fbpx

ความเดิมคราวก่อน เราได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ หรือ PV บนหลังคาแล้ว ต่อจากนั้นเราก็ต้องเดินสายไฟฟ้า DC หรือเค้าเรียกกันว่า สาย PV1-F โดยใส่ในท่อร้อยสาย(Conduit) หรือรางสายไฟ (WireWay) เพื่อเดินมายัง DC Combiner Box (เป็นจุดรวมสายไฟ DC แต่ละ String มาต่อขนานกันเพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น แต่โวลท์เท่าเดิม) ซึ่งส่วนใหญ่เราก็จะติดตั้งอยู่ในห้อง Inverter Room หรือใกล้กับตัวInverter  สำหรับท่อร้อยสาย และรางเดินสายไฟก็มีทั้งแบบใช้ภายนอกอาคารและใช้ภายในอาคาร (เดี๊ยวค่อยลงรายละเอียดในตอนถัดๆไป)

 

 

 

Wire Way หรือรางเดินสายไฟฟ้า ภายนอกอาคาร ที่ต้องทนแดด ทนฝน ต้องใช้แบบ Hot Dip Galvanized (HDG) เท่านั้นนะครับ ไม่งั้นอยู่ไม่ถึง 20 ปีนะครับ และท่อโค้งๆ นั่นก็เป็น เฟล็กโลหะกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร หรือ Flexible Conduit ( มีทั้งแบบนอกอาคารและ ในอาคาร ก็ต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภทนะครับ แต่ในทางวิศกรรมควรใช้เฟล็กให้น้อยที่สุดก็จะเป็นการดี เราจะใช้เฟล็กกรณีที่ไม่สามารถเดินท่อได้ หรือหน้างานที่ทำงานท่อยากลำบาก เพราะท่อร้อยสายน่าจะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเฟล็ก ครับ ) ซึ่งมีไว้สำหรับใส่สายบางส่วนที่มาจากแผง PV แต่ละString เพื่อมารวมเข้า Wire Way ตรงไปยัง Inverter Room

  

 

เดินท่อร้อยสายแบบ IMC ( Intermediate Metal Conduit) แล้วเลี้ยวโค้งโดยใช้ เฟล็กกันน้ำสำหรับภายนอกอาคาร

 

ตรงนี้ก็สำคัญครับ คอนเน็คเตอร์ หรือข้อต่อ ที่เชื่อมระหว่าง ท่อIMC กับเฟล็กโลหะกันน้ำ ถ้าเป้นแบบนอกอาคารต้องใช้ คอนเน็คเตอร์ คาดสีเหลือง  แต่ถ้าเป็นเฟล็กโลหะ(สีดำ)ในอาคาร ก็ใช้คอนเน็คเตอร์ คาดสีฟ้า  

 

ท่อร้อยสาย ต่อเข้ากับ Wire Way โดยใช้เฟล็กโลหะกันน้ำ เป็นตัวเชื่อมต่อ ซึ่งภายนอกต้องใช้ คอนเน็คเตอร์ คาดเหลืองนะครับอย่าลืม ทำไมต้องใช้คาดเหลือง? ก็เพราะว่าจะทนทานกว่าคาดดำ ครับ

การจัดเรียงสายไฟฟ้า ภายในรางเดินสายไฟ ต้องจัดเรียงให้เป้นระเบียบเพื่อง่ายในปฏิบัติงานหรือการบำรุงรักษาบำรุง

รางเดินสายไฟฟ้า หรือ Wire Way แบบ HDG

   

ตัวอย่าง Wire Way ขนาดใหญ่ ประมาณ 600 ม.ม. ซึ่งรองรับสายได้จำนวนมาก ของระบบโซล่าเซลล์ขนาด 1 MW 

แสดงการเดิน Wire Way มายังจุดติดตั้ง Inverter ซึ่งกรณีนี้เราติดตั้ง Inverter บนดาดฟ้าอาคาร แล้วทำชุดซัพพอท มายึดติดตัว Inverter