fbpx

ว่าด้วยเรื่อง PR : Performance Ratio และการรับประกันหน่วยผลิตพลังงานไฟฟ้า

จั่วหัว เป็น Relay Protection กับ Zero Export แต่ไหงขึ้นต้น กลายมาเป็นเรื่อง PR และการรับประกันหน่วยผลิตได้ยังไง? อ่าาาา...งงล่ะซิ  ขยับเข้ามาใกล้ๆ เดี๊ยวจะเล่าให้ฟัง....

ก่อนจะเข้าเรื่อง ต้องรู้ที่มาที่ไปก่อนว่า เมื่อ 10-20 ปี ก่อนโน้น (สมัยพระเจ้าเหา ขี่เต่าไล่แลน) ทั้งในประเทศไทย หรือต่างประเทศทั่วโลก การติดตั้งโซล่าเซลล์ ส่วนใหญ่ จะเป็นการติดตั้งบนพื้นดิน (แล้วเราก็เรียกว่าเป็น โซล่าฟาร์ม : Solar Farm) ที่เป็นการติดตั้งแบบออนกริดนั้น จะเป็นการติดตั้งแบบขายไฟฟ้า

  กล่าวคือรัฐบาลจะสนับสนุน หรือกระตุ้น ให้มีคนลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ กันเยอะๆ เพื่อราคาอุปกรณ์หรือระบบโซล่าเซลล์ จะได้ถูกลง ซึ่งการสนับสนุนของภาครัฐ ก็คือการเพิ่มค่าไฟฟ้า ให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ที่เราเรียกกันว่าค่า Adder นั่นเอง ซึ่งของเมื่องไทยของเรา เมื่อ 10 กว่าปีก่อนโน้น คนที่ได้ใบอนุญาตขายไฟ ก็จะได้ค่าไฟหน่วยละ 10 กว่าบาท เลยนะ ทั้งๆที่ค่าไฟฟ้าเราจ่ายให้การไฟฟ้าฯแค่ 3บาทกว่าแค่นั้นเอง (โอ้โห้ว...ไม่ต้องตาลุก เค้าจองกฐิน กันไว้ก่อนหน้าแล้ว555 อ่ะล้อเล่ง) 

♠ ซึ่งต่อๆมา ตามกาละเวลา ค่า Adder ก็ลดต่ำลงมาเรื่อยๆ จนล่าสุด 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าไฟฟ้า จากโซล่าเซลล์ ที่ขายให้รัฐ ก็เหลือประมาณ 4บาทต้นๆ (แต่ต้องทำในรูปแบบของ สหกรณ์เท่านั้น ) 

อ่ะ คร่าเวลานิด เรามาดูรูปหน่อย จะได้มองภาพออกขึ้นอีกนิดนุง

ทำไมต้องมาพล่ำ อะไร ไม่เห็นจะเกี่ยวอะไร กับ PR  Relay Zero Export  รับประกันหน่วยผลิต เลยสักกะนิด ? 

     >>> ก็เพื่อจะสื่อให้เข้าใจว่า ที่ผ่านมาการติดตั้งโซล่าเซลล์แบบออนกริด เป็นการติดตั้งแบบขายไฟฟ้า ให้กับการไฟฟ้าฯ ซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่า เมื่อมีแสงแดดมากระทบแผงโซล่าเซลล์ แล้วผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้เท่าไหร่ ก็ขนานไฟเข้ากับระบบจำหน่าย หรือโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ ทั้งหมด โดยจะมีมิเตอร์คอยตรวจวัดว่า ได้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้เป็นจำนวนเท่าใด แล้วเอาค่าที่พลังงานไฟฟ้า ที่มิเตอร์ วัดได้ มารับเงินจากการไฟฟ้า นั่นเอง ดังนั้นเมื่อเราผลิตได้เท่าไหร่ เราก็ส่งออกพลังงานไฟฟ้า ขายให้กับการไฟฟ้าฯ ทั้งหมด โดยไม่ต้องมีระบบ Relay Protection (อันนี้พูดถึงเฉพาะ กระแสย้อนกลับ Code 32 นะครับ) หรือไม่ต้องมีระบบกันย้อน นั่นเอง

     >>> ดังนั้น ตรงนี้นี่เอง ที่ผู้ลงทุน กลัวว่าจ้างคนติดตั้งแล้วใช้ของไม่ดี จึงต้องกำหนดว่า ผู้รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ต้องรับประกัน การผลิตว่าเมื่อติดตั้งฯแล้วต้องได้ จำนวนหน่วยไฟฟ้าเท่าใด ในรอบ 1 ปี นั่นเอง จึงได้กำหนดตามทฤษฎี ว่าต้องได้ค่า PR หรือ Performance Ratio ไม่ต่ำกว่า  80 % ไรงี้เป็นต้น (แต่ในทางปฏิบัติ Rooftop จะบอกว่า 76% ก็เต็มกลืนแล้วสำหรับในเมืองไทย) หรืออีกแนวหนึ่ง อาจกำหนดว่า ในรอบ 1 ปี ถ้าติดตั้งขนาด 1 MW. ต้องผลิตไฟฟ้า ได้ไม่น้อยกว่า 1,300,000 หน่วย เป็นต้น

        * สำหรับเรื่อง Performance Ratio ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายสูตร พร้อมที่มา ที่ไป อีกต่างหาก เพราะมันลึกซึ้ง ซับซ้อน ซ่อนเงี่ยน ครับ *

     >>> ไคล์แมกซ์ อยู่กรงนี้ >>> เพราะในปัจจุบันนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่.......เพราะส่วนใหญ่เราติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ใช้เองในโรงงานของเรา เพื่อลดค่าไฟฟ้า นั่นเอง ซึ่งมีกฏระเบียบ ของการไฟฟ้าฯ ว่าเมื่อผลิตไฟฟ้าแล้ว ห้ามมีกระแสไหลย้อนกลับไปยัง โครงข่ายของการไฟฟ้าฯ ดังนั้น ผู้รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ (เรียกให้หล่อๆ หน่อย ก็ EPC นั่นแหละ) ก็ต้องติดตั้ง Relay และ Zero Export นั่นเอง เพื่อให้เป้นไปตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วใน EP1 และ EP2 นั่นแหละ

♦ การประกันหน่วยผลิต ก็คือการการันตี ว่าผู้รับเหมา ได้

   - ออกแบบติดตั้งดี ทำให้ได้กำลังไฟฟ้าสูงสุด
   - ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ดี มีมาตรฐาน (แผง,อินเวอร์เตอร์,สายไฟ,คอนเน็คเตอร์,อุปกรณ์ป้องกัน...)
   - ติดตั้งดี มีมาตรฐาน ทำให้มีค่าสูญเสียน้อย และมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งระบบต้องอยู่ยาว มากกว่า 20ปี

♦ ดังนั้นหาก วันใดที่
   - โรงงานหยุด ไม่มีการใช้ไฟฟ้า ระบบกันย้อนสั่งให้อินเวอร์เตอร์ หยุดผลิต และหรือหรี่กำลังไฟฟ้าให้พอดีกับโหลดใช้งาน ซึ่งค่าหน่วยไฟฟ้า ก็จะหายไป >>> ในจุดนี้ไม่ใช่ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ติดตั้ง < ถ้าโยนภาระให้กับ EPC ผมว่ามันไม่แฟร์ เพราะเราผลิตได้ แต่โรงงานไม่เอาไปใช้เองนะ เพราะต้องหรี่ตามระเบียบฯของการไฟฟ้า >

   - ตอนเที่ยง โรงงานใช้ไฟฟ้าน้อยลง เพระพนักงานพักเที่ยง (แต่แสงแดดมาก ผลิตได้ดีสุด) จนไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เหลือ ระบบกันย้อนสั่งให้อินเวอร์เตอร์ หยุดหรือหรี่กำลังการผลิตลง ค่าหน่วยไฟฟ้า ก็จะหายไป ในบางช่วงเวลา อาจจะ 10 ,20 ,30 40,50 นาที.... เป็นต้น
ซึ่งก็เป็นการยากว่า จะหักลบหน่วยไฟฟ้า ที่หายไป เป็นจำนวนเท่าใด จากการที่โรงงานไม่ใช้ไฟฟ้าเอง

   - บางช่วงเวลา ที่โรงงาน มีออร์เดอร์น้อยลง ทำให้ใช้ไฟฟ้าน้อยลง จนไฟฟ้าเหลือ ซึ่งก็ต้อง มาตกลงกัน ระหว่างผู้ติดตั้งโซล่าเซลล์ กับ โรงงานว่า ควรจะหักค่าหน่วยผลิต ออกไปเท่าใด เพราะโซล่าเซลล์สามารถผลิตได้ แต่โรงงานไม่นำมาใช้ จนทำให้ระบบกันย้อน หรี่กำลังการผลิต

* อันนี้ ผมกำลังอธิบายว่า ที่ผู้รับเหมารับประกันกำลังการผลิต ในการติดตั้งแบบออนกริด เพื่อใช้เองในโรงงาน Solar Rooftop for Self Conโดย ไม่ได้คำนึงถึงผล ที่ตามมาก็เป็นปัญหาถึงขั้นฟ้องร้องกัน มาจนทุกวันนี้หลายรายครับ (เพราะตอนก่อนการติดตั้งผู้รับเหมา ยอมทุกอย่างเพื่อให้ได้งานมาครับ แต่พอปฏิบัติจริงก็เกิดปัญหา ดังที่ได้กล่าวมาครับ)


** การรับประกันหน่วยผลิต หรือรับประกัน PR ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องการขายไฟฟ้า ( ไม่ใช่ผลิตเพื่อใช้เองในโรงงาน Solar Rooftop for Self Consumption ) ซึ่งก็จะไม่มีระบบกันย้อน หรือระบบหรี่กำลังการผลิต (Zero Export) โดยโซล่าเซลลผลิตได้เท่าใด ก็นับเป็นหน่วยไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ต้องถกเถียงเรื่อง ว่าผลิตแล้วไม่ใช้ หรือระบบหรี่กำลังการผลิตไปเท่าใด?  ครับ

 สามารถ อ่าน (EP4) Relay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์  เงื่อนไขในการติดตั้งโซล่าเซลล์ ในเขตของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยเป็นสถานที่ติดตั้งนั้น มีการเชื่อมต่อ ที่แรงดัน 12 kv. หรือมีการติดตั้งตั้งหม้อแปลงไฟฟ้า นั่นเอง (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ที่เป็นแบบบริษัท หรือโรงงาน)