จากที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดการติดตั้งโซล่าเซลล์ บนหลังคาไปแล้ว ตอนนี้จะยกตัวอย่างของการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตราย ในการใช้งานระบบฯ ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอนี้ ก็มีทั้งที่ทีมงานโซล่าฮับ ได้ไปพบเจอที่หน้างานมา (ซึ่งมีผู้รับเหมาหรือช่างท่านอื่นได้ติดตั้งไปแล้ว) และรวมทั้งจากเว็บไซท์ในต่างประเทศ ซึ่งที่นำมาให้ดูก็เพื่อให้ทุกๆท่านได้ระมัดระวัง และควบคุมผู้รับเหมาให้ติดตั้งได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องมานั่งพะวงหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ว่าจะเกิดอันตรายอะไรหรือป่าว
จากรูปนี้มี 2จุด ที่ติดตั้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
1.ไม่ได้ใช้คีมย้ำหางปลา ได้ใช้ฆ้อนตอกหางปลาจนบุบบิบ บู้บี้ ดูจากรูปลักษณ์ภายนอกก็เหมือนกับสายไฟยึดติดกับหางปลาจนแน่นสนิท แต่จริงๆแล้วด้านในสายอาจจะหลวมก็เป็นได้ เมื่อเปิดใช้งานระบบแล้วก็อาจทำให้เกิดการอาร์ค จนร้อนและไฟใหม้ก็เป็นได้ ดังนั้นในการติดตั้งจุดต่อ ข้อต่อสาย หางปลา หรืออืนๆ ควรที่จะต้องเคร่งครัดในการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสมในการติดตั้ง
2.ที่ปลายสายใช้เทปพันสายทำสัญญลักษณ์ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเทปพันสายนี้ก็อาจหลุดร่วงออกได้โดยง่ายอีกทั้งไม่มีตัวอักษรบอกอย่างละเอียดให้เข้าใจได้ง่ายว่าแต่ละสายเป็นสายอะไร ทำให้ยากลำบากในการบำรุงรักษาในอนาคต ในที่นี้เราควรใช้ Wire Mark ที่มีตัวอักษรระบุได้อย่างชัดเจนและอยู่ได้คงทนถาวรกว่าเทปพันสาย ดูตัวอย่างตามรูปด้างล่าง
<<=====================================>>
ขอบคุณรูปจาก http://newenglandcleanenergy.com/energymiser/2015/10/30/the-good-the-bad-and-the-ugly/
3.ห้ามขึ้นไปเหยียบบนแผงโซล่าเซลล์เด็ดขาด บางท่านอาจะเห็นว่ากระจกที่แผงPV หนา ทนทานแข็งแกร่งจึงน่าที่จะขึ้นไปเหยียบบนแผงได้ และเหยียบแล้วก็ไม่เห็นจะแตกเลย ก็ต้องขอบอกว่าแผงไม่แตกครับ แต่เซลล์ หรือวัสดุที่เชื่อมต่อในแผงอาจจะกระทบกระเทือนจนชำรุดเสียหายได้ (อันนี้เจ้าหน้าที่บริษัทผู้ผลิตแผง PV อันดับท็อปเท็นของโลกแนะนำมาครับ) ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดความเสียหายในทันทีทันใด แต่อาจมีปัญหาหลังจากการใช้งานในอนาคตครับ
<<======================================>>
4.จากรูปเป็นMounting สำหรับจับยึดแผงโซล่าเซลล์ ติดตั้งบนหลังคา โดยMounting มีคลิปล็อกยึดติดกับสันของเมทัลชีต เส้นยาวๆตามสันของเมทัลชีต เราเรียกว่า Rail (เรียล) มีความยาวเส้นละประมาณ 4 เมตร ซึ่งเราก็ต้องนำ Rail มาต่อๆกันเพื่อให้ได้ความยาวตามแนวของหลังคา ซึ่งจุดต่อของ Rail ควรจะต้องมีการจั๊มสายกราวด์ เชื่อมต่อระหว่าง Rail ด้วย เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ ฟ้าผ่า หรือฟ้าลง ที่โครงหลังคาหรือลงที่ Mounting แล้วจะมีแรงดันไฟฟ้าเป็นหลายๆหมื่นโวลท์ที่มาจากฟ้าผ่า ใหลผ่านRail ลงสู่พื้นโลก ซึ่งหากเราไม่ต่อสายกราวด์ระหว่าง Rail ตรงจุดนี้ก็จะเป็นจุดสปาร์ค หรือจุดอาร์คของกระแสไฟฟ้า ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟใหม้ได้
ดังนั้นเราควรที่จะต้องมีการจั๊มสายกราวด์เชื่อมต่อระหว่าง Rail เพื่อเป็นการบายพาสกระแสไฟฟ้า ที่มาจากฟ้าผ่าใหลลงพื้นโลกได้อย่างเหมาะสม ตามรูปการจั๊มสายด้านล่างนี้
<<=====================================>>
5.รูปนี้เป็นข้อต่อ MC4 สำหรับเชื่อมต่อระหว่างสายไฟ DC กับ สายไฟ DC ก็จะมี ฝั่งตัวผู้ และฝั่งตัวเมีย เอาไว้เสียบเข้าหากัน เมื่อเสียบแล้ว ถ้าจะถอดออกจะต้องใช้ชุดถอดหัว MC4 จึงจะถอดออกครับ หากไม่มีชุดถอดนี้ ช่างบางท่านไม่ทราบ จะใช้ไขควงหรือคีมแงะออก ก็ทำให้เกิดการเสียหายของหัว MC4 ได้ และก็อาจเกิดความร้อนที่ข้อต่อซึ่งก็เป็นสาเหตุของไฟใหม้ได้
ตัวย่างชุดเข้าหัวข้อต่อ MC4 และชุดถอดหัว MC4
<<============================>>