fbpx

 Zero Export

       ♠ จากที่ได้กล่าวถึง Relay Protection ใน EP1 คราวนี้ก็มาถึงคิวของZero Export หรือตัวหรี่ ของอินเวอร์เตอร์ จึงเป็นอุปกรณ์ ที่แก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ( Relay Protection ตรวจจับกระแสไหลย้อนกลับ แล้วสั่งตัดที่เมนเบรกเกอร์ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์ ) ทางผู้ผลิตอินเวอร์เตอร์จึงได้ผลิตอุปกรณ์ ตรวจวัดการใช้งานของโหลดรวมภายในโรงงาน (ลูกค้า) ซึ่งแต่ละแบรนด์ อาจเรียกชื่อต่างกัน เช่น Smart Sensor, Energy Meter , Smart Logger , Watt Node … เป็นต้น แต่สรุปรวมคือ ฟังก์ชั่น Zero Export ย้อนกลับต้องเป็นศูนย์ หรือตัวหรี่กำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ ให้เป็นไปตามสภาวะการใช้ไฟฟ้า ของโหลดรวมภายในโรงงานในช่วงขณะเวลานั้นๆ

 

รูปที่2. แสดงการคล้อง CT ที่แรงต่ำ แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้า ที่ได้ไปยัง Relay และ Zero Export

 

รูปที่3. แสดงการคล้อง CT ที่แรงสูง แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้า ที่ได้ไปยัง Relay และ Zero Export

         จากรูปที่ 2 และ 3 แสดงไดอะแกรม การติดตั้ง Relay Protection , PQ Meter , Zero Export และการคล้อง CT สำหรับแรงต่ำ และแรงสูง ตามลำดับ

           ยกตัวอย่าง กรณีที่โรงงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ โดยออกแบบตามการใช้ปริมาณไฟฟ้าที่เหมาะสมของโรงงานในเวลาปกติแล้ว แต่ทางโรงงานจัดเวลาพักกลางวันให้กับพนักงานในเวลา 12.00 - 13.00 น. พร้อมกันทุกแผนก จึงมีการปิดระบบเครื่องจักรทั้งหมด ยกเว้นระบบเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโรงงานต่ำลง (สมมติเหลือใช้งานเพียง 100 กิโลวัตต์) จึงสวนทางกับปริมาณการผลิตไฟฟ้าของระบบโซล่าเซลล์ (ช่วงเวลาดังกล่าวอาจผลิตได้สูงถึง 400 กิโลวัตต์) กรณีเช่นนี้อุปกรณ์ Zero Export ก็จะทำการลดทอนกำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ ลง เหลือ 100 กิโลวัตต์ อุปกรณ์ CT ของ Relay Protection ก็จะตรวจไม่เจอกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้า (Grid) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า >>> ซึ่งก็เป็นผลให้ Relay ไม่ต้องสั่งตัดเมนเบรคเกอร์

         จากข้อกำหนดของการไฟฟ้า เรื่องต้องไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลย้อนกลับไปยังโครงข่ายของการไฟฟ้า (Grid) จะเห็นได้ว่าแม้ทางผู้ออกแบบขนาดกำลังผลิตของระบบโซล่าเซลล์ไว้เหมาะสมเพียงใด ก็ไม่สามารถควบคุม ฟังก์ชั่น Zero Export หรือตัวหรี่ประสิทธิภาพการทำงานของอินเวอร์เตอร์ ไม่ให้ทำงานได้ เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟ (ลูกค้า) แต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกัน ในแต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้า, ประเภทเครื่องจักร, ระยะเวลาการใช้ไฟ, ชั่วโมงการใช้ไฟ, วันหยุดของหน่วยงาน หรือแม้แต่พฤติกรรมการใช้ไฟของพนักงาน

 

โปรดติดตามตอนต่อไป ว่าด้วยเรื่องของRelay Protection และ Zero Export สำหรับระบบโซล่าเซลล์ EP3 >>> การรับประกันหน่วยผลิต มันมาเกี่ยวข้องกับ Relay และ Zero Export ได้อย่างไร?