fbpx

( ไม่ใช่โฆษณา แต่ อวยใส้แตก แหกใส้ฉีก SolarEdge ห้ามลอกเลียนแบบครับ )

***แล้วมี Power Optimizer มันดียังไง? 

จาก ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode1) กล่าวถึง ไปแล้ว 3 ข้อ 

-----------------------------------------------------------

***การติดอุปกรณ์  Power Optimizer มี 2 แบบ คือถ้าใช้อินเวอร์เตอร์รุ่นเล็ก เช่น 5 หรือ 10 kW. ก็จะติดตั้ง Power Optimizer 1ตัวต่อ1 PV , รุ่น 25 หรือ 27.6 kW. ติดตั้ง Power Optimizer 1ตัวต่อ2 PV ***

     4.การมอนิเตอร์ระบบ หากใช้อินเวอร์เตอร์ ที่ไม่มี Power Optimizer การดูประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า ก็จะดูได้เป็นราย String (อาจเป็น 5 - 25 แผง ขึ้นอยู่กับการจัดString ของอินเวอร์เตอร์แต่ละรุ่น) ดังนั้นหากประสิทธิภาพของระบบลดลง อย่างผิดปกติ เราก็ต้องทำการ หยุดระบบเพื่อทำการตรวจสอบเป็นรายแผง ว่าแผงใดกันแน่ที่เสีย (โดยอาจใช้ I-V Checker ตรวจสอบ ไล่ไปทุกแผง) ซึ่งก็อาจทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบพอสมควร

 

     แต่สำหรับ SolarEdge มีการติดตั้ง Power Optimizer ใต้แผง ดังนั้นจึงทำให้สามารถมอนิเตอร์กำลังการผลิตได้เป็นรายแผง แบบเรียลไทม์ (หรือราย2แผง หากใช้รุ่น 1ตัว ต่อ 2 แผง) โดยเราไม่ต้องปิดระบบเพื่อทำการตรวจสอบ เพราะเราสามารถดูความผิดปกติได้เลย ตามรูปตัวอย่างด้านล่างนี้

 

     5.อินเวอร์เตอร์ แบบไม่มี Power Optimizer รุ่นที่มีหลาย MPPT (Maximum Power Point Tracking) การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ช่างหรือผู้ติดตั้งจะต้องรับทราบหลักการพื้นฐานว่า แผงที่อยู่ใน MPPT เดียวกันจะต้องติดตั้งตำแหน่งที่รับแสงอาทิตย์มุมเดียวกัน เพื่อจะได้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด สมมติเช่นเราติดตั้งแผงฯบนหลังคาจั่ว เราก็จะต้องวางแผงฯ ที่อยู่ใน MPPT เดียวกัน ให้อยู่บนหลังคาฝั่งเดียวกัน แต่หากพื้นที่ไม่พอ เราก็จะต้องออกแบบให้อีกฝั่งหนึ่งเป็นของ อีก MPPT หนึ่ง ดังตัวอย่างข้างล่าง

     จากรูปด้านบนจะเห็นว่า มีพื้นที่หลังคาเหลือให้ติดตั้งแผงได้อีก ดังนั้นจึงไม่เป็นปัญหาเพราะเราสามารถติดตั้งแผงฯให้อยู่ในฝั่งเดียวกันได้ แต่หากพื้นที่ไม่เพียงพอก็เป็นการยากในการออกแบบติดตั้งให้อยู่ในฝั่งเดียวกัน

     กรณีใช้อินเวอร์เตอร์ SolarEdge เราสามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ที่อยู่ใน MPPTเดียวกัน ให้อยู่คนละฝั่งกันได้ เนื่องจากมีการติดตั้ง Power Optimizer ที่ใต้แผงฯ คอยปรับแต่งค่าทางไฟฟ้า ให้เหมาะสมตามที่อินเวอร์เตอร์ต้องการ นั่นเอง ซึ่งนี่ก็คือข้อดีอีกข้อหนึ่ง คือง่ายในการออกแบบติดตั้ง ในพื้นที่ที่มีอยู่จำกัด

 

 

     6.เมื่อเราติดตั้งไปได้สักระยะหนึ่ง ก็อาจจะเริ่มพบเจอบ้าง ที่แผงโซล่าเซลล์บางโมดูล เสียหรือเสื่อมประสิทธิภาพลง ซึ่งก็จะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของอินเวอร์เตอร์ ตัวนั้นๆลดต่ำลงไป ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยนแผงโซล่าเซลล์ โมดูลนั้นเสีย ซึ่งถ้าเป็นอินเวอร์เตอร์ แบบไม่มี Power Optimizer แผงที่จะมาทดแทนเราก็ต้องหา แผงโซล่าเซลล์ ขนาดกำลังไฟฟ้าเท่ากันกับแผ่นเดิม (เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบ) ซึ่งระยะเวลาผ่านไป อาจจะหาแผงฯขนาดกำลังไฟฟ้าเท่าเดิมไม่ได้ กรณีนี้อาจต้องเปลี่ยนทั้ง String เพื่อให้ได้ Performance ได้เท่าเดิม

     แต่หากเป็นระบบที่ใช้อินเวอร์เตอร์ SolarEdge แล้วก็อาจจะไม่ต้องใช้แผงฯ ขนาดเท่าเดิม เพราะมีการติดตั้ง Power Optimizer ที่ใต้แผงฯ คอยปรับแต่งค่าทางไฟฟ้า ให้เหมาะสมตามที่อินเวอร์เตอร์ต้องการ นั่นเอง

สำหรับระบบที่ใช้อินเวอร์เตอร์ SolarEdge หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแผงฯ เราอาจใช้แผงฯ ที่ต่างรุ่น ต่างขนาดได้ กับแผงเดิมได้ *(แต่ต้องอยู่ในช่วงขนาดตามที่Spec กำหนด) เพราะมี Power Optimizer คอยปรับแต่งค่าทางไฟฟ้าให้เหมาะสมที่อินเวอร์เตอร์ต้องการ

 

ตอนหน้า Episode 3 เรามาว่ากันถึงเรื่องอื่นๆ สำหรับ อินเวอร์เตอร์ SolarEdge กันมั่งดีกว่า พูดข้อดีมาเยอะแล้ว 

ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode3)

ว่าด้วยเรื่องอินเวอร์เตอร์ ออนกริด ยี่ห้อ SolarEdge (Episode1)

--------------------------------------------------------------------------------------

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัว ของทีมงานโซล่าฮับเท่านั้น ห้ามนำไปอ้างอิงเป็นมาตรฐานใดๆทั้งสิ้น และจะไม่รับผิดชอบใดๆ หากท่านนำไปอ้างอิงนะครับ