fbpx

          พาไปเที่ยวต่างประเทศมั่งดีฝ่า จะได้รับรู้ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของแวดวงโซล่าเซลล์ ทั่วโลกว่าเค้ากำลัง พูดคุย เรื่องอะไรกันอยู่

          ซึ่งจากที่ติดตามมา ปี  2016 - 2017 ก็จะตื่นตัวเรื่อง Energy Storage เพราะพี่อีลอน มัสก์ (แห่งรถไฟฟ้า เทสลา) จุดกระแสเรื่องโรงงานสร้างแบตเตอรรี่ lithium-ion energy storage ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ทำให้บริษัท ที่อยู่ในแวดวงโซล่าเซลล์ ก็ต้องออกข่าวคราว เกี่ยวกับการพัฒนา lithium-ion กันยกใหญ่ ซึ่งก็คงต้องรอดูอีกสักระยะหนึ่งนะ ที่หวังว่า ราคาจะถูกลงและอายุการใช้งานนานขึ้น จนทำให้ถึงจุดคุ้มทุนในเร็ววัน

 

          ปี 2018 เรื่อง energy storage ก็ยังคงพูดถึงกันอยู่ อย่างต่อเนื่อง แต่ก็มองว่าอาจจะมีการพูดเกี่ยวกับระบบ โซล่าเซลล์ที่นำมาต่อ ที่ชาร์จไฟรถยนต์ หรือที่เรียกว่า EV Charger มากขึ้นเพราะแนวโน้มรถไฟฟ้า เพิ่มขึ้น ก็ต้องคอยดูกันต่อไป

          มาต่อกันที่ เว็บไซท์ www.solarpowerworldonline.com  ได้รวบรวมข้อมูล อินเวอร์เตอร์ยอดนิยม ของปี 2017 ( 2017 TOP SOLAR INVERTER ) ตัวเด่นๆ ที่มีผู้สนใจกันเยอะในต่างประเทศ ตามมาดูกันเลย...

บทความนี้ อย่าเชื่อเราทั้งหมด เพราะแปลภาษาอังกฤษแบบ Snake Snake Fish Fish และใช้ google translate ช่วยด้วย ดังนั้นอาจมีความผิดพลาด และบางส่วนเราใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปด้วย หากต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ แนะนำให้เข้าไปอ่านที่ต้นฉบับ ตามลิงค์นี้ 2017 Top Solar Inverter Products น่าจะดีกว่าครับ และขอไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปอ้างอิงใดๆ

 

1.ประเภทไมโครอินเวอร์เตอร์ MICRO INVERTERS

    1.1 ยี่ห้อ APsystems  รุ่น YC600  >>> เป็นไมโครอินเวอร์เตอร์ แบบแพ็คคู่ ที่ให้กำลังงานสูงสุดได้ 300 วัตต์ต่อช่อง ( ใน1 ตัว มี 2 ช่อง ) รองรับหรือมีฟังก์ชั่น rapid shutdown รองรับ PV ทั้งแบบ 60 และ 72 เซลล์ มีช่วงของรองรับแรงดันที่กว้าขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่มากขึ้นด้วย 

 ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     1.2 ยี่ห้อ CyboEnergy รุ่น CyboInverter Nx   >>> ตัวนี้เป็นอินเวอร์เตอร์ อ๊อฟกริด เน้นว่ารุ่น 1.2 kW ใช้กับแอร์ 9,000 BTU , 2.4 TWIN PACK ใช้กับแอร์ 18,000 BTU ใช้ร่วมกับแบตเตอรี่ 48 V. ด้วยก็ได้แต่ไม่บังคับ และได้รับการจดสิทธิบัตรด้วย

          *** แต่ดูจากรูปแล้วน่าจะเป็นไฟ 60 Hz , 110 V ที่โซนอเมริกา เค้าใช้งานซะมากกว่านะครับ

 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     1.3 ยี่ห้อ Enphase  รุ่น Energy IQ  >>>  เป็นไมโครอินเวอร์เตอร์ ออนกริด มีฟังก์ชั่น rapid shutdown ประสิทธิภาพสูงถึง 97% CEC (California Energy Commission) efficiency และชูจุดเด่นที่มีเทคโนโลยี “Burst Technology” ที่ยังช่วยให้เครื่องไมโครอินเวอร์เตอร์สามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้นในยามเช้ามืดและในสภาวะที่มีแสงน้อยเป็นเวลานานในการถ่ายเทพลังงานแสงอาทิตย์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. String / Central Inverter

     2.1 ยี่ห้อ Chint Power Systems 50 & 60 kW, three-phase   >>>  อินเวอร์เตอร์ ออนกริด 3 เฟส ทั้งแบบ 50 Hz (ใช้ในไทย) และ 60 HZ ( ที่ใช้นอเมริกา) จะติดตั้งบนหลังคา หรือบนพื้นดินก็ได้ รองรับการต่อสายได้ 15 String มีชุดทั้งแบบกล่องต่อสาย (Combiner Box)รวมอยู่ด้วย หรือแบบแยกกล่องต่อสาย สามารถติดตั้งตัวอินเวอร์เตอร์ 0 - 90 องศา (หรือวางนอนได้นั่นแหละครับ) จุดเด่นอีกอย่างคือ ออกแบบให้ DC to AC Ratio สูงมากถึง 1.5 เท่า  ( ทั่วๆไปส่วนใหญ่ อยู่ที่ 1.2 เท่า   แต่ช่วงหลังๆนี้ SMA ก็เริ่มออกรุ่น 1.5 เท่าแล้วเหมือนกันนะ )

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.2 Delta Products Scalable PCS and storage system  >>>  ตัวนี้เน้นเป็น Central Inverter ขนาด 125 - 500 kW. มาพร้อมกับ  lithium-ion energy storage ที่มีความจุมากสูงสุดถึง 1 MWh.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.3 ยี่ห้อ Fronius รุ่น Primo  >>>   อินเวอร์เตอร์ ออนกริด 1 เฟส ขนาดตั้งแต่ 3.8 - 15 kW. สำหรับบ้านพักอาศัย ออกแบบตัวเครื่องที่เพรียวบาง น้ำหนักเบา มีระบบ dual powerpoint trackers ( ซึ่งบอกตามตรงก็ยังไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไหร่ดอกหนา ) มีแรงดันฝั่งอินพุทที่กว้าง ทำให้ช่วงที่ผลิตไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น มี่อุปกรณ์ Data Logger ในตัวทำให้ดูข้อดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ของผู้ใช้งานได้มากมาย ตลอดจนมีอินเทอร์เฟซ Wi-Fi และ SunSpec Modbus

++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.4 ยี่ห้อ GE รุ่น LV5 1,500 V  >>> หากผู้ที่ต้องการเสาะหา ต้นทุนการติดตั้งระบบพลังงานที่ลดลง รุ่นนี้คือทางเลือก LV5 ซึ่งรองรับการต่อใช้งานที่ 1,500 V.  ( ในปัจจุบันส่วนใหญ่ในแต่ละสตริง จะรองรับการต่อที่ 1,000 V. ) ดังนั้นก็จะทำให้ต้นทุนระบบ ลดต่ำลงถึง 3 %  และเค้าเคลมว่าลดค่าบำรุงรักษาได้ 15 %

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.5 ยี่ห้อ Ginlong Technologies รุ่น Solis three-phase, 50-66kW  >>> อินเวอร์เตอร์ออนกริด ขนาด 50 - 66 kW.  เป็นชุดติดตั้งที่แบ่งเป็น 2 ชิ้น ทำให้ประหยัดแรงงานติดตั้ง มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งกล่องสายไฟ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.6 ยี่ห้อ Huawei  รุ่น SUN2000-45KTL-US-HV-D0  >>>  อินเวอร์เตอร์ ออนกริด ขนาด 50 kW. ที่รองรับระบบ 1,5000 V. ทำให้ผู้ต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ประหยัดเงินลงทุนเป็นอย่างมาก รวมทั้งค่าบำรุงรักษาก็ลดลงไปด้วย ***สำหรับในไทย ถ้าจะแข่งราคา รุ่นนี้ก็น่าสนใจเป็นที่สุด และมาแรงมากด้วยนะสิบอกให้***

++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.7 ยี่ห้อ Ideal Power  รุ่น 30-kW Stabiliti series  >>>  ออนกริด แบบมี Storage รวมอยู่ด้วย ซึ่งสามารถบริหารจัดการพลังงานสำรอง ตัวนี้น่าจะเหมาะกับโรงงานที่ต้องการระบบแบ็คอัพไฟฟ้า กรณีที่ไฟจากการไฟฟ้าฯดับ ซึ่งทำให้ประหยัดค่าน้ำมันสำหรับเจ็นเนอร์เรเตอร์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.8 ยี่ห้อ Ingeteam รุ่น Power Station U   >>>   อินเวอร์เตอร์ ขนาดใหญ่ 7.2 MW. ซึ่งมี 4 ตัวรวมอยู่ ใช้สำหรับงานมีเดี้ยมโวลท์ ซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆในงานมีเดี๊ยมโวลท์ รวมมาแล้ว เช่น สวิทช์เกียร์ เป็นต้น

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.9 ยี่ห้อ KACO รุ่น new energy blueplanet 125.0 TL3  >>>   เป็นรุ่นรองรับแรงดันไฟฟ้า 1,500 V. มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 70 ก.ก.  มีพอร์ทเชื่อมต่อ ethernet 2 พอร์ท เพื่อสามารถรีโมทดูข้อมูลได้จากระยะไกล สะดวกในการบำรุงรักษา และประสิทธิภาพสูง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.10 ยี่ห้อ SMA America รุ่น Sunny Tripower CORE1  >>> ยี่ห้อยอดนิยม ขึ้นหิ้ง ที่ใช้ในไทยกันมากมาย แต่ที่ออกมารุ่นนี้ (***น่าจะทำราคาให้ถูกลง เพื่อจะได้มาบี้ แข่งกับหัวเหว่ย รุ่น 50 kW. เป็นแน่แท้ ***) ซึ่งเค้าเคลมว่าทำให้ติดตั้งได้เร็วขึ้น 60 % และจุดคุ้มทุนเร็วขึ้น โดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ อ็อพชั่นเสริมเพิ่มเติมแต่อย่างใด

+++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.11 ยี่ห้อ SolarEdge Technologies  รุ่น Inverter-integrated EV charger  >>>  พัฒนาไปอีกขั้นสำหรับอินเวอร์เตอร์ โซล่าเอดจ์ ที่ได้รวมเอา EV Charge รวมอยู่ในตัวด้วย ซึ่งเคลมว่ามีความสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ได้เร็วกว่าแท่นชาร์จแบบมาตรฐาน มากกว่า 6 เท่า  *** โซล่าฮับมองว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ รุ่นที่มี EV Charger ก็น่าเป็นที่น่าสนใจมากขึ้นแน่ ***

++++++++++++++++++++++++++++++++++

     2.12 ยี่ห้อ Yaskawa Solectria Solar รุ่น Solectria XGI 1000  >>> เป็น ออนกริด รุ่น 60 และ 65 kW. มี 4 MPPT  ออกแบบและผลิตขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีอายุการใช้งานทีี่ยาวนาน

+++++++++++++++++++++++++++++++++

3 POWER OPTIMIZER

     3.1 ยี่ห้อ Alencon Systems รุ่น SPOT-ES  >>>   เป็น DC -DC Optimizer ที่เป็นอุปกรณ์ปรับแต่งไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ ให้เหมาะสมกับอินเวอร์เตอร์ต้องการ 

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

     3.2 ยี่ห้อ Tigo รุ่น TS4  >>>  เป็น Optimizer แบบ ยูนิเวอร์แซล แพลทฟอร์ม ซึ่งเคลมว่าใช้ทำงานร่วมกับโมดูล สมาร์ทอินเวอร์เตอร์ ได้มากกว่า 2,000 ชนิด

++++++++++++++++++++++++++++++++++

Thank You for the best content at https://www.solarpowerworldonline.com/2017-top-solar-inverter-products/

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก https://www.solarpowerworldonline.com/

บทความนี้ อย่าเชื่อเราทั้งหมด เพราะแปลแบบ Snakeๆ Fishๆ และใช้ google translate ช่วยด้วย ดังนั้นอาจมีความผิดพลาด และบางส่วนเราใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปด้วย หากต้่องการข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ แนะนำให้เข้าไปอ่านที่ต้นฉบับ ตามลิงค์ด้านบน น่าจะดีกว่าครับ และขอไม่รับผิดชอบหากท่านนำไปอ้างอิง