fbpx

6.จากรูปนี้เน้น ราคาประหยัดในการติดตั้ง ช่างจึงได้นำเหล็กฉากธรรมดา ที่ไม่ได้ชุบกัลวาไนซ์ (Hot Dip Galvanize : HDG) มาทำเป็น Mounting ยึดแผงโซล่าเซลล์ ก็ต้องอย่าลืมว่าระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคาเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า เมื่อติดตั้งแล้วต้องอยู่กับเราไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี ดังนั้นเหล็กที่ไม่ได้ชุบ HDG ต้องตากแดด ตากฝน ไม่กี่ปีก็เป็นสนิม ดังนั้้นหากจะใช้เหล็กเป็นโครงสร้างรองรับแผง ก็ควรที่จะชุบ HDG เพื่อความคงทนและคุ้มค่าในระยะยาว 

7.การจับยึดแผงด้วยแคลมป์ระหว่าง แผงPV กับ โครงสร้างเหล็กที่ทำเป็น Mouting นี้ เนื่องจากไม่มีช่องหรือรู ในการจับยึดจึงทำให้ต้องเจาะรูในการยึดแคลมป์ ซึ่งก็จะไม่ยืดหยุ่นในการปรับแต่งตำแหน่งของแผง PV ซึ่งหากใช้ Mounting สำหรับจับยึดแผงโซล่าเซลล์โดยเฉพาะซึ่งทำด้วยวัสดุอลูมิเนียม ก็จะทำให้จับยึด ปรับแต่งได้ง่ายขึ้นและทนทานถาวรกว่า ซึ่งในปัจจุบันนี้ราคาก็ถูกลงเยอะแล้วครับ ตามรูปข้างล่างนี้ก็เป้นตัวอย่างชุด Mounting

<<=================================>>

8.การขนส่งแผงโซล่าเซลล์ ขึ้นบนหลังคา ก็สามารถกรทำได้หลายวิธี  ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมหน้างานเป็นหลัก เช่น ใช้แรงงานคนขนขึ้นตามนั่งร้าน , ใช้รอกดึงขึ้น , ใช้เชือกผูกดึงขึ้นทีละแผ่น , ใช้รถเฮี๊ยบ หรือใช้รถเครนขนขึ้นทีละหลายพาเลท เป็นต้น

แต่สิ่งที่สำคัญที่ต้องระวังคือการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคา กล่าวคือหากใช้รถยกหรือรถเครน ขนส่งแผงโซล่าเซลล์ครั้งละหลายพาเลท แล้วนำขึ้นไปวางบนหลังคาในจุดเดียวก็อาจมีผลกระทบกับโครงสร้าง ของหลังคาได้ เพราะน้ำหนักแต่ละแผงประมาณ 20-25 ก.ก./แผง หากนำทั้งพาเลท ( 1 พาเลทมี 20 แผง = 400-500 ก.ก) ไปวางบนหลังคาเกรงว่าโครงสร้างหลังคาอาจรับน้ำหนักไม่ไหว เพราะส่วนใหญ่ หลังคาจะออกแบบให้รองรับน้ำหนักจรได้ไม่น้อยกว่า 50 ก.ก./ตรม. 

หากเป็นกรณีนี้ทีมงานโซล่าฮับ ก็จะใช้รถเครนยกกระเช้า ใส่แผงโซล่าเซลล์ 1-2 พาเลท แล้วกระเช้าห้อยค้างไว้บนเครน ไม่วางกระเช้าบนหลังคาเด็ดขาด แล้วค่อยๆทยอย นำแผงไปจับยึดชั่วคราว(ป้องกันการปลิวจากแรงลม) กับ Mounting ที่ได้ติดตั้งเสร็จเตรียมไว้แล้ว ดังนั้นโครงสร้างของหลังคาก็จะไม่ได้รับภาระน้ำหนักแผงทั้งพาเลท เพราะกระเช้ายังห้อยอยู่บนเครน รายละเอียดดูตามรูปด้านล่าง