fbpx

การนำเสนอติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ให้กับท่านที่สนใจนั้น จากที่ได้เข้าพบกับเจ้าหน้าที่โรงงานหรือสำนักงานต่างๆ เราต้องจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการคิดค่าไฟฟ้าของ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ด้วย เพื่อจะได้นำเสนอข้อมูลได้ทุกแง่มุม เพราะการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ นั้นผลประโยชน์ทางตรงก็คือ ลดค่าพลังงานไฟฟ้า (kW-h) หรือลดจำนวนหน่วยการใช้ไฟฟ้า แต่ก็มีการได้ผลประโยชน์ทางอ้อมอีกด้วย เช่น การลดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (kW./บาท) , ลดค่าชาร์จค่าเพาเวอร์แฟ็คเตอร์ (kVAR) , ลดค่าโอที พนักงาน , ลดค่า On Peak เป็นต้น

 

แต่เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. แยกประเภทผู้ใช้บริการเป็น 8 ประเภท ซึ่งในแต่ละประเภทก็มีหลักการคิดค่าไฟฟ้าไม่เหมือนกัน ซึ่งก็เป็นงานยากที่เราจะจำได้ทั้งหมดว่าแต่ละประเภท คิดค่าไฟฟ้าอย่างไรบ้าง นี่ก็เป็นปัญหาของแอดมินแหละ ที่จำได้แป๊ปเดียว ก็ลืมอีก ก็เลยเป็นที่มาของรูปหรือFlow Chart นี้ที่ทำขึ้นมาให้จำและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไหนๆทำมาแล้วก็เลยเอามาแบ่งปัน ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์กับ EPC หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลังงาน ของโรงงาน ครับ

สำหรับไฟล์ pdf อัตราค่าไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. ดาวน์โหลดได้ที่ บทความนี้ อัตราค่าไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ.

จริงๆแล้ว ค่าไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. ค่อนข้างที่จะคล้ายกัน แต่ อาจจะแบ่งหัวข้อย่อยของแต่ละประเภท ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องทำรูปหรือFlow Chart แยกกันเพื่อจะได้ไม่สับสน 

 เริ่มที่ การคิดค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ.

ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย

ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก

*ประเภทที่1 และ 2 ค่าไฟฟ้าประกอบด้วย >>> ค่าพลังงานไฟฟ้า(บาท/หน่วย) + ค่าบริการ(บาท/เดือน) + ค่าFt + VAT 7%

*ประเภทที่1 และ 2 แบบ TOU ไม่ได้บังคับแล้วแต่ความสมัครใจ และหากใช้ TOU ครบ 12เดือน สามารถเลือกกลับไปใช้อัตราปกติได้

 +++++++++++++

 

ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง

ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่

 

 *ประเภท3 และ 4 ค่าไฟฟ้าประกอบด้วย >>> ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า(บาท/kW.) + ค่าพลังงานไฟฟ้า(บาท/หน่วย) + ค่าบริการ(บาท/เดือน) + ค่าFt + VAT 7%

 *ผู้ใช้ไฟเดิมก่อนพ.ย.58 สามารถใช้อัตราปกติประเภทที่3.1 ต่อไปได้ และสามารถเลือกเป็นประเภท3.2 TOU ได้ แต่จะเลือกกลับไปใช้ประเภท3.1ไม่ได้ และผู้ติดตั้งมิเตอร์หลัง พ.ย.58 ต้องใช้ ประเภท 3.2 หรือแบบTOU

*ประเภท4 แบบ TOD สำหรับผู้ใช้ไฟอยู่เดิมก่อน  พ.ย.58 และสามารถเลือกใช้TODสำหรับผู้ใช้ไฟอยู่เดิมก่อน  พ.ย.58 และสามารถเลือกใช้TOU ได้ ทั้งนี้ เมื่อเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้ TOD ไม่ได้

***ที่เหลือประเภท 5 - 8 ซึ่งประกอบด้วย***

ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง สำหรับการใช้ไฟฟ้าประกอบกิจการโรงแรม และกิจการให้เช่าที่พักอาศัย

ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ประเภทที่ 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตร

ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

ขอละเว้นการวาดภาพประกอบ เนื่องจากผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภท 5-8 ทางทีมงานยังไม่ค่อยได้ไปนำเสนอระบบโซล่าเซลล์ (จริงๆแล้ว หากมีเวลาก็จะพยายามวาด ในโอกาสหน้า)  

 

***ยังไม่หมดครับ สำหรับค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ต้องเสียค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (ประกอบด้วยประเภท 3,4,5,6,7) จะต้องมีเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ อีกด้วย กล่าวคือ  >>> หากเดือนใดมีเพาเวอร์แฟคเตอร์แลค (Lag) ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (กิโลวาร์) เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ย ใน 15 นาทีที่สูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (กิโลวัตต์) ส่วนที่เกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ (kvar) ละ 56.07 บาท (เศษของกิโลวาร์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ขึ้นไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์)

อ่านแล้วงงครับ สรุป ถ้าPower Factor ต่ำกว่า 0.85 แล้วจะเสียค่า kvar เฉพาะในส่วนที่เกินกว่า 61.97ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า โดยเสีย 56.07บาท/kvar ถ้าไม่ถึง0.5kvar ตัดทิ้ง ถ้าเกิน0.5kvar ปัดขึ้นเป็น1kvar

และสำหรับท่านที่ไม่เข้าใจว่า Power Factor คืออะไร สามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่บทความนี้ Solar Energy FAQ Episode 4