fbpx

6. SOH (State of Health) – แปลตรงตัวก็ “สภาพสุขภาพของแบตเตอรี่” นั่นแหละ!

ถ้าแบตเตอรี่เป็นคน — SOH ก็คือ ผลตรวจสุขภาพประจำปี

เหมือนหมอบอกว่า “ไตยังดีนะ ปอดยังโออยู่ แต่หัวใจเริ่มอ่อนแรง ตับยังไม่แข็ง เติมเก๊กฮวยได้อีกเยอะนะลูก!!” 🩺💔

• เป็นค่าที่ใช้บ่งบอกสุขภาพของแบตเตอรี่ในเชิงระยะยาว ค่ามักแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

• เปรียบเทียบความจุและประสิทธิภาพปัจจุบันของแบตเตอรี่กับค่าตั้งต้นเมื่อแบตใหม่

• หากแบตเตอรี่มี SOH ต่ำ หมายถึงแบตเริ่มเสื่อม และอาจต้องเปลี่ยนในอนาคต

• ยกตัวอย่างว่า ซื้อ IPHONE มาตอนแรก มีค่า SOH มา 100% พอใช้ไปสักระยะหนึ่ง 2-3ปี ค่า SOH ก็จะลดต่ำลงเหลือ 80% เป็นต้น

• สรุป คือเมื่อใช้งานแบตเตอรี่ ไประยะเวลาหนึ่ง ค่า SOH ก็จะลดต่ำลง จะลดลงมากหรือน้อย ก็ขึ้นกับคุณภาพแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อ

ขยายความ สำหรับของแบตเตอรี่ของ BYD ( ที่นำมาจับคู่กับ SOLIS Inverter ) เค้าจะมีรับประกันว่า ภายใน 7 ปี หากค่า SOH ต่ำกว่า 65% จะเปลี่ยนให้ทันที ซึ่งสามารถดูค่า SOH ได้จากแอปของ SolisCloud

" BYD warrants that the Product retains Sixty-five percent (65%) of Usable Energy for seven (7) years from the Invoice Date."

 แล้วแบตฯ สุขภาพดีแค่ไหนดูยังไง? SOH จะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์

100% = แบตใหม่เอี่ยม สดใสวัยรุ่นจ๋า!

80% = ยังแข็งแรงอยู่ แต่วิ่งขึ้นบันได 5 ชั้นอาจหอบนิดๆ

50% = เริ่มโทรม ลุกเร็วๆ อาจเวียนหัว

ต่ำกว่า 30% = แบตแก่แล้วครับท่าน พร้อมเกษียณเต็มที 🧓🔋

🗣️ แบตคงอยากพูดว่า... "ก็อายุฉันเยอะแล้วนะ! แกลองชาร์จตัวเองทุกวันแล้วดูว่าจะอยู่ได้กี่ปี!" 😂

⚠️ คิดซะว่า “ถังน้ำที่เคยใส่ได้ 10 ลิตร ตอนนี้ใส่ได้แค่ 6 ลิตร” แต่คุณยังเทน้ำจนล้น แล้วสงสัยว่าทำไมน้ำหก 🤣

สูตรง่ายๆ:

SOH (%) = (ความจุปัจจุบัน ÷ ความจุตอนใหม่) × 100
เช่น แบตใหม่ 3000 mAh → ตอนนี้เหลือจุได้ 2400 mAh
SOH = (2400 ÷ 3000) × 100 = 80%

💬 ภาษาชาวบ้านคือ: “แบตไม่ระเบิดหรอก แต่เหมือนมือถือหิวข้าวบ่อยขึ้น ต้องชาร์จบ่อย เพราะกินไฟแต่ไม่อิ่ม”

 

 

7. SOC (State of Charge) – สถานะการชาร์จของแบตเตอรี่ ก็คือค่าที่บอกว่าแบตเตอรี่ยังมีไฟเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ — พูดง่ายๆ มันคือเกจน้ำมันของโลกแบตเตอรี่นั่นเอง! ถ้า SoC 100% ก็เหมือนคุณเพิ่งเติมน้ำมันเต็มถัง พร้อมลุยทุกเส้นทาง ถ้าเหลือ 5% ก็เตรียมหาที่เสียบปลั๊กให้ไว ไม่งั้นมีนั่งร้องไห้กลางทุ่งแน่ๆ 😅

• แสดงปริมาณพลังงานที่เหลืออยู่ในแบตเตอรี่ มักแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)

• ใช้คล้ายกับการดูปริมาณแบตเตอรี่ในมือถือ เช่น SOC = 100% หมายถึงแบตเต็ม SOC = 0% หมายถึงแบตหมด

• แต่หากใช้ไประยะหนึ่ง แล้วค่า SOH ไม่ถึง 100% แล้วถ้า SOC 100% ปริมาณพลังงานไฟฟ้า ก็ลดลงตามไปด้วย

 

ช่วงการทำงานปกติของ SoC:

  • 20%–100% เป็นช่วงที่แบตทำงานได้อย่างสุขภาพดี

  • ต่ำกว่า 20% เรียกว่า "เสี่ยงหมดแรง" (ไม่ถึงขั้นตาย แต่บ่นแล้วบ่นอีก)

  • สูงกว่า 95–100% อาจเข้าสู่โหมด "อิ่มเกินพิกัด" ถ้าไม่มีระบบจัดการดีๆ

  • ซึ่ง ตัวบริหารจัดการแบตเตอรี่ เราเรียกว่า BMS แล้วตอนต่อๆไปค่อยมาทำความรู้จักกัน
  • แบตเตอรี่ BYD LV5.0 คนขายเค้าบอกว่า สามารถจ่ายไฟ หรือ Discharge ได้ไปถึง 0% เลยนะนั่น!!!

  

8. DOD (Depth of Discharge) – ค่าความลึกการคายประจุ (%)
เอาแบบเข้าใจง่ายคือ ถ้ารถเราเติมน้ำมันเต็มถัง แล้วเราใช้หมดเกลี้ยงเลย ก็คือใช้หมด 100% พอเติมใหม่ก็สตาร์ทติดเลย ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่ ถ้าแบตหมด 100% บ่อย ๆ ก็จะทำให้ แบตเตอรี่เสื่อมเร็วมาก ๆ ดังนั้นเราจึงดักทางไว้ก่อน เอาแค่แบตหมดแค่ 80% (เหลือก้นถังไว้ 20%) แล้วเราหยุดขับเลย (คือหยุดจ่ายไฟ) แล้วเรามาเติมไฟเข้าแบตเพิ่ม ค่อยจ่ายไฟให้เต็ม แล้วค่อยจ่ายไฟใหม่ นี่แหละทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น

🎯 DOD ของ BYD LV5.0 มีอะไรพิเศษ?

BYD LV5.0 ใช้เทคโนโลยี ลิเธียมไอรอนฟอสเฟต (LiFePO₄) ที่ขึ้นชื่อเรื่องทนทาน เขาอนุญาตให้ DOD ได้เยอะมากถึง 90–100% เลยนะ!

แต่… อย่าเพิ่งดีใจเกินไป เพราะมันมีเงื่อนไขเหมือนสั่งอาหารลดราคาในแอป:

  • ใช้ 100% DOD ได้ → แต่ไม่ควรทำ บ่อย

  • ใช้ 80–90% DOD เป็นมาตรฐาน → ดีที่สุดต่ออายุแบต

  • ใช้แค่ 50% DOD → เหมือนขับรถวันละนิด แบตก็จะอยู่ยาวววว~

  • แบตเตอรี่ BYD LV5.0 คนขายเค้าบอกว่า สามารถจ่ายไฟ หรือ Discharge ได้ไปถึง 0%  หรือ DOD = 0% เลยนะนั่น!!! 

  • ถึงจะบอกงั้นก็เถอะ DOD 0% ถ้าเราใช้งานจริงอย่างน้อย สัก 10-20๔ ก็ยังดีนะ safety factor เผื่อๆไว้ก่อนเนอะ 

 

 9. แบตเตอรี่แบบ Low Volt : หมายถึงระดับแรงดันไฟฟ้า ที่ระบบแบตเตอรี่นั้นทำงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเลือกใช้อินเวอร์เตอร์และวิธีการติดตั้งระบบ
สำหรับ แบตเตอรี่ ที่แรงดันต่ำ ในโลกของแบตเตอรี่ ลิเธียม คือแรงดันไม่เกิน 100 โวลท์ LV5.0 2

สำหรับแบตเตอรี่ของ BYD Battery-Box LV5.0 รุ่น  Low Volt ใช้แรงดัน ประมาณ 40 - 57.6 V. 

  • แรงดันใช้งาน (Nominal Voltage): 51.2 V
  • พิกัดพลังงาน: 5.12 kWh
  • ความจุใช้งานได้: ประมาณ 4.6–4.8 kWh (90–95%)
  • เคมีของแบตเตอรี่: LiFePO₄ (ปลอดภัย, อายุการใช้งานนาน)
  • สามารถขยายได้: นำหลายก้อนมาต่อขนานได้ (สูงสุด ~160 kWh ขึ้นอยู่กับรุ่นของ BMS และอินเวอร์เตอร์) 
  • ข้อดีของระบบ Low Voltage:

    • ปลอดภัยกว่า เพราะแรงดันต่ำ
    • เหมาะกับบ้านพักอาศัยขนาดเล็กถึงกลาง
    • ซ่อมบำรุงง่าย

    ข้อเสีย

    • หากต้องการกำลังสูง ต้องใช้สายขนาดใหญ่
    • การขยายระบบจำกัดกว่าระบบ HV

 

10. แบตเตอรี่แบบ High Volt  : สำหรับแบบ High Volt ก็จะเป็นระบบทำงานที่แรงดัน มากกว่า 100 Volt ขึ้นไป ซึ่งเหมาะสำหรับลูกค้าที่ใช้งานโหลดจำนวนมาก เช่น ในโรงงาน หรือสำนักงานขนาดใหญ่ เนื่องจากเมื่อใช้แรงดันสูงแล้ว ก็จะทำให้เราใช้กระแสไฟต่ำลง ซึ่งก็จะมีผลให้อุปกรณ์ประกอบ ที่นำมาใช้งาน ไม่ต้องรองรับกระแสสูง เช่น ฟิวส์ , สายไฟ DC , SPD DC , เบรคเกอร์ DC  เป็นต้น

ยกตัวอย่าง แบตเตอรี่ ของ BYD แบบไฮโวลท์ รุ่น MaxLiteIn มีขนาดตั้งแต่  30 kWh - 82.5 kWh. ซึ่งใช้แรงดันไฟฟ้า ประมาณ 259 - 976 Vdc.

Max Litein4

 

รุ่น LiteIn 30 คือ 30 kWh. แรงดัน Nominal Voltage 307 V. ซึ่งหากจ่ายกำลังไฟฟ้า ที่ 0.5 C-Rate คือ 15 kW.  ดังนั้น จ่ายกระแส= 15,000w / 307v =  48 A. ซึ่งกระแสก็ไม่ได้สูงมากนัก ยังพอหาสายไฟ , ฟิวส์ ที่กระแส ไม่เกิน 100 A ที่มีขายตามท้องตลาด ได้สบายๆ

>>> แต่หากเราใช้ 30 kWh. แบบแรงดันต่ำ Low Volt ที่แรงดันต่ำ 51.2 V.  โดยมีค่า 0.5 C-Rate ก็คือ 15 kW. ดังนั้นต้องจ่ายกระแส = 15,000w / 51.2v  = 293 A. *ซึ่งเราจะหา สายและ ฟิวส์ DC ใหญ่ขนาดนี้ยากมาก และก็อาจเกิดความร้อน และมีความเสียหายในระบบได้ง่าย

*สรุป การจะเลือกใช้ Low Volt และ High Volt ก็ต้องมาบาลานซ์ ความเหมาะสมของกระแส และแรงดัน ให้เหมาะสม 

ก็ติดตามบทความของโซล่าฮับ ไปเรื่อยๆ ก็จะมองออกว่า การใช้งานขนาดเท่าใด ที่ควรใช้ LV หรือ HV. ?