fbpx

          เรื่องการวางแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาเมทัลชีต แบบสกรูยึด เท่าที่ทีมงานโซล่าฮับ พบเจอมา ก็แล้วแต่คนออกแบบการวางแผงครับ สไตล์ใคร ก็สไตล์มัน แต่ลองช่วยกันคิดหรือหาเหตุผลหน่อยครับ ว่าวางแบบใดดีที่สุดสำหรับผู้ติดตั้ง และกับผู้ใช้งาน(Owner) 

แบบที่ 1 วาง Rail ตามลอนเมทัลชีท

แบบที่ 2 วาง Rail ตามแป

ดังรูปที่ 1 , 2 และ 3 

 รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

 

          ขอเฉลยก่อนว่า ทีมงานโซล่าฮับ เลือกที่จะออกแบบการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เป็นแบบที่ 1 วาง Rail ตามลอนเมทัลชีทเนื่องจากมีข้อดีหลายๆอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

          1. แบบที่1 สามารถปรับแต่งตำแหน่งการจับยึดแคล้มป์ ได้ถูกต้องตาม Specification ของแผงโซล่าเซลล์ของแต่ละยี่ห้อที่ระบุเอาไว้ ซึ่งจุดประสงค์หลักของ Specification ก็เพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรงในการจับยึดแผงฯกับโครงสร้างของหลังคา และรองรับแรงกด (โซนยุโรป มีหิมะตกเป็นแรงกด) และแรงยก (เพื่อจะได้ต้านทาน  Wind Load หรือแรงลม ได้ครับ ยิ่งตอนนี้ในเมืองไทยเรา รู้สึกว่า แรงลม แรงขึ้นกว่าแต่ก่อนนะ) ยกตัวอย่าง Installation Manual ของ PV ยี่ห้อ REC ตามรูปที่ 4

รูปที่ 4

          จากรูปที่ 4  Installation Manual ของ PV ยี่ห้อ REC แสดงตำแหน่งที่ควรยึดแคล้มป์ จะมีแสดงอยู่ 3 สี คือ

A.ตำแหน่งสีเขียว สามารถยึดแคล้มป์ ได้ โดยรับแรงกดได้ 75.2 ปอนด์ (โซนยุโรป เพื่อรองรับหิมะ)  และรับแรงยกได้ 33.4 ปอนด์

B.ตำแหน่งสีเหลือง สามารถยึดแคล้มป์ ได้ โดยรับแรงกดได้ 33.4 ปอนด์ (โซนยุโรป เพื่อรองรับหิมะ)  และรับแรงยกได้ 33.4 ปอนด์

C.ตำแหน่งสีแดง ห้ามยึดแคลมป์

          ทีนี้เรามาดูเหตุผลกันว่าทำไม ทีมงานโซล่าฮับ จึงบอกว่าแบบที่ 1 สามารถปรับแต่งตำแหน่งการจับยึด Rail และแผงโซล่าเซลล์ ได้ถูกต้องตาม Specification ก่อนอื่นต้องรู้ พื้นฐาน ขนาด หรือสเกล ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

-แผงโซล่าเซลล์ แบบPoly Crystalline ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะมีกำลังไฟฟ้า ประมาณ 300 - 360 w. ซึ่งจะมีขนาด 1x2 เมตร
-Rail ส่วนใหญ่ยาวประมาณ 4.1 - 4.3 เมตร และบางครั้งอาจสั่งรีด Rail 5.2 เมตร 
-ระยะห่าง ระหว่างแป ที่พบเจอมาแต่ละอาคาร จะมีระยะห่างไม่เท่ากัน เช่น 1เมตร ,1.2 เมตร 1.4 เมตร 1.5 เมตร  เป็นต้น

-ระยะความกว้างของลอนเมทัลชีท แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นไม่เท่ากัน

รูปที่ 5

รูปที่ 6

         

          การจับ L-Fleet แบบสกรูยึด เราต้องยึดสกรูทะลุหลังคาเมทัลชีทเพื่อขันอัดลงบนแป เพื่อความมั่นคง แข็งแรง ของ PV จากรูปที่ 5 ตัวอย่างหากระยะระหว่างแป 1 เมตร , Rail 4.2 เมตร เราก็ยึด L-Fleet ตามแป ซึ่งห่างกัน 1 เมตรก็ใช้ 1ตัว ถ้าใช้ Rail 2 เส้น ก็ใช้ L-Fleet 9 ตัว ที่นี้มาดูรูปที่ 6 ก็จะเห็นว่าเราสามารถปรับระยะระหว่าง Rail ได้ว่า จะมีระยะห่างเท่าใด ตามที่ Spec.PV กำหนดมาตามรูปที่ 4 (จริงๆมีรายละเอียดอีกว่าระยะลอนเมทัลชีท ไม่เท่ากัน ) ซึ่งตามรูปเราวาง Rail ห่างกัน 1.4-1.5 เมตร และระยะจากขอบแผง ถึง Rail ประมาณ 25-30 ซ.ม. ซึ่งก็พอเหมาะพอควร และตรงตาม Spec. PV กำหนด

          แต่ถามว่าหากเราวาง Rail ห่างกันแค่ 1 เมตร ได้ไหม ตอบเลยว่าได้แต่ก็เสี่ยงแผงบิน แต่ถ้าลมมาแรงๆ ก็ตัวใครตัวมันหล่ะครับ (งานนี้มีแผงบินแน่) เพราะเหลือขอบแผง มาถึง Rail ตั้ง 50 ซ.ม. ลมมาแรงๆก็มีสิทธิ์กระพือ แน่ๆเลยครับ

          แล้วถ้าวางแบบที่ 2 ปรับระยะห่างระหว่าง Rail ไม่ได้เหรอ?

          คำตอบคือ ไม่ได้ครับ เพราะเรายึดแคล้มป์ กับแป ซึ่งระยะแป มันฟิก ต้องลองดูรูปที่ 7 และ 8 ดังนั้นก็ต้องโดนบังคับ ระยะระหว่างRail ก็ต้องเท่ากับ ระยะแป ซึ่ง มีตั้งแต่ 1 , 1.2 , 1.4 , 1.5 เมตร เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่ที่เจอก็ 1 เมตร ซึ่งก็มีผลทำให้ระยะระหว่างขอบแผง ไปถึง Rail ประมาณ 50 ซ.ม. หากมีลมมาแรงๆ ก็เกรงว่าจะกระพือ ได้นะครับ

รูปที่ 7

 รูปที่ 8

          2.ดีต่อการบำรุงรักษาหลังการติดตั้ง กรณีที่ไม่ได้ทำ Walk Way การเดินบนหลังคาเมทัลชีท ส่วนใหญ่เราก็จะเดินในร่อง ตามแนวแป (ไม่เดินบนเนินลอนแป) หากเราวางแบบที่ 2 เท้าของเราจะลงร่องไม่ได้ (ส่วนใหญ่ร่อง จะเล็กกว่าเท้าเรา) ทำให้เราอาจต้องเหยียบบนลอน ซึ่งอาจจะบุบ หรือ รั่วได้ ดูตามรูปที่ 9 และ 10

รูปที่ 9

รูปที่ 10

 

          3.สำหรับแบบที่ 2 ที่น่าจะเป็นข้อดีคือ ใช้ L-Fleet น้อยกว่าแบบที่ 1  กล่าวคือ ถ้าวางแถวละ 8 แผง ใช้ Rail 2 เส้นต่อกัน แบบที่ 1 จะใช้ L-Fleet 9 ตัว  แต่วางแบบที่ 2 จะใช้ L-Fleet 5 ตัว ครับ ก็ลองๆไปนึกภาพตามดูครับ

          4.แถมท้ายรูปตัวอย่าง PV Dimension ของแต่ละยี่ห้อ ที่ระบุตำแหน่งยึดแคล้มป์ ของแผง ตามรูปด้านล่างครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*** ทั้งนี้บทความนี้เป็น ความเห็นของทีมงานโซล่าฮับ ที่ได้พบเจอมา จึงนำมาถ่ายทอด แบ่งปันครับ และนำไปอ้างอิงแบบนักวิชาการไม่ได้นะครับ หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ต้องขออภัย และขอความกรุณาแจ้งกับทีมงานฯ เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ถูกต้อง เหมาะสมต่อไป ***