fbpx

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ (พ.ค.60) เทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอุปกรณ์หลัก 2 อย่างที่เป็นหัวใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ คือ แผงโซล่าเซลล์ และ อินเวอร์เตอร์ วันนี้ขอกล่าวถึงประเภทของ Solar Inverter ที่มีวิวัฒนาการให้มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับการใช้งานในแต่ละประเภท 

Solar Inverter มีหน้าที่แปลงไฟฟ้า DC (จากแผงโซล่าเซลล์) ให้เป็นไฟฟ้า AC เพื่อนำมาต่อโหลดเพื่อใช้งานต่อไป 

ต้องขอออกตัวก่อน ว่าข้อมูลที่กล่าวถึงด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลโซล่า อินเวอร์เตอร์ ที่ทีมงานโซล่าฮับไปเจอะเจอมา ณ ในเวลานี้ (พ.ค.60) ซึ่งต่อไป อาจจะมีพัฒนาการหรือมี Innovation ที่เพิ่มความสามารถของ อินเวอร์เตอร์ ที่มากยิ่งๆขึ้นไปอีก หรือหากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแบ่งปัน หรือเห็นว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง รบกวนแจ้งมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ facebook.com/solarhub.co.th เพื่อทางทีมงานจะได้ตรวจสอบแก้ไขต่อไปครับ ทั้งนี้ก็จะได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันครับ

 

1. Central Solar Inverter : เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ขนาดใหญ่ ที่พบเจอในตลาดทั่วไปก็มีขนาดตั้งแต่ 100 kW. - 2,500 kW. ส่วนใหญ่จะใช้ ในโซล่าฟาร์ม หรือ PV Plant ขนาดใหญ่ที่มีการติดตั้งกำลังการผลิตเป็นหลายๆเมกกะวัตต์ สะดวกในการติดตั้งระบบใหญ่ๆ แต่อาจมีข้อด้อยคือ หากตัวอินเวอร์เตอร์เสีย สัก1ตัว ก็จะทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบลดลงอย่างมากเช่น PV Plant ขนาดกำลังการผลิต 10 MW โดยใช้Central Solar Inverter ขนาด 1,000 kW จำนวน 10 set หากเสียไป1 ตัว ก็ทำให้ Performance หายไปตั้ง 10% ซึ่งหากเราใช้อินเวอร์เตอร์ ที่ขนาดเล็กๆลง หากเสียไปสัก1 ตัว Performanceก็คงตกลงไปไม่มาก


***แบรนด์ หรือยี่ห้อที่ผลิตจำหน่าย อาทิ เช่น AEG Power solution , Eaton , GE Power Conversion , Ingeteam , Parker Hannifin , Power Electronics , Satcon , Schneider Electric , SMA , Ingeteam INC. เป็นต้น

แนวโน้มในอนาคต สัดส่วนการใช้งาน Central Solar Inverter จะลดน้อยลง ซึ่งจะมีการใช้String Solar Inverter เพิ่มมากขึ้น

 


2. String Solar Inverter : เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ขนาดเล็ก ตั้งแต่ 2 - 60 kW. ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ ที่เรานำมาติดตั้งใช้งานตามบ้าน สำนักงาน หรือโรงงาน ที่ส่วนใหญ่ติดตั้งบนหลังคา หรือดาดฟ้า เนื่องจากกำลังการผลิตและขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้ง

การต่อใช้งานก็โดยการที่นำ แผงโซล่าเซลล์ มาอนุกรม และหรือ ขนานกัน ให้ได้ค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือกำลังไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับที่ String Solar Inverter ต้องการ แล้วอินเวอร์เตอร์ก็แปลงไฟฟ้า DC จากแผง ให้เป็นไฟฟ้า AC แล้วขนานหรือเชื่อมต่อเข้ากับไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ ที่เมนเบรคเกอร์ หรือ MDB ของเรา 
***แบรนด์ หรือยี่ห้อที่ผลิตจำหน่าย อาทิ เช่น ABB , Fronius , Ginlong(Ningbo) Technologies , KACO , Pika Energy , Schneider Electric , SMA , HUAWEI , Ingeteam INC. เป็นต้น

 


3.Solar Inverter แบบมี Power Optimizer : เป็นออนกริด อินเวอร์เตอร์ ประเภทหนึ่งซึ่งมีพัฒนาการเพื่อทำให้ อินเวอร์เตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการเพิ่มอุปกรณ์ Power Optimizer ไปติดตั้งที่ใต้แผงโซล่าเซลล์ แต่ละแผง (บางรุ่น 1 Power Optimizer ต่อได้ 2 PV) เพื่อทำหน้าที่ในการปรับแต่งค่าแรงดันไฟฟ้า DC ที่มาจากแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมก่อน (DC to DC) แล้วจึงส่งต่อไปยัง Inverter เพื่อแปลงเป็น ไฟฟ้า AC นำไปใช้งานต่อไป

***แล้วมี Power Optimizer มันดียังไง? มีข้อดีหลายอย่าง เช่น

 

     - หากบางแผงถูกบดบังแสง หรือเกิดเงา ถ้าเป็นแบบ String Solar Inverter ทั่วไปค่ากำลังไฟฟ้าที่ได้ก็ลดลงไปทั้ง String ( อาจจะ10 - 20 แผงขึ้นอยู่กับขนาดของแผง ) แต่ถ้ามี Power Optimizer แล้วแต่ละแผงจะทำงานแยกเป็นอิสระ จึงทำให้ทุกแผงผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดในขณะนั้น ทำให้กำลังไฟฟ้าลดลงเฉพาะแผงที่มีเงาบังเท่านั้น

     - มอนิเตอร์กำลังการผลิต หรือเหตุเสีย ได้เป็นรายแผง แต่หากเป็น String Solar Inverter ก็จะดูได้เป็นรายString

     - กรณีString Solar Inverter หากปิดระบบ หรือ Off Power ของ อินเวอร์เตอร์ ในเวลากลางวัน แผงโซล่าเซลล์ ก็ยังผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจมาแรงดันมากถึง 500-800 VDC ส่งต่อมายังอินเวอร์เตอร์  แต่หากเป็นSolar Inverter แบบมี Power Optimizer เมื่อปิดระบบฯ ก็จะปรับแรงดันลงมาให้เหลือเพียง 1 โวลท์ เท่านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน

***แบรนด์ หรือยี่ห้อที่ผลิตจำหน่าย ที่พบเห็นมีอยู่4 ยี่ห้อ SolarEdge , Tigo Energy , Alencon Systems และ Pika Energy

 

 

 

4.Solar MicroInverter : ก็เป็นโซล่า อินเวอร์เตอร์ ที่มีทั้งแบบออนกริด หรือแบบอ๊อฟกริด โดยทางสถาปัตยกรรมก็คือ ทำตัวอินเวอร์เตอร์ให้เล็กลง แล้วไปติดตั้งที่ใต้แผงโซล่าเซลล์ โดยอาจจะต่อ โดยใช้ MicroInverter 1ตัว:1แผง , 1ตัว:2แผง หรือ 1ตัว:4แผง  แล้วแต่ที่แต่ละยี่ห้อจะผลิตออกมาจำหน่าย ซึ่งเอาท์พุทที่ออกมาจาก MicroInverter ก็เป็นไฟฟ้า AC ที่นำไปต่อใช้งานได้เลย ไม่ต้องมีอะไรซับซ้อน

ซึ่งอินเวอร์เตอร์ ประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ และมีหลายยี่ห้อที่แข่งขันกันปรับปรุงและพัฒนากันค่อนข้างมาก อันเนื่องจากผู้ใช้งานทั่วไปสามารถติดตั้งใช้งานได้เอง เคลื่อนย้ายได้สะดวก มีชุดติดตั้งแบบง่ายๆ จำนวนไม่กี่แผง อีกทั้งทำใช้งานเป็นระบบอ๊อฟกริด (สถานที่ที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟ ของการไฟฟ้า) ก็ง่าย

สำหรับในประเทศไทยก็เริ่มมีคนนำมาจำหน่ายกันบ้างแล้ว แต่คงอีกสักระยะหนึ่งที่จะรู้จักกันมากขึ้นและความต้องการก็คงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็เหมาะที่ติดตั้งสถานทีที่ไม่มีไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯ หรือบ้านหรือที่พักตากอากาศชั่วคราว ในช่วงวันหยุด ทีใช้ไฟฟ้าไม่มากมายนัก และทำการติดตั้งโดยผู้ใช้งานเองครับ

***แบรนด์ หรือยี่ห้อที่ผลิตจำหน่าย และได้รางวัล 2016 Top Solar MicroInverter Products มีอยู่ 6 ยี่ห้อ ประกอบด้วย APsystems , CyboEnergy , Darfon America Corp. , Enphase Energy , KACO new energy และ Magnum Energy แต่จริงๆแล้วก็มีแบรนด์ จากประเทศจีนอีกมากมายหลายยี่ห้อที่มีจำหน่าย ลองไปค้นดูได้ที่เว็บ alibaba.com ครับ

 

5.Off Grid Solar Inverter : เป็นโซล่า อินเวอร์เตอร์ แบบอ๊อฟกริด ซึ่งหมายถึงเป็นอินเวอร์เตอร์ที่แปลงไฟฟ้า DC จากแผงโซล่าเซลล์ ให้เป็นไฟฟ้า AC แล้วนำไปต่อใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องไปขนานหรือเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ (ที่เราเรียกว่า GRID นั่นเอง) ซึ่งระบบอ๊อฟกริดนี้ ส่วนใหญ่ก็จะต้องมีระบบแบตเตอรี่ และชาร์จเจอร์ มาต่อร่วมด้วยเพื่อทำหน้าที่เก็บสำรองพลังงานไฟฟ้าไว้ ตอนที่ไม่มีแสงแดด ซึ่งอินเวอร์เตอร์ประเภทนี้ก็เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯเข้าถึง แต่ต้นทุนของระบบนี้ก็ยังมีข้อจำกัดที่แบตเตอรี่ในปัจจุบันยังมีราคาสูง และอายุการใช้งานแบตเตอรี่ 2-5 ปี แต่ขอคาดการณ์ไว้ว่าไม่น่าเกิน 5 ปี แบตเตอรี่ราคาจะถูกลง และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น เนื่องจาก นายคนนี้ครับ ELON MUSK (อีรอน มัสก์) เพราะอะไรอ่านบทความที่นี่ได้  และระบบอ๊อฟกริด ก็จะเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งก็จะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงโลกของเราจริงๆ

***ลองคิดเล่นๆครับ ถ้าเรามีแบตเตอรี่ ที่อายุการใช้งานนาน 25 ปี แล้วราคาลูกละ50,000บาท ถ้าที่บ้านอยู่กัน 2 คนใช้แบต 1ลูก , ถ้าที่บ้านอยู่กัน 3-4 คน ใช้แบต 2ลูก , อยู่กัน 5-8 คน ใช้แบต 4 ลูก  ผมก็ซื้อนะ แล้วก็ไม่ได้เสียค่าไฟจากการไฟฟ้าฯเลย ตลอด25ปี (ผมมโน..ครับ ไม่ต้องเชื่อผม)

 

6.Hybrid Solar Inverter : ไฮบริดส์ โซล่า อินเวอร์เตอร์ บางสำนักหรือบางท่านอาจบอกว่า แบ่งได้เป็นแบบ ไฮบริดส์ อ๊อฟกริด  และ ไฮบริดส์ ออนกริด แต่อย่างที่บอกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีไปไวมาก ตอนนี้ก็มีแบบว่ามาเต็ม ทั้ง 2 ฟีเจอร์ (คือทั้งไฮบริดส์ อ๊อฟกริด  และ ไฮบริดส์ ออนกริด ในตัวเดียวกันเลย) เพียงแต่เราตั้งค่าว่าจะให้มันเป็นอ๊อฟกริด หรือออนกริด เท่านั้นเอง สามารถอ่านรายละเอียดบทความ คุ้มไม๊? ถ้าติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ แบบไฮบริดส์ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ลงลึกรายละเอียดของระบบไฮบริดส์

     - ไฮบริดส์ อ๊อฟกริด ความหมายคือ อินเวอร์เตอร์ รับไฟ ได้จากหลายแหล่ง เช่น ไฟจากแผงโซล่าเซลล์ ไฟจากการไฟฟ้า ไฟจากเครื่องปั่นไฟ หรือไฟจากกังหันปั่นไฟ เป็นต้น แล้วในระบบก็มีแบตเตอรี่ เพื่อเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วย ไว้สำรองกรณีไม่มีแสงแดด โดยสามารถตั้งค่าให้รับไฟจากแหล่งใดก่อก็ได้ เช่นเวลากลางวัน ก็ใช้ไฟจากแผงโซล่าเซลล์ พอกลางคืนใช้ไฟจากแบตเตอรี่ หากแบตเตอรี่ไฟหมด ก็ให้ใช้ไฟจากการไฟฟ้าฯ  สำหรับความหมายของอ๊อฟกริด คือในตอนกลางวัน ถ้าไฟจากแผงโซล่าเซลล์ ผลิตมามากเกินกว่าที่ใช้งาน ก็จะไม่เชื่อมต่อหรือไม่ขนานหรือไม่ใหลย้อนกลับไปยัง ระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ

     - ไฮบริดส์ ออนกริด เหมือนกับ ไฮบริดส์ อ๊อฟกริด ทุกอย่างยกเว้นถ้าไฟเหลือจากแผงโซล่าเซลล์ จะขนานหรือเชื่อมต่อหรือใหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ

***แบรนด์ หรือยี่ห้อที่ผลิตจำหน่าย มีมากมาย เช่น KOLSAT , GOODWE , Lantrun และในประเทศไทยที่เห็นว่ามีการติดตั้งกันเยอะพอควรก็ยี่ห้อ MUST แต่จริงๆแล้วก็มีแบรนด์ จากประเทศจีนอีกมากมายหลายยี่ห้อที่มีจำหน่าย ลองไปค้นดูได้ที่เว็บ alibaba.com ครับ

***สำหรับยี่ห้อ SMA ก็ใช้ ออนกริด อินเวอร์เตอร์ ของ SMA แล้วเพิ่มอุปกรณ์ SMA SUNNY ISLAND ก็สามารถทำให้เป็นระบบไฮบริดส์ ได้

***สำหรับยี่ห้อ SolarEdge ก็ใช้ ออนกริด อินเวอร์เตอร์ ของ SolarEdge แล้วเพิ่มอุปกรณ์ StroEdge ก็สามารถทำให้เป็นระบบไฮบริดส์ ได้