fbpx

ไม่รู้ไปโกรธ ใครมา ไม่พูดไม่จา ทำหน้าบึ้งตึง ทำฟืด ทำฟัด ทำดื้อดึง เพราะใครหรือจึง ทำบึ้งตึงบอกมา... พอๆๆ

(^L^)' ฮ่ะๆๆ..ถถถถ...จั่วหัวเหมือนไปยั๊วะใครมา... อ่ะล้อเล่ง แค่ขี้เกียจเสนองานแบบมีแบตเตอรี่ ในช่วงเวลานี้ก็แค่นั้นเอง( มิถุนายน 2564 ) เพราะถึงเสนอไป จ้างให้ท่านก็ยังไม่ติด เพราะเห็นราคา ก็หงายท้องผลึ่ง ^0^" 

          วันนี้ก็ได้เวลาอันเป็นมงคลฤกษ์ ซะที ที่จะมาพูดเรื่องโซล่าเซลล์ ระบบไฮบริด แบบจริงๆจังๆ สักกะหน่อย ซึ่งไม่ใช่ว่า ทางโซล่าฮับ ไม่เห็นด้วยกับระบบไฮบริด เพียงแต่ว่า ณ เวลานี้ อาจยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสม สำหรับไฮบริด ที่มีแบตเตอรี่ ลิเธียม เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด ให้โตๆ ในเวลานี้ แต่คงอีกไม่เกิน 1-3 ปีนี้แหละ ได้เห็นแน่..นั่นแหละ ตอนนั้น โซล่าฮับ จะนำไปเสริฟท์ ไปเคาะประตูบ้านท่านถึงที่บ้านเลย ว่าใส่เดี่ยวกันป่าว..เอ้ยไม่ใช่ๆ...ใส่แบตป่าวๆๆ ขอบอก!!!

           ก่อนจะไปกันต่อ เรามานิยาม ของคำว่าโซล่าเซลล์ แบบไฮบริด กันก่อนดีกว่า เพราะจากที่ได้ดูคุณสมบัติ ของอินเวอร์เตอร์แต่ละยี่ห้อ ก็มีฟังก์ชั่นการทำงาน ที่แตกต่างกันไป นิดๆหน่อยๆ แต่หลักๆ แล้วก็น่าจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ไฮบริดอ๊อฟกริด และ ไฮบริดออนกริด

          และก่อน ของก่อนจะไปต่อ เราต้องเข้าใจระบบอ๊อฟกริด และออนกริด ก่อน 555ถถถถ... งงเด้

          โซล่าเซลล์แบบอ๊อฟกริด คือการติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบสแตนอโลน ไม่มีการนำโครงข่ายไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฯ มาเชื่อมต่อกับระบบฯ ซึ่งจะอาศัยไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นไฟฟ้า DC มาจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยอาจนำมาต่อเพิ่มกับอุปกรณ์หลัก อื่นๆอีก เช่น นำมาชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้า , นำมาเข้าอินเวอร์เตอร์อ๊อฟกริด แปลงเป็นไฟฟ้า AC จ่ายให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีการนำอุปกรณ์ หลักๆอื่นๆในระบบ มาต่อนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งได้เคยเขียนไว้บ้างแล้ว ลองคลิกเบาๆ >>> ระบบอ๊อฟกริด (Off Grid) หรือ แบบอิสระ ( Stand Alone ) ซึ่งการนำมาต่อใช้งาน ต้องมีการคำนวณ ค่าทางไฟฟ้า ให้ครอบคลุมกับโหลดที่ใช้งาน อย่างเพียงพอและเหมาะสม เพราะแบบอ๊อฟกริดนี้ ไม่สามารถดึงไฟจากแหล่งอื่นมาชดเชยได้ ดังนั้นค่าลงทุนจึงสูง กว่าระบบออนกริด โดยเฉพาะต้นทุนเรื่องแบตเตอรี่ ที่ต้องเก็บพลังงานไฟฟ้า ไว้ใช้ตอนที่ไม่มีแสงแดด

          โซล่าเซลล์แบบออนกริด เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยข้อดีคือสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ขายให้กับ การไฟฟ้าฯ (ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อน ) หรือนำไฟฟ้าที่ได้มาใช้งานเองเพื่อลดค่าไฟฟ้า หากผลิตไม่พอใช้อุปกรณ์ควบคุมก็จะนำไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้ามาใช้งานทดแทน ซึ่งได้เคยเขียนรูปแแบบการนำไปใช้งาน >>> ระบบออนกริด ( On Grid ) หรือ แบบเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ( Grid Connected )

            สำหรับอินเวอร์เตอร์ ออนกริด  มีหน้าที่แปลงไฟฟ้า DC (จากแผงโซล่าเซลล์) เป็นไฟฟ้า AC แล้วต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถนำไฟฟ้าAC ที่ได้มาเชื่อมขนานไฟ กับโครงข่ายไฟของการไฟฟ้าฯ  ซึ่งต้องมีค่าทางไฟฟ้า ต่างๆ ตรงกับค่าทางไฟฟ้า ของระบบโครงข่ายของการไฟฟ้าฯ (เราเรียกกันว่า กริด : Grid ) และตามเงื่อนไขที่การไฟฟ้ากำหนด  เช่น ระดับแรงดันไฟฟ้า (Volt) , ความถี่ (Hertz) , ฮาร์มอนิก (Harmonic) , ความเพี้ยนกระแสฮาร์มอนิกรวม (Total Harmonic Current Distortion, THDi) , แรงดันกระเพื่อม (Voltage Fluctuation or Flicker) , ไอส์แลนดิ่ง (Islanding)

            ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเชื่อมขนานไฟ คือการนำเอาแหล่งจ่ายไฟ 2 แหล่งจ่าย มาเชื่อมต่อขนานกัน  เปรียบเสมือน ถังน้ำ 2 ถัง ถังหนึ่งคือถังของการไฟฟ้าฯ อีกถังหนึ่งคือถังโซล่าเซลล์ เรานำท่อมาเชื่อมถึงกัน แล้วเราก็ต่อท่อน้ำนั้น มาใช้งานภายในบ้านเรา โดยเราตั้งถังโซล่าเซลล์ ให้สูงกว่าถังการไฟฟ้านิดนึง ดังนั้นน้ำที่ไหลลงมาจ่ายภายในบ้าน ก็จะดึงจากโซล่าเซลล์ก่อนจนหมด ถ้าไม่พอก็จะดึงน้ำจากถังการไฟฟ้าฯ เติมหรือชดเชยนั่นเอง 

            ดังรูปด้านล่าง แสดงการเปรียบเทียบ  เหมือนแทงค์น้ำ 2 แทงค์ นำท่อน้ำมาเชื่อมขนานกัน โดยแทงค์น้ำบ้านเรา เปรียบเหมือนโซล่าเซลล์ ซึ่งมีแรงดันสูงกว่า(นิดนึง) แทงค์น้ำจากแหล่งจ่ายอื่น เปรียบเหมือนโครงข่ายไฟของการไฟฟ้าฯ ดังนั้นน้ำที่ใช้ภายในบ้านเรา ก็จะดึงจากแทงค์บ้านเราก่อน(เพราะแรงดันสูงกว่า) หากไม่พอก็จะดึงจากแหล่งจ่ายอื่น ซึ่งก็เปรียบเหมือนระบบโซล่าเซลล์ ที่จะดึงไฟจากโซล่าเซลล์ ก่อน (อินเวอร์เตอร์จะควบคุมแรงดันในชั่วขณะนั้น ให้แรงดันสูงกว่าไฟของการไฟฟ้าฯ นิดนึง ) หากไม่พอก็จะดึงไฟจากโครงข่ายการไฟฟ้าฯ มาชดเชย

 

            *ไฟทั้ง 2 แหล่งจ่าย มารวมกัน มิใช่การนำสวิทช์ มาตัดต่อไฟจาก 2 แหล่งจ่าย
            **หากใช้หลักการเลือกแหล่งใด แหล่งหนึ่ง เราต้องใช้อุปกรณ์ Automatic Transfer Switch : ATS เป็นอุปกรณเสริม ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในระบบโซล่าเซลล์ ไฮบริด และก็มีเรื่องเวลาการตัดต่อไฟ จาก2แหล่งจ่ายมาคำนึงถึงด้วย จะได้กล่าวในตอนต่อๆไป

           สรุป 

           ♥ อ๊อฟกริด ต้องมีแบตเตอรี่ เพื่อเก็บไฟ ไว้ใช้ตอนไม่มีแสงแดด จึงทำให้ต้นทุนสูง กว่าระบบออนกริด *ยกเว้นอ๊อฟกริด แบบโซล่าปั๊ม ไม่ต้องมีแบตเตอรี่ แต่แราก้ต้องสูบน้ำตองมีแสงแดด เพื่อนำน้ำไปเก้บกักในแท๊งค์สูง แล้วค่อยปล่อยน้ำลงไร่นา เรือกสวน

           ♥ อ๊อฟกริด ต้องคำนวณ ค่าทางไฟฟ้า ให้ครอบคลุมกับโหลดที่ใช้งาน อย่างเพียงพอและเหมาะสม เพราะไม่มีไฟฟ้าจากแหล่งอื่นมาชดเชย หากโซล่าเซลล์ จ่ายไฟไม่เพียงพอ *ถ้าคำนวณไม่ดีพอ ก็ทำให้อินเวอร์เตอร์พัง หรือแบตเตอรี่พังก่อนเวลาอันควร เป็นต้น

           ♥ อ๊อฟกริด ส่วนใหญ่นำไปใช้งานในสถานที่ไม่มีไฟ ของการไฟฟ้าฯ เข้าถึง

           ♥ ออนกริด ใช้กับบ้านหรือโรงงานที่มีไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฯเข้าถึง เพราะต้นทุนถูกกว่าระบบ อ๊อฟกริด (เพราะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่)

           ♥ ออนกริด ติดตั้งแล้วต้องใช้ไฟในทันทีทันใด ไม่มีการเก็บไว้ใช้ หากไม่ใช้ก็จะสูญเปล่า

โซล่าเซลล์ ไฮบริด EP1 ยังไม่ไปถึงไหน ขอปูพื้นให้เข้าใจ อ๊อฟกริด และออนกริด ก่อน แล้วค่อยเข้าเรื่องไฮบริด ในตอนหน้า โปรดติดตาม 

โซล่าเซลล์ แบบไฮบริด ปูพื้น...ลื่นหัวแตก!!! (Solar Hybrid EP2)

การต่อใช้งาน Growatt Hybrid Inverter Part A (Solar Hybrid EP3)

การทำงานในแต่ละสภาวะของ Growatt Hybrid Inverter Part B (Solar Hybrid EP4)

ตามไปดูโซล่าเซลล์ ไฮบริด Sungrow 5กิโลวัตต์ พร้อมแบตลิเธียม (Solar Hybrid EP5)

กราบเรียนว่า..จ่ายตังค์เกือบ3แสน ใช้ไฟกลางคืนทั้งบ้านไม่ได้นะขอรับ!! >> เชิญมาดูคำตอบกับSungrow SH5K-30 Hybrid Inverter (Solar Hybrid EP6)