fbpx

เนื่องจากขณะนี้ เม.ย.65 แผงโซล่าเซลล์ มีขนาดกำลังการผลิตต่อแผงที่มากขึ้น เป็นมากกว่า 500 W. บางยี่ห้อก็เกิน 600 Wต่อแผงแล้ว  แต่ก็ต้องแลกมากับขนาดของแผงที่ใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักที่มากขึ้นกว่าเดิม  เช่น บางยี่ห้อ ของเดิมขนาด 450 W. มีขนาด 1 x 2 ม. และนำหนักประมาณ 25 ก.ก. พอพัฒนาให้มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 540 W. ขนาดก็เพิ่มขึ้นเป็น 1.25 x 2.35 ม. และน้ำหนักเพิ่มเป็น 32 ก.ก. เป็นต้น 

 ♠ ทีนี้ถ้าเรานำแผงรุนใหม่ ที่ใหญ่กว่าเดิม มาติดตั้งบนหลังคาเมทัลชีท ก็ต้องระวังด้วยว่า ถ้าเราติดโดยยังใช้วิธีการเดิม คือใส่ Rail 2 เส้นเหมือนเดิม ก็มีโอกาสที่ แผงจะแอ่นกลางได้ ซึ่งช่วงแรก อาจไม่เป็นไร แต่พอนานๆไป แผงอาจจะแคร็กได้ และบางครั้งน้ำฝนอาจขังตรงกลางแผ่นอีกต่างหาก (แคร็ก คือการที่ลายวงจรทองแดง ในแผงอาจขยับ ขาด หรือช็อตกันก็เป็นได้)  ซึ่งเราอาจต้องเสริม Rail ตรงกลางอีก 1 เส้น เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับแผง ไม่ให้แอ่นกลาง

♠ แต่ทั้งนี้ เราก็ไม่ได้บอกว่า เราจำเป็นต้องเสริมทุกครั้ง กรณีติดตั้งแผงรุ่นใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม เพราะ วัสดุ โครงอลูมิเนียมของแผง แต่ละยี่ห้อ มีความแข็งแรงไม่เท่ากัน  บางยี่ห้อใช้โครงอลูมิเนียม ที่หนา แข็งแรงมาก ใส่  Rail 2เส้นแบบเดิม ก็ยังรับได้อยู่  แต่บางยี่ห้อก็ลดต้นทุน โครงอลูมิเนียบบ๊างบาง บางจนน่าใจหาย แล้วทำใหญ่ขึ้นอีก อันนี้ก็ต้องเสริมแน่

 

 

♠ แต่ปัญหาคือเราอาจต้องทดลองติดตั้งดูก่อน ว่าแอ่นไม๊ ถ้าแอ่นจนน่าเกลียด ก็จำเป็นต้องเสริมกลางล่ะ และนี่ก็จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นระหว่าง Owner , EPC และ Installer ต้องระมัด ระวัง ตกลงกันให้ดีว่า ถ้าเกิดปัญหานี้แล้ว ภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปตกอยู่ที่ใคร? ไม่เช่นนั้นก็อาจะหมางใจกันได้ แล้วก็มาสรรเสริญ เยินยอกันใน facebook กันอีกเน้อ !!! ^l^''

♠ และที่เจอมาอีกปัญหาหนึ่งคือ แผงใหม่ขนาดใหญ่ และโครงอลูมิเนียมของแผงก็แข็งแรง รับได้สบายๆ แต่ดั๊นไปเจอโครงสร้างหลังคา ที่มีระยะแปห่างมาก 1.5 ม.  ( ส่วนใหญ่ระยะแปประมาณ ไม่เกิน 1.2 เมตร ขึ้นกับการออกแบบโครงสร้างแต่ละแห่ง) การจับยึด Mounting จึงต้องมีการเพิ่ม ราง (Rail) เสริมตรงกลางระหว่างแผง อีก 1 เส้น เสริมความความแข็งแรงของMounting เพื่อไม่ให้แผงแอ่น หรือตกท้องช้าง ดังรูปด้านล่าง 

วันนี้เอาพอหอมปาก ขมคอแค่นี้ก่อน ไปเจอไรมา นึกไรออก ก็จะมาบอกกล่าว เล่าสู่กันฟัง ครับ ^L^..^L^