fbpx

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2559 การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. หรือ MEA) ได้ออกข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ของ กฟน. 2559 และ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ. หรือ PEA) ได้ออกระเบียบ กฟภ.ว่าด้วยการข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2559 ซึ่งทั้ง 2 ระเบียบข้างต้น ก็มีผลกระทบกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar PV Rooftop ดังนี้ 

 1.การติดตั้งรีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay)

จากข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ของ กฟน. ข้อ 7 

สรุปความได้ว่า

การเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายฯ ที่ขนาด 12 KV การติดตั้ง Solar PV เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายฯ ทุกขนาดกำลังการผลิตจะต้องติดตั้ง รีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) ไฟย้อนเข้าระบบจำหน่าย ซึ่งราคาประมาณ 100,000 บาท สำหรับเหตุที่ต้องติดตั้งรีเลย์ป้องกันไฟย้อน ก็เพื่อกรณีเมื่อบ้านหรืออาคารนั้นผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แล้ว ไฟเหลือจากที่ใช้งานเองแล้วจะย้อนกลับเข้าสายส่งของระบบจำหน่าย ตัวรีเลย์นี้ ก็จะตัดระบบ ไม่ให้ไฟใหลย้อนกลับเข้าระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ซึ่งอาจเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายกับระบบฟีดเดอร์ของการไฟฟ้าฯได้

การเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายฯ ที่ขนาด 230/400 V. กรณีไม่ต้องติดตั้งรีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) ก็ต่อเมื่อหม้อแปลงของการไฟฟ้าฯลูกที่เราจะเชื่อมต่อ มีผู้เชื่อมรายอื่นเชื่อมอยู่ไม่ถึง 15 % ของพิกัดหม้อแปลงนั้น เช่น หม้อแปลงของการไฟฟ้าฯขนาด 1,000 kva โดย 15 % ก็เท่ากับ 150 kw. ดังนั้นผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่ขอเชื่อมต่อรายแรกๆ รวมกันแล้วไม่เกิน 150 kw ก็ไม่ต้องติดรีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) แต่สำหรับผู้ที่มาขอเชื่อมระบบจำหน่ายฯ ที่เกินพิกัดหม้อแปลง 15% ไปแล้ว ซึ่งตามตัวอย่างข้างต้นคือเกิน 150 kw. แล้ว ต้องติดตั้งรีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) 

โดยในทางปฏิบัติ เราๆท่าน ทั้งหลายที่ขอเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ก็จะไม่ทราบเลยว่า จุดที่เราจะขอเชื่อมต่อ หม้อแปลงนั้นๆ เกินพิกัด 15% หรือยัง ซึ่งเราก็ต้องยื่นความจำนงค์กับการไฟฟ้าฯ ก่อนจึงจะทราบว่าต้องติดตั้ง รีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) หรือไม่ ดังนั้นผู้รับเหมาติดตั้งระบบโซล่าเซลล์  หรือ EPC ก็อาจจะต้องประมาณการราคาเผื่อตรงจุดนี้ด้วย

 2.สำหรับอุปกรณ์ รีเลย์ระบบป้องกัน (Protection Relay) ที่จะนำมาติดตั้ง จะต้องผ่านการตรวจสอบจาก กฟน.และ กฟภ. แล้ว ซึ่งของ กฟน.นั้นมีการแสดง Supplier List คือยี่ห้อ ABB , Areva , GE , Merlin Gerlin(group Schneider) , Reyrolle , Schweitzer ,Siemens และ SEG  แต่สำหรับ ของ กฟภ. ไม่ได้ประกาศรายชื่อ Supplier List ซึ่งทางทีมงานพยายามหาจากเว็บ ของ กฟภ. แล้วก็ยังหาไม่เจอ หากท่านใดมีข้อมูลก็ส่งมาให้ทางเราก็ดีครับ จะได้เป็นวิทยาทานช่วยเผยแพร่กับท่านอื่นๆต่อไปครับ

 

3.Power Quality Meter