fbpx

*การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ บนหลังคา สำหรับโรงงาน หรือโครงการขนาดใหญ่

จากที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้านี้แล้วว่า หากจะจ้างทีมงานฯ เข้าไปบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ โดยที่ทีมงานของเราไม่ได้เป็นผู้ติดตั้ง นั้น อาจจะต้องมีการดูหน้างานก่อนว่า มี Facility หรือระบบสาธารณูปโภค อะไรไว้บ้าง สำหรับใช้ในการบำรุงรักษา และอีกทั้งระบบฯที่มีการติดตั้งไว้แล้ว ได้มาตรฐาน มากน้อยเพียงใด เพราะว่างานบำรุงรักษา ไม่ใช่แค่การล้างแผงเท่านั้น หากแต่เป็นการรับภาระ ทุกสิ่งอย่างที่ต้องทำให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ก่อนที่จะรับงานบำรุงรักษา เราก็ควรจะต้องจัดการปรับปรุงระบบฯ ให้อยู่ในสภาพที่ยอมรับได้ ว่าสามารถที่จะดูแลบำรุงรักษา ได้อย่างไม่เกิดปัญหาในอนาคตอันใกล้

ทีนี้ เราจะดูอย่างไรว่า ติดตั้งได้มาตรฐานป่าว ก็พูดยาก ว่าจะอ้างอิงมาตรฐาน จากไหน ข้อไหน อันใด จุดใด ประเด็นไหน... อีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าเปิดมาตรฐาน ทั้งต่างประเทศ และหรือในประเทศ บางอย่างก็อาจจะยังไม่ครอบคลุม ในทุกประเด็น หรือบางอย่างมาตรฐานมีระบุไว้ก็ นำมาปฏิบัติ หน้างานจริงไม่ได้ เพราะเขียนในจินตนาการ ไม่ได้เขียนจากผู้ปฏิบัติ เป็นต้น

อย่ากระนั้นเลย ขอยกตัวอย่างให้ดูเป็นแนวทาง ว่าจุดไหน หรือการติดตั้งแบบใดที่ ควรจะต้องปรับปรุงก่อนที่จะรับงานมาบำรุงรักษา

 

1.ไม่มีบ่อกราวด์ ของระบบ 

จากรูปจะเห็นว่าแค่เอาแท่งกราวด์ล็อด จิ้ม (ใช้คำว่าแหย่ดีกว่า) ลงดิน เท่านั้น และนำสายกราวด์ของอุปกรณ์ มาต่อไว้แบบไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งตามมาตรฐาน ค่าความต้านทานแท่งกราวด์ต้องได้ น้อยกว่า 5 โอมห์ ซึ่งดูด้วยตาเปล่า ตามรูปเกิน 5 โอห์มแน่นอน

*แล้วมีบ่อกราวด์ หรือวัดค่ากราวด์ ได้น้อยกว่า 5 โอห์ม มันดียังไงรึ? >>> กรณีที่มี ฟ้าผ่า หรือ ฟ้าลง บริเวณใกล้เคียงกับระบบโซล่าเซลล์ และหรือแรงดันกระโชก จากระบบโครงข่ายไฟฟ้า แล้วไหลกระโชกเข้ามายังระบบโซล่าเซลล์ ถ้าหากเราทำระบบกราวด์ ดีๆ ที่มีค่าความต้านทานต่ำกว่า 5 โอห์ม ซึ่งแรงดันจากฟ้าผ่า หลายหมื่นโวลท์ ก็จะไหลลงบ่อกราวด์ แล้วสลาย หายไปยังพื้นโลก ซึ่งก็จะไม่ทำให้เกิดอันตรายกับอุปกรณ์ (คล้ายๆว่า มีท่อน้ำขนาดใหญ่ บายพาสน้ำฝน ให้ไหลลงดินได้โดยสะดวก) แต่ถ้าเราไม่ได้ทำบ่อกราวด์ให้ดี ก็เหมือนกับ ท่อน้ำตัน ที่ไฟฟ้ากระโชกมาแล้วมันอั้น เพราะมันไหลลงดินยาก ดังนั้นจุดใกล้เคียงก็อาจเกิดการระเบิด  ทำอันตรายให้กับอุปกรณ์ นั่นเองครับ*

 ground1

วิธีแก้ไข ต้องทำบ่อกราวด์แบบเดลต้า หรือตอกแท่งกราวด์ล็อด ให้ลึก แล้ววัดค่าความต้านทาน ต้องให้ได้น้อยกว่า 5 โอห์ม ดังรูปตัวอย่างด้านล่าง ทั้งนี้จะต้องทำบ่อกราวด์กี่บ่อ แล้วแต่ละบ่อต้องบอนด์ ถึงกันหรือไม่ ขอเว้นไว้กล่าวในโอกาสต่อไปครับ ถ้ากล่าวถึงแล้วยาววว...

 

=====================================

2.ไม่มี Ground Test Box
โดยทั่วไปต้องมี Ground Test Box ไว้สำหรับปลดสายกราวด์ของอุปกรณ์ ออกจากแท่งกราวด์ ไว้สำหรับบำรุงรักษา และวัดค่าความต้านทานของบ่อกราวด์ และหรือวัดค่าของสายกราวด์

วิธีแก้ไข ตามตัวอย่างด้านล่าง ทำ Ground Test Box ซึ่ง อาจจะแยกเป็นฝั่ง DC หรือ AC ก็แล้วแต่หน้างาน เพราะค่อนข้างมีรายละเอียดเยอะ และขึ้นอยู่กับOwner จะไปอ้างอิงกับทฤษฎีของค่ายไหน? เอาไว้ค่อยกล่าวถึงเรื่องระบบกราวด์โยเฉพาะอีกครั้งน่าจะดีกว่า

 

 

=====================================

3.สายกราวด์ด้านบนหลังคา เล็กเกินไป
จากรูปใช้สายกราวด์ขนาด 4 Sq.mm. ตามมาตรฐาน ต้องไม่ควรต่ำกว่า 6 Sq.mm.

 

วิธีแก้ไข  เปลี่ยนสายกราวด์ เป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งตามมาตรฐานต้องไม่น้อยกว่าขนาด 6 Sq.mm. ( ต้องไปดูขนาดสายประธานฯ ของระบบว่า มีขนาดเท่าใด แล้วต้องใช้ขนาดให้สอดคล้อง กับมาตรฐาน วสท.)

==================================

4.เชื่อมต่อสายกราวด์ โดยไม่ปลอกสาย

กรณีหากเกิดการช็อต ,ฟ้าผ่า ,ฟ้าลง หรือไฟกระชาก กระแสไฟฟ้าก็จะ ไม่ไหลบายพาสลงบ่อกราวด์ ซึ่งก็ทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์

 วิธีแก้ไข ทำการตรวจสอบ ปลอกสายกราวด์ ขันน็อตยึด พร้อมตรวจสอบวัดค่าความต้านทาน ว่าโครงของแผงโซล่าเซลล์ กับระบบกราวด์ ต้องเชื่อมต่อถึงกัน

=====================================

 

 5. น็อตยึดรางเดินสายไฟ ฝาครอบราง และชุดต่อราง ใช้สกรูเกลียวปล่อย ที่ขันอัดยึดเข้าในราง

 กรณีนี้เป็นต้นเหตุที่สำคัญ ที่อาจทำให้ ปลายแหลมคมของสกรู โผล่ด้านในรางเดินสาย บาดสายไฟ ฉีกขาด ขณะที่ทำการติดตั้งสายไฟฟ้า แล้วทำให้สายไฟช็อตกันระหว่างสาย+,- และหรือช็อตลงโครงของรางสายไฟ 


วิธีแก้ไข ใช้ชุดสำเร็จของราง Wireway หรือ Perforated Tray ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ ชุดปิดฝารางหรือชุดต่อราง ที่ไม่ทำให้เกิดการบาดสายไฟฟ้า และหรือหากจะประหยัดจริง ไม่อยากใช้ของที่ได้มาตารฐาน ก็ใช้วิธีการยึด ขันน็อต จากด้านใน โดยเอาปลายออกนอกราง จะได้ไม่บาดสายไฟ

 =============================

 

6.สายไฟใต้แผง ระโยง ระยาง วงพาดบนพื้นหลังคาเมทัลชีต

การที่สายไฟฟ้าใต้แผง วางพาดบนหลังคา นี้ช่วง 2-3 ปี แรกของการติดตั้ง อาจจะไม่ค่อยมีปัญหานักหรอก แต่อย่าลืมว่าจะต้องอยู่ ต่อไปเป็น 20ปี หรือมากกว่านั้น เจอฝกตก น้ำฝนไหลจากหลังคา มาโดนสายไฟ เสร็จแล้วโดนความร้อนจากแดด เข้าไปอีก  ซึ่งไม่กี่ปี สายก็อาจจะเสื่อมสภาพ ก่อนเวลาอันควร ทำให้มีปัญหากับระบบฯ ในระยะยาว

 

วิธีแก้ไข  ตรวจสอบเก็บสายใต้แผง โดยใช้คลิปหนีบกับขอบแผง (ผูู้จำหน่ายMounting มีขาย แต่ก็เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกหน่อย) หรืออาจใช้อลูมิเนียมแบนหนีบ หรือเคเบิ้ลไทร์แบบทนUV หรือวัสดุอื่นๆที่ทนแดดทนฝน รัดสายไฟ อย่าให้ห้อย พาดบนพื้นหลังคา

==========================================

 

7.ไม่ยึดน็อต ในจุดที่สำคัญ หรือขาดการตรวจสอบขันทอร์คน็อต

 

 วิธีแก้ไข  ต้องทำการตรวจสอบ ขันน็อต หรือทอร์คน็ต หรืออาจจะประเมินว่าสุ่มทอร์คน็อต ขึ้นอยู่กับหน้างานแต่ละแห่ง

=============================================

 

8. ใช้สกรูยึด L-Fleet ผิดประเภท

ส่วนใหญ่ สกรูยึด L-Fleet ของ Mounting แต่ละยี่ห้อจะต้องมีน็อตตัวเมีย สอดเข้าในช่อง Rail เพื่อคอยยึดน็อตตัวผู้ให้แน่นหนา แต่จากรูป ช่าง(เค้าเถอะ) ใช้สกรูเกลียวปล่อยยิงอัดจาก L-Fleet ทะลุไปยึดกับราง Rail ซึ่งอัดอย่างไรก็ไม่แน่น แถมเกลียวรูดอีกต่างหาก  ประกอบกับชุด Mounting ส่วนใหญ่ไม่ได้รองรับเฉพาะแผงโซล่าเซลล์ เท่านั้น เพราะส่วนใหญ่เราจะนำมายึด รองรับราง Perforace Tray หรือ Race Way หรืออาจจะนำมารองรับ Walk Way ด้วย (ต้องแบกน้ำหนักผู้ปฏิบัติงาน ที่เดินบนราง หรือ Walk Way ด้วย) 

วิธีแก้ไข  เปลี่ยนสกรู ให้เป็นชุด ยี่ห้อเดียวกับ Rail ซึ่งจะมีน็อตตัวมามาร้อยอยู่ใน Rail ขันแล้วก็แน่นปั๊ก พร้อมทำการวัดทอร์ค ให้เหมาะสมตามที่Mounting ยี่ห้อนั้นๆแนะนำ

======================================

 

9. ต่อ Rail ในจุดที่ไม่ควรต่อ ทำให้โครงสร้าง Mounting ไม่แข็งแรง

ไม่ควรต่อ Rail ตรงปลาย Rail ซึ่งเป็นจุดรับน้ำหนักของรางเดินสายไฟ และรับน้ำหนักผู้ปฏิบัติด้วย ซึ่งทำให้โครงสร้างของรางเดินสายไฟ และชุด Mounting รองรับแผง ไม่แข็งแรงด้วย

 

วิธีแก้ไข ต้องรื้อแผง แล้วทำการติดตั้ง Rail ใหม่ โดยห้ามตัดต่อ Rail ในตำแหน่ง ที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ

===========================================

 

10.ระยะการจับยึดแผง กับ Rail ผิดหลักการถ่ายเทน้ำหนักที่ดี
ระยะยึด Rail ถึงขอบแผง โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 35-40 ซ.ม. จากรูปด้านล่างนี้ระยะ ไม่ถึง 5 ซ.ม. ทำให้แผง ตกท้องช้าง นานๆไป แผงแอ่น และแคร็ก ซึ่งในภาพรวมแล้วของไซท์นี้ มีหลายจุดมากๆ ที่จับยึดโดยไม่คำนึงถึงระยะปลอดภัย ในการยึดแผง เพราะแต่ละยี่ห้อ ก็จะมี Data Sheet ระบุว่าต้องยึดในตำแหน่งใดที่เหมาะสม

วิธีแก้ไข รื้อแผงติดตั้งใหม่ สถานเดียวเลยครับ เรื่องใหญ่เลย ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องยกแผง ลงข้างล่างก่อนหรือป่าว ราคาค่าปรับปรุงนี่แพงกว่าติดตั้งใหม่อีก เพราะต้องเสียกำลังคนในการรื้อออก วิธีการติดตั้งให้ถูกต้องก็ต้องไปดู DATA SHEET ของแผงแต่ละยี่ห้อ  ก็ตัวอย่างตามรูปด้านล่างนี้ (อันนี้ก็เคยเขียนรายละเอียด ในเว็บไว้แล้ว ลองค้นๆหาดูครับ)

=================================================

 

 11.ใช้ราง Wireway ภายในอาคาร มาใช้งานภายนอกอาคาร โดยใช้วิธีการทาสีทับ

 

 วิธีแก้ไข  ง่ายๆเลยคือเปลี่ยนไปใช้เป็นวัสดุที่ใช้ภายนอกอาคาร เช่น Perforate Tray ชุบกัลวาไนซ์ เป็นต้น

=========================================

 

12. ตู้ AC Board ไม่ได้ใส่ Surge Protection Device ( SPD ) ฝั่ง AC

วิธีแก้ไข  ใส่ AC Surge Protection เข้าไป ตามรูปตัวอย่างข้างล่างนี้

============================================