวัดเป็น เมตร เป็นเซนติเมตร ยังคงใช้หน่วยเป็นนิ้ว เป็น ฟุต จวบจนปัจจุบัน
ฉันใด ก็ฉันเพล..เอ๊ย ฉันใด ก็ฉันนั้น STC และ NOCT ก็คงเฉกเช่นเดียวกัน ที่อีกโซนหนึ่งบอกว่า การทดสอบ STC เป็นการทดสอบในห้องแล๊ป มาติดตั้งจริงไม่เห็นเป็นอย่างนั้นซักกะหน่อย
งั้นเรามาตั้งมาตรฐาน ให้คล้าย หรือเทียบเท่าการติดตั้งจริงดีฝ่า ก็เลยเกิดเป็นคอนเซ็ป NOCT ทดสอบที่ความเข้มแสง 800 w/m² อุณหภูมิปกติ 20 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 1 เมตร/วินาที และ ติดตั้งเมาท์ติ้งแบบเปิดโล่ง นั่นเอง
ซึ่งการทดสอบ แบบ NOCT ก็ค่อนข้างจะโหดกว่า เพราะค่ากำลังไฟฟ้าที่ได้ จะน้อยกว่า ทดสอบแบบ STC