fbpx

ก่อนอ่าน EP3 กรุณาคลิกอ่าน Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP1  ,  Rapid Shutdown ในระบบโซล่าเซลล์ คืออะไร? EP2

ขอบพระคุณ มหานครเอ็นจิเนียร์ริ่ง ที่ส่งลิงค์ข้อมูล การปรังปรุงกฏระเบียบ ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทีมงานได้ให้ เรขาส่วนตัว แปลให้แล้ว สาระสำคัญคือติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ได้โดยไม่บังคับให้ต้องติดตัว DC Isolator 

Australia removes much-criticized DC isolator mandate 

การอัพเดทกฏระเบียบดังกล่าว มีผลเมื่อ มิถุนายน 2564 หลังจากที่ได้มีการเปิดรับข้อเสนอแนะทางสาธารณะต่างๆ 

DC Isolators (ตัวตัดกระแสตรง) ในประเทศออสเตรเลีย >> บังคับให้ติดตั้ง ตั้งแต่ปี 2555 และระยะเวลาผ่านมา ก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุด ของระบบ DC Isolator หรือ ตัวแยกกระแสตรง อีกทั้ง ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำให้กระบวนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ซับซ้อนยิ่งขึ้น

 

โดยแนะนำให้เจ้าของตรวจสอบระบบโซล่าเซลล์ เป็นประจำทุกๆปี จะดีกว่าการติดตั้งตัว DC Isolatorเสียอีก  และข้อเสียอีกประการของส่วนประกอบ DC Isolator คือสามารถเสื่อมสภาพจากการสัมผัสสิ่งแวดล้อมได้เนื่องจากวิธีการติดตั้งและประเภทผลิตภัณฑ์เฉพาะ มีโอกาสที่น้ำจะไหลเข้าและสร้างความเสียหายจากแสงแดด และด้วยเหตุนี้ จึงอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวแยกกระแสตรง DC Isolator ก่อนที่จะหมดอายุของ แผงโซล่าเซลล์

คณะกรรมการตัดสินใจหลังจากเปรียบเทียบข้อกำหนดต่างๆ ทั่วโลก นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลง DC isolator แล้ว ยังอัปเดตองค์ประกอบกฎอื่นๆ อีกหลายส่วน รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการติดตั้งไมโครอินเวอร์เตอร์และหน่วยปรับสภาพ DC ซึ่งกล่าวว่าจะช่วยให้ใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้นในแผงขนาดใหญ่ขึ้น และสนับสนุนผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังยกขีดจำกัด 600 V. สำหรับแผงในบ้านให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล 1000 V.

อ๊ะ... จบเรื่องของประเทศออสเตรเลีย ทีนี้กลับมาเรื่องของเรามั่ง

จากการที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ DC Isolator เป็นการตัดสายสตริง หรือสายที่มีการต่ออนุกรมจากแผงโซล่าเซลล์แล้ว ดังไดอะแกรมด้านล่าง ซึ่งก็จะทำให้เป็นการตัดไฟฟ้า DC แรงดันสูง

Rapid Shutdow ไม่ได้กำหนดให้ตัดไฟ ที่สายสตริงเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการตัดไฟฟ้า DC แต่ละแผงเลย ก็จะเป็นการดีนะ ว่าไม๊?

จริงๆแล้ว Rapid Shutdown ก็มีหน่วยงานกำหนดมาตรฐานไว้อยู่แล้วตั้งแต่ปี 2014 ก็คือ  NEC (National Electrical Code) เป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกา มีครั้งแรกตั้งแต่ปี 1897 และมีการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ 3 ปี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Rapid Shutdown เมื่อปี 2014 กำหนดว่าระยะของ Rapid Shutdown Boudary กำหนดเป็น 10 ฟุตดังรูป

 

 

  และปี 2017 มีการเปลี่ยนระยะของ Rapid Shutdown Boudary กำหนดจากเดิม 10 ฟุต เป็น 1 ฟุต แทน ดังรูป

Thanks for the information from https://www.purepower.com/blog/2017-nec-690.12-rapid-shutdown-important-changes

จากทั้ง 2รูปด้านบน  NEC กำหนดว่า ไฟฟ้า DC รอบๆขอบเขตของ PV Array ต้องลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 30 V.  ภายใน 30 วินาที

และ ปี 2019 NEC กำหนดว่า ไฟฟ้า DC ในเขตของ PV Array ต้องลดลงเหลือ 80 V.ภายใน 30 วินาที  << สำหรับในหัวข้อนี้ก็จะเห็นว่า ระบุว่า ให้แรงดันไฟฟ้า ในเขตของ Array ต้องลดลงเหลือ 80 V. เท่านั้นก็แสดงว่า จะต้องมีการตัดไฟฟ้า DC ที่แต่ละแผง ก่อนที่จะมีการอนุกรมแผง เลยน่ะนั่น

♥ ที่ต้องเกริ่นนำซะยืดยาวก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า กฏระเบียบหรือข้อบังคับ ต่างๆก็มีการปรับปรุงกันมาตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับการนำมาปฏิบัติใช้งานจริง เพราะช่วงแรกบังคับให้ตัดที่สายสตริง ก็ดูเหมือนดีแล้ว พอใช้มาเรื่อยก็พบปัญหา อย่างกับประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น ทาง NEC จึงปรับปรุง ให้มีการตัดไฟ DC ที่ แผงโซล่าเซลล์ เลย (จริงๆ อาจต่อกัน2แผงก็ได้ ถ้าอนุกรมกันแล้ว แรงดันไม่เกิน 80 V.)

 

มีหน่วยงานอีกแห่ง ที่รวมตัวกันในภาคเอกชน ที่ใช้ชื่อ sunspec.org ที่โซล่าฮับเคยเขียนถึงเมื่อ5ปีก่อน กลุ่มพันธมิตรด้านพลังงาน SunSpec Alliance >>> sunspec.org ที่ร่วมกันกำหนดมาตรฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ และรองรับการขยายตัวของสมาร์ทกริด และ Energy Storage ในทุกระดับการใช้งาน

ทีนี้เรามาดูข้อกำหนดของ Sunspec.org มั่งว่าเค้ากำหนดเกี่ยวกับ Rapid Shutdown ตามรูปด้านล่าง ซึ่งเป็น Fact Sheet นี้ก็แสดงถึงการอ้างอิงมาตรฐานจาก NEC เช่นกัน อีกทั้งรูปไดอะแกรมก็แสดงให้เห็นว่าต้องมีอุปกรณ์ ตัดไฟฟ้า DC แต่ละแผงโซล่าเซลล์ กันเลยทีเดียว ไม่ใช่ตัดที่ สายสตริง DC Isolator ดังเช่นประเทศออสเตรเลีย

สำหรับท่านที่ต้องการดู Fact Sheet และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง Rapid Shutdown ของ Sunspec.org ทางโซล่าฮับ ได้นำมาให้ท่านลองโหลดไปอ่านได้ที่นี่

SunSpec-RapidShutdown-FactSheet-05-2019-revB_web

SunSpec-Rapid-Shutdown-Prior-Art-Synopsis-2021

SunSpec_Rapid_Shutdown_Test_Specification_APPROVED_19

SunSpec-Specification-Communication-Signal-For-Rapid-Shutdown-APPROVED-20210420

 

แล้วทีนี้ในเมืองไทยเรา แว่วๆว่า วสท. จะกำหนด Rapid Shutdown แต่ก็ยังไม่ออกมาอย่างเป็นทางการซึ่ง ก็ยังไม่เห็นร่างดังกล่าว ว่าจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ก็รอติดตามชมอยู่ว่าจะไปท่าไหน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำมาใช้อ้างอิง อย่างเข้มข้น หรือไม่อย่างไร ? 

ยัง...ยังไม่จบ ยังมีอีก...ตอนหน้า EP4 มาว่ากันว่า ในตลาด มีอุปกรณ์ Rapid Shutdown ยี่ห้อไหนกันบ้าง แล้วเมืองไทยมีขายไม๊ และเราควรติด หรือไม่ติด ดีกว่ากัน โปรดติดตาม!!!