fbpx

ทำไมต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ ประเภท Poly Crystalline ในการติดตั้งระบบการผลิตไฟฟ้า บนหลังคา ใช้ Mono , Thin Film ไม่ได้เหรอ?

นี่คือคำถามที่ เราได้รับมาจากการไปนำเสนอโรงงานหรือสำนักงานที่มีความสนใจจะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า คำตอบช่วงแรกๆของเราก็ ตอบไปตามตรงว่า ก็ต่างประเทศส่วนใหญ่ เค้าก็ใช้ Poly กันทั้งนั้นแหละ แต่คำตอบลึกๆแล้ว เราก็ให้ความกระจ่างไม่ได้ ว่าเพราะเหตุใด?

 

ซึ่งเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางเราทีมงานโซล่าฮับ จึงได้จัดเตรียม เงินทุน อุปกรณ์ ทีมงาน นักวิชาการ เพื่อจะทำการวิจัย เรื่องนี้อย่างจริงจัง ว่าเพราะอะไรกันแน่ ที่ต้องใช้ แผงโซล่าเซลล์ ชนิด Poly Crystalline...(แฮร่ อันนี้โม้ ครับ)

แต่ เดี๊ยวก่อน ช่วงที่เรากำลังจะดำเนินการอยู่แล้ว ก็ได้ไปเจอ วิศวสารลาดกระบบัง ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นบทความทางวิชาการของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมกับ ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ (STL) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ในการทำงานวิจัย ได้ทำทดลอง ประเมินสมรรถนะ และความคุ้มค่าของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบหลายเทคโนโลยีที่ติดตั้งบนหลังคาการประเมินสมรรถนะ และความคุ้มค่าของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบหลายเทคโนโลยีที่ติดตั้งบนหลังคาในประเทศไทย Evaluation of Rooftop Solar PV Performance of Different PV Module Technologies operating in Thailand

 ผลการประเมินสมรรถนะ (Performance ratio : PR) และความคุ้มค่าของเทคโนโลยีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่แตกต่างกันโดยติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ 6 ระบบบนหลังคาในประเทศไทยด้วยการบันทึกข้อมูลในระยะเวลา 1 ปี พบว่า

1.ระบบของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด a-Si:H มีค่าสมรรถนะสูงที่สุดเท่ากับ 82.2% ===>> a-Si:H คือ Amorphous Silicon Single-Junction  หรือที่เราเรียกว่า อมอร์เฟียส

2.ขณะที่ระบบของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด mono c-Si มีค่าสมรรถนะตํ่าที่สุดเท่ากับ 68.9%   ===>> mono c-Si  ที่เราเรียกว่า โมโน คริสตัลไลน์

3.ความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พบว่า เทคโนโลยีของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมสำหรับระบบ Solar Rooftop ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน คือ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด poly c-Siซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่รู้จัก และใช้งานกันอย่างแพร่หลายทำให้มีราคาถูก ===>> poly c-Si  พระเอกของเรา โพลี่ คริสตัลไลน์

4.แต่ในอนาคตถ้าหากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด HIT มีราคาถูกลงอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เนื่องจากให้ค่า Yield / Area สูงที่สุด ===>> Hetero-Junction with Intrinsic Thin Film  หรือที่เราเรียกว่า ธินฟิล์ม

*** สำหรับข้อ 4 นี้ ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะดีจริงหรือป่าวในระยะยาว เพราะนี่คือการทดลองแค่ระยะเวลาสั้นๆ 1 ปี ประกอบกับได้ยินจากผู้ที่ใช้ Thin Film ติดตั้งโซล่าฟาร์ม มาแล้ว 4-5 ปี พบว่า ประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก เมื่อเข้าย่างเข้าสู่ปีที่ 4 ***

สรุปก็ได้คำตอบอย่างชัดเจนแล้ว เพราะมีหน่วยงงานของรัฐได้ทำการทดลองแล้วเมื่อ ปี 2558 ว่า Poly Crystalline ในขณะนี้เหมาะสุดแล้ว ท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณ สวทช. , สจล. และ ปตท. ที่ได้อนุเคราะห์ข้อมูล  (ไม่งั้นเดี๊ยวโซล่าฮับ ต้องควักทุนวิจัยเองอีกหลายพันล้านแน่เลย....)

หากท่านใดยังไม่สะใจในรายละเอียด ก็ดาวโหลดไปอ่านอย่างละเอียดที่ http://solarhub.co.th/content/performance-solarcell-thailand.pdf