มาดูกันว่า SolarHub Team มีอะไรที่เป็นจุดเด่น ที่ท่านวางใจได้ในเรื่องการติดตั้งโซล่าเซลล์ สำหรับสำนักงาน หรืองโรงงาน
♦ โทรปรึกษา สายตรง Technical Support 0851381636 ♦
งานโครงการ หรืองานติดตั้งขนาดใหญ่ Commercial & Industrial ( C & I ) วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการติดตั้งของทีมงานโซล่าฮับ จะคำนึงถึงการใช้งานที่ยาวนาน เกิน 20 ปี เพื่อลดการแก้ไขเหตุเสีย และง่ายในการบำรุงรักษา ซึ่งก็เป็นผลให้ระบบโซล่าเซลล์ ที่ติดตั้งให้ลูกค้าใช้งานได้คงทน ยาวนาน พร้อมประสิทธิภาพสูงสุด ตามไปด้วย
การติดตั้งโซล่าเซลล์ สไตล์ โซล่าฮับ มีรายละเอียดกรรมวิธีการติดตั้งเยอะมาก ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้ จึงได้ทำเป็น VDO กระบวนการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาโครงการขนาดใหญ่ สไตล์โซล่าฮับ และหากผู้ประกอบการกำลังมองหาผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบเน้นคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย ทางโซล่าฮับ ยินดีเข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยรบกวนกรอก แบบฟอร์มข้อมูลแจ้งความประสงค์ ให้ทีมงานโซล่าฮับ ติดต่อกลับ โดยทีมงานจะประสานงานกลับโดยเร็ว และหรือโทร.สายตรง Engineering and Technical Support Tel.0851381636
สำหรับเนื้อหาด้านล่าง จะกล่าวถึงวัสดุอุปกรณ์ ที่นำมาใช้ติดตั้งงานโครงการขนาดใหญ่ * บางส่วนก็นำไปใช้ในงานบ้านพักอาศัย เพื่อความเหมาะสมและคงทนถาวร *
ดูข้อมูลแบบย่อ >>> วัสดุ อุปกรณ์ และการรับประกัน พร้อมจุดเด่นสำคัญ ที่ติดตั้งโดยทีมโซล่าฮับ
วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้
1. แผงโซล่าเซลล์ จะเลือกเฉพาะ ยี่ห้อที่อยู่ใน Tier1 (Tier1 คืออะไร คลิกเลย) ของปีล่าสุด อีกทั้งจะจัดซื้อผ่านทาง Dealer ที่มีความน่าเชื่อถือ เชื่อใจ ที่ทำมาค้าขายกันมาอย่างยาวนาน เพื่อ >>> มั่นใจได้ว่าหากแผงโซล่าเซลล์ ที่นำมาติดตั้ง มีปัญหาในกระบวนการผลิต หรือผลิตไม่ได้ตามที่เคลมไว้ใน Data Sheet
เราทีมงานโซล่าฮับ จะได้ตรวจสอบและเคลม สินค้าได้อย่างไม่มีปัญหา หรือข้ออ้างที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการเคลมสินค้า
และอีกอย่างนึงคือ วัสดุ โครงหรือเฟรมของแผงโซล่าเซลล์ ก็เป็นปัจจัยที่เราเลือกใช้ เพราะบางแบรนด์ อยู่ใน Tier1 ก็จริง แต่พอนำมาใช้แล้ว โครงหรือเฟรมอ่อนเกินไป ก็มีผลให้เมื่อติดตั้งแล้ว ทำให้ช่วงกลางของแผงแอ่น เป็นท้องช้าง ฝนตกลงมา น้ำขังตรงกลาง ซึ่งก็มีผลเสียอื่นๆตามมาอีกหลายประการ ( แล้วค่อยขยายความของผลเสีย ข้อนี้)
ดังรูปก็จะเป็นตัวอย่างยี่ห้อที่ทางโซล่าฮับใช้อยู่ ซึ่งก็เปลี่ยนไปตามช่วงเวลานั้นๆ ที่มีสินค้าจำหน่ายอยู่ในตลาด *** ทั้งนี้ยี่ห้ออื่นๆ ก็อาจเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ แต่เราอาจยังไม่ได้ลองใช้ ก็เป้นได้ ***
2. อินเวอร์เตอร์ หลักๆ งาน C&I ก็จะเลือกใช้ อยู่ 3 ยี่ห้อ ประกอบด้วย
2.1 Huawei Inverter งานส่วนใหญ่ของทีมโซล่าฮับ จะใช้ Huawei เนื่องจากคุณภาพ ราคา และ มีทีมซัพพอร์ท หลังการขายที่ค่อนข้างพร้อม อีกทั้งทนทาน จากที่ใช้งานมาหลายปี มีการเคลมตัวอินเวอร์เตอร์น้อยมาก ไม่ถึง 0.1% การติดตั้งและ Commissioning ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน
* ปัจจุบันหากอินเวอร์เตอร์ ขนาดตั้งแต่ 200 kW. ขึ้นไป พพ.บังคับต้องติดตั้ง Rapid Shutdown ซึ่ง Huawei ก็มี Power Optimizer ใช้งานด้วย ซึ่งสามารถนำมาใช้งานแล้วครอบคลุมฟังก์ชั่น Rapid Shutdown
2.2 SolarEdge Inverter ยี่ห้อ SolarEdge เป็นจ้าวแรกที่ออกผลิตภัณฑ์ อินเวอร์เตอร์ ที่ต้องใส่ Power Optimizer เพื่อลดข้อด้อยของ String Inverter ทั่วไปในกรณีที่แผงบางส่วนมีเงาบัง อีกทั้งขณะนี้ หากมีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ ขนาดตั้งแต่ 200 kW. ขึ้นไป พพ.บังคับต้องติดตั้ง Rapid Shutdown
ซึ่งเมื่อเพิ่มเติมอุปกรณ์ Power Optimizer แล้ว ก็จะมีค่าการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทาง Owner ก็ต้องพิจารณา ว่าจะใช้แบบมี Optimizer หรือไม่มี Optimizer คุ้มค่าหรือไม่อย่างไร สามารถดูข้อดี ของการติดตั้ง Power Optimizer ที่นี่ >>> ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge
ทีมโซล่าฮับ ก็มีใช้ของ SolarEdge ก็มีนำไปติดตั้งให้ลูกค้าแล้วหลายสิบแห่ง ซึ่งประสิทธิภาพ ก็ดีเยี่ยม แต่ก็ต้องแลกด้วยราคาที่สูงขึ้นหน่อยนึง
* ปัจจุบันหากอินเวอร์เตอร์ ขนาดตั้งแต่ 200 kW. ขึ้นไป พพ.บังคับต้องติดตั้ง Rapid Shutdown ซึ่ง SolarEdge มี Power Optimizer ใช้งานด้วย ซึ่งสามารถนำมาใช้งานแล้วครอบคลุมฟังก์ชั่น Rapid Shutdown
2.3 Sungrow Inverter ยี่ห้อ Sungrow ที่ประเทศจีน เค้าจะมีจุดเด่น ดัง เกี่ยวกับ ระบบโซล่าเซลล์ที่มีแบตเตอรี่ ร่วมด้วย และเป็นระบบที่ใหญ่ๆ เชื่อต่อกับระบบ Utility หรือระบบที่ใช้กับระบบกริด ของการไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งในเมืองไทย ช่วงแรกๆ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ของ Sungrow ก็จะมีงานโครงการขนาดใหญ่ ที่การไฟฟ้าฯ ใช้เป็นระบบสาร์ทกริด คือมีโซล่าเซลล์ + แบตเตอรี่ + เจ็นเนอเรเตอร์ ทำงานประสานกัน
ซึ่งช่วงหลังๆมานี้ ทาง Sungrow ก็เริ่มมาทำตลาดงานโรงงาน มากขึ้น ซึ่งทีมโซล่าฮับ เองก็มีนำไปเสนอลูกค้าใช้งานอยู่หลายแห่ง ซึ่งก็มีคุณภาพมาตรฐาน ตามที่ควรจะเป็น
* ปัจจุบันหากอินเวอร์เตอร์ ขนาดตั้งแต่ 200 kW. ขึ้นไป พพ.บังคับต้องติดตั้ง Rapid Shutdown ซึ่ง SolarEdge มี Power Optimizer ใช้งานด้วย ซึ่งสามารถนำมาใช้งานแล้วครอบคลุมฟังก์ชั่น Rapid Shutdown
3. อุปกรณ์จับยึดแผง Mounting ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกิน 6 ปี ที่ทีมงานโซล่าฮับ รักเดียวใจเดียว ใช้ยี่ห้อ RRacks หรือ RedDot เพียงจ้าวเดียวเพราะว่า เคยนอกใจไปใช้ยี่ห้ออื่น แล้วทีมงานไม่ถูกใจ อีกทั้งเมื่อทีมช่างเรานำ Mountingไปใช้งานแล้วเกิดปัญหา เมื่อกลับไปทาง RedDot ก็จะออกแบบ ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้ทีมช่างติดตั้งได้สะดวก และแข็งแรงทนทาน
4. ช่องเดินสายไฟ / รางสายไฟ Raceway
4.1 บนหลังคา ทีมงานโซล่าฮับ ใช้ Perforated Tray ซึ่งเป็นรางสายไฟเหล็กชุบ Hot Dip Galvanized ที่มีฝาปิด โดยด้านล่างมีรู หรือช่องเล็กๆ (หนูเข้าไม่ได้) ไว้สำหรับระบายน้ำ กรณีที่น้ำเข้าราง
* ซึ่งยี่ห้อที่เราใช้ มั่นใจว่า เป็นรางเหล็ก ที่ชุบกัลวาไรซ์ ที่หนา แข็งแรงทนทาน แน่นอน เพราะเราลองมาหลายยี่ห้อ สุดท้ายแล้วที่ผ่านรอบไฟนอล เหลือเพียง 3-4 ยี่ห้อ (แต่ไม่ขอบอก ขอเก็บเป็นความลับก่อน)
4.2 บนหลังคา อีกส่วนหนึ่งที่โซล่าฮับ ใช้คือ ท่อ IMC Conduit หรือท่อร้อยสาย เหล็กชุบ Hot Dip Galvanized ชนิดแข็งปานกลาง ที่ใช้สำหรับภายนอกอาคาร โดยส่วนนี้จะใช้สำหรับใส่หรือร้อย สายสตริง DC เข้ายัง Perforated Tray เพื่อลากไปยังอินเวอร์เตอร์
* ส่วนใหญ่ทั่วๆไป จะใช้เฟล็กซ์กันน้ำ (เมื่อ 5-6ปีก่อน ทีมโซล่าฮับก็ใช้เฟล็กซ์กันน้ำ แต่พบว่าผ่านมาสักระยะนึง เฟล็กซ์แตก สนิมกินสังกะสีด้านใน น้ำเข้าสายภายใน สายก็เสื่อมลง ช็อตลงกราวด์) แล้วเปลี่ยนมาใช้เป็นท่อ IMC ได้ 5 - 6 ปีแล้ว ปัญหากวนใจเลยไม่มีอีกต่อไป
4.3 ในอาคารซึ่งจะมีทั้งสาย DC และสาย AC เราก็ใช้ Tray ที่ถูกต้อง ตรางตามมาตรฐาน วสท.
5. สายไฟฟ้า
5.1 สายไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา ลากลงมาในอาคาร ยังห้องอินเวอร์เตอร์ ใช้ สายไฟฟ้า DC สำหรับโซล่าเซลล์โดยเฉพาะ ตามมาตรฐานทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเราใช้ อยู่ 3 - 4 ยี่ห้อ ที่เป็นแบรนด์จากโซนยุโรป ที่ทนอุณหภูมิำด้ 120 องศา
5.2 สายไฟฟ้า AC เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านอินเวอร์เตอร์ แล้วก็จะแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ AC โดยทางโซล่าฮับ จะใช้สายยี่ห้อ YAZAKI เนื่องจากคุณภาพยอดเยี่ยม และทีมช่างนำมาติดตั้งได้ง่ายเนื่องจากฉนวนไม่แข็ง กระด้างจนดัดยาก
5.3 สายสื่อสาร เช่น สาย RS485 , สายแลน และสาย Fiber Optic เลือกใช้แบรนด์ชั้นนำในท้องตลาด
6. อุปกรณ์ป้องกัน ทางด้าน DC ณ ปัจจุบัน ปี 2568 ในอินเวอร์เตอร์ยี่ห้อที่ค่อนข้างมาตรฐาน จะใส่อุปกรณ์มาครบถ้วนในตัวแล้ว ซึ่งประกอบด้วย DC Surge และ DC Disconnect ดังนั้นจึงไม่ต้องใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมแต่อย่างใด ประกอบกับ มาตรฐาน วสท. ก็ระบุว่า ถ้าอินเวอร์เตอร์ ที่มี 2 Stringต่อ 1 MPPT ก็ไม่ต้องใส่ฟิวส์ ยกเว้นอินเวอร์เตอร์ที่มี มากกว่า 2 Stringต่อ 1 MPPT ในที่นี้คือ ยี่ห้อ SolarEdge ต้องใส่ฟิวส์เพิ่ม
7. อุปกรณ์ป้องกัน ทางด้าน AC
7.1 ณ ปัจจุบัน ปี 2568 ในอินเวอร์เตอร์ยี่ห้อที่ค่อนข้างมาตรฐาน จะใส่อุปกรณ์ AC Surge มาแล้ว แต่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากฝั่ง AC เราต้องไปขนานไฟกับโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ ดังนั้นทางโซล่าฮับ จึงใส่ AC Surge Type II เพื่อป้องกันอีกชั้นนึง
7.2 อย่างที่กล่าวไป ต้องมีการเชื่อมขนานไฟ กับการไฟฟ้าฯ จึงต้องทำตามเงื่อนไขของ กฟน. และ กฟภ. เช่น อุปกรณ์กันย้อน (Zero Export) , อุปกรณ์กันดูด RCCB , MCCB , RCBO , Ground Fault Protect ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมาก และทั้ง 2 หน่วยงาน ข้อกำหนดก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งในส่วนนี้ ทีมงานโซล่าฮับ รับจบแบบ Total Solution ที่ต้องขออใบอนุญาต ใหครบถ้วน จึงต้องติดตั้งอปุกรณื ทุกอย่างตามที่ กฟน. และหรือ กฟภ. กำหนด
8. อุปกรณ์ ตามมาตรฐาน วสท. กำหนดที่ต้องมี Rapid Shutdown และ AFCI
8.1 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กำหนดเมื่อ กรกฎาคม 2565 ว่า ผู้ติดตั้ง Solar Rooftop หรือโซล่าเซลล์ บนหลังคา ขนาดอินเวอร์เตอร์ ตั้งแต่ 200 kW. ต้องติดตั้งอุปกรณ์ Rapid Shutdown
* ที่ผ่านมา ทีมโซล่าฮับ ได้เคยติดอุปกรณ์ Rapid Shutdown แล้ว แต่ก็พบเจอปัญหาหลายอย่างจากอุปกรณ์ดังกล่าว เนื่องจากไม่มีมาตรฐานกำหนดในตัวอุปกรณ์ อีกทั้งติดตั้งยุ่งยาก และเมื่อนำมาติดใช้งานแล้วเกิดปัญหาตามมาอีกหลายประการ ดังนั้นทีมงานจึงสนับสนุน ให้เพิ่มงบประมาณอีกนิดหน่อย แล้วเปลี่ยนเป็น Power Optimizer ซึ่งครอบคลุมฟังก์ชั่น Rapid Shutdown ตามที่ วสท.กำหนด และมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ดีกว่าอีกหลายประการ
8.2 ฟังก์ชั่น Arc Fault Curcuit Interupter : AFCI ทำหน้าที่ตรวจสอบการอาร์คของสาย หรือ จุดที่มีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ จะเตือนก่อน ซึ่งทั้ง 3 ยี่ห้อ (Huawei , SolarEdge , Sungrow ) จะมีฟังก์ชั่น AFCI ในตัวอยู่แล้ว ครบถ้วน ตามที่ วสท. กำหนด
9. PV Connector หรือเรียกกันว่า MC4 เป็นส่วนเล็กๆ ที่สำคัญมากๆ เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อสายไฟ DC จากบนหลังคา ลงมายังตัวอินเวอร์เตอร์ในอาคาร ซึ่งต้องรับแรงดันไฟฟ้าสูงมาก (งานบ้านพักอาศัย 150 - 600 Vdc , งานขนาดใหญ่ 200 - 1,-000 Vdc) อีกทั้งไฟฟ้า DC จะมีการการ์ค สูงมาก หากใช้วัสดุคุณภาพต่ำ จะเป็นต้นเหตุ ของเพลิงไหม้ได้
* ในส่วนของ โซล่าฮับ จะใช้ของ ยี่ห้อ STAUBLI ซึ่งเป็นผูคิดค้นคอนเน็คเตอร์ MC4 ราคาคู่ละ 100กว่าบาท (แต่หากของเลียนแบบ ราคา 20-30 บาท ) ซึ่งมั่นใจในคุณภาพของ STAUBLI ได้
10. ตู้ SMDB : Solar Distribution Board ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ทีมโซล่าฮับ ได้ช่วยกันออกแบบ กับ Supplier ให้บรรจุทั้งเบรคเกอร์ AC (อยู่ส่วนล่าง) และอุปกรณ์ Protection และ Monitoring (อยู่ส่วนบน) อยู่ในตู้เดียวกัน ซึ่งจะทำให้ง่ายในการตรวจสอบ บำรุงรักษาในอนาคต โดยเลือกสรรค์ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี ทุกรายการ อีกทั้ง Supplier ที่ประกอบตู้ก็เป็นจ้าวเดิม ตลอด เนื่องจากเป็นคู่ค้าที่ร่วมพัฒนาคุณภาพ ตู้ SMDB มาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นจึงมั่นใจในคุณภาพได้อนย่างแน่นอน
11. ระบบแสดงผล หรือมอนิเตอร์ริ่ง Monitoring
12. เซ็นเซอร์ วัดความเข้มแสง (Pyranometer) , อุณหภูมิแวดล้อม (Ambient Temperature) และ อุณหภูมิใต้แผง (Module Temperature)
13. อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการบำรุงรักษา
13.1 ทางเดิน : Walkway ปัจจุบันเราใช้ ทางเดินอลูมิเนียม ขนาดกว้าง 30 ซ.ม. แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว แต่ราคาก็จะสูงกว่า เหล็กชุบกัลวาไนซ์ ทั้งนี้หากมีงบประมาณจำกัด หากเรามีการเดินรางสายไฟ ขนาด 20 ซ.ม. อยู่แล้ว เราก็ไม่ต้องติดตั้งทางเดินก็ได้ โดยสามารถเดินบนรางสาบไปสำหรับบำรุงรักษาระบบได้
13.2 สายช่วยชีวิต : Life Line ติดตั้งเพื่อคล้องเซฟตี้เบลท์ ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะใช้ลวดสลิง สแตนเลส ไม่เป็นสนิม ทนทาน
13.3 รั้วหรือราวกันตก : Fence ติดตั้งเพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานตกจากหลังคา โดยเป็นราวกันตก อลูมิเนียม แข็งแรง ทนทาน ไม่เป็นสนิม น้ำหนักเบา ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว แต่ราคาก็จะสูงกว่า
13.4 ระบบน้ำล้างแผง ประกอบด้วย
- แทงค์น้ำ ติดตั้งแทงค์น้ำขนาดประมาณ 1,000 - 2,000 ลิตรไว้สำรองน้ำเวลาล้างแผง บำรุงรักษาตามรอบ เพื่อความสะดวก ทั้งนี้หากสำนักงาน หรือโรงงาน มีระบบน้ำที่เพียงพอก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
- ปั๊มน้ำ ติดตั้งปั๊มน้ำ ยี่ห้อ Grundfos เพื่อแรงดันคงที่ ทนทานทั้งนี้หากสำนักงาน หรือโรงงาน มีระบบน้ำที่เพียงพอก็ไม่ต้องติดตั้งเพิ่ม
- ท่อน้ำ เราใช้ท่อเหล็กชนิกหนา (มีสีน้ำเงินคาด) เพื่อความทนทาน นานหลายปี (เคยใช้ท่อน้ำ PE แล้ว 1-2 ปี น้ำรั่วตามข้อต่อ)
14. วัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ยูโบลท์ , เหล็กประกับ , น็อต(ที่ต้องใช้เป็นตัวจับยึดท่อน้ำ , ยึดรางสายไฟ , ยึดท่อไฟฟ้า ) เราใช้เป็นชนิดจุ่มร้อน Hot Dip Galvanize เพื่อจะได้อยู่ทนทาน ไม่เป็นสนิม นานเกิน 10 ปี
♠ การติดตั้งโซล่าเซลล์ สไตล์ โซล่าฮับ เนื่องจากมีรายละเอียดกรรมวิธีการติดตั้งเยอะมาก ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้ หากผู้ประกอบการกำลังมองหาผู้ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบเน้นคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย ทางโซล่าฮับ ยินดีเข้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยรบกวนกรอกแบบฟอร์มข้อมูลแจ้งความประสงค์ ให้ทีมงานโซล่าฮับ ติดต่อกลับ โดยทีมงานจะประสานงานกลับโดยเร็ว
♠ คลิก ดูตัวอย่างงานติดตั้งของทีมงานโซล่าฮับ Solar Rooftop Showcase