fbpx

วันที่ 14-16 ก.ย.65 นี้ มีงานเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทน จัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (งานนี้เป็นงานแรก หลังจากที่ได้มีการรีโนเวทศูนย์ประชุมฯ ) ชื่องาน ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK 2022 (ASEW)

เมื่อวันที่ 16 ก.ย.65 โซล่าฮับ (โดยคุณอิสระ ห้าวเจริญ กรรมการผู้จัดการ) ในฐานะเป็น EPC หรือผู้รับเหมารายหนึ่ง มีโอกาสได้ร่วมเสวนา กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ที่บูทของ SolarEdge Distributor - Solomon เพื่อซักถาม และตอบข้อสงสัย (จริงๆน่าจะเป็นการบ่น ระบายในที่สาธารณะ ซะมากกว่านะ^L^' ) เกี่ยวกับกฏระเบียบ การขออนุญาต ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งเป็นประโยชน์และคลายข้อสงสัย ได้เยอะเลย...

เห็นว่าเป็นประโยชน์ กับข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย!! อ๊ะ..ไม่ใช่ๆ

เห็นว่าเป็นประโยชน์ กับเพื่อนๆช่างทั้งหลาย จึงขอนำมาให้อ่านกันเพลินๆ

ข้อมูลที่ ปุจฉา วิสัชชนา กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ บ.โซล่าฮับ

 

ช่วงแรก ของการเสวนา เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค : PEA  โดยคุณธรรศกร ทองบ่อ หัวหน้าแผนกส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก 2 กองส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้บรรยายในเรื่อง รูปแบบการเชื่อมต่อ Solar Rooftop และ ระบบป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย

>>> รูปแบบการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้า

       >> Off Grid system (Off Grid + Stand alone)

       >> Off Grid system (Off Grid + Backup Mode) 

       >> Grid connected system (On Grid)

       >> ผู้ผลิต/ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขายไฟฟ้า (VSPP)

       >> ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (IPS IPU)

       >> สรุปขอบเขตการอนุญาต ที่ PEA พิจารณา

>>> การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ตามข้อกำหนดการเชื่อมต่อ PEA

       >> มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า (วสท.)และข้อกาหนดการเชื่อมต่อ (PEA)

       >> การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ตามข้อก าหนดการเชื่อมต่อ PEA

       >> ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 2559 

       >> ข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 2559  ฉบับปรับปรุง ปี 2565 ประกาศ กฟภ. วันที่ 29 เม.ย. 65 ปรับปรุงรูปแบบการเชื่อมต่อ Converter

       >> รูปแบบที่ การเชื่อมต่อสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า แบบต่างๆ รวม 10 รูปแบบ

ช่วงที่สอง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล และข้อสงสัย ที่ โซล่าฮับ ได้ปฏิบัติงานจริง ตามข้อกำหนดการเชื่อต่อระบบโครงข่าย และการยื่นขออนุญาตฯต่างๆในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ก็จะมีคำถาม ปุจฉา วิสัชชนา ตามด้านล่างนี้

 

        1.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >>เรื่องการรับซื้อไฟฟ้า โครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน เนื่องจากอินเวอร์เตอร์ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่มีขนาด 5 kW สำหรับ 1เฟส และ 10 kW. สำหรับ 3เฟส โดยปกติในเมืองไทยเราก็จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เผื่อค่าสูยเสียหรืออื่นๆ อีก 20% จากกำลังไฟฟ้าที่อินเวอร์เตอร์ผลิตได้ เช่น Inverter 5kW. ก็ติดแผง ประมาณ 6 kWp. และ Inverter 10kW. ก็ติดแผง ประมาณ 12 kWp. เป็นต้น

        โครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน มีอนุมัติให้ ขายไฟได้ 5 และ 10 kW. โดยดูจากขนาดแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งทำให้เหมือนกับว่า ประชาชนลงทุนติดตั้งแล้ว ไม่ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของระบบฯ มีความเป็นไปได้ไหม ว่าจะอนุมัติ ขายไฟฟ้าได้ 6 กับ 12 กิโลวัตต์ เพื่อให้การลงทุนได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น หรืออนุญาตให้ติดตั้งโดยดูจากขนาดของอินเวอร์เตอร์เป็นหลัก

        วิสัชนา (PEA)    >>ในส่วนของคณะทำงานของ กฟภ. เองก็มีการพิจารณาประเด็นนี้ เพื่อเป็นโยชน์สูงสุดในการลงทุน ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอ เพียงแต่ กฟภ. เป็นผู้รับนโยบายจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ. ที่เป็นผู้กำหนดนโยบายลงมา ซึ่งก็จะนำเสนอข้อมูลดังกล่าวนี้ไปยัง กกพ.ต่อไป

         แต่ถ้าได้แรงสนับสนุน หรือนำเสนอจากหลายๆส่วน เช่น ประชาชน ผู้รับเหมา ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ไปยัง กกพ. ก็จะได้เป็นแรงสนับสนุนที่มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

 

        2.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >> ณ ปัจจุบัน การขอขายไฟฟ้า ในโครงการโซล่าเซลล์ ภาคประชาชน เราสามารถ ยื่นออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซท์ของ กฟภ.ได้ ที่ ppim.pea.co.th แต่หากว่าเราไม่ต้องการขายไฟฟ้าฯ ต้องการเพียงขออนุญาตฯเพื่อขนานไฟ นั้นยังไม่มีช่องทางออนไลน์ ให้ยื่น ซึ่งยื่นขออนุญาตฯ ต้องเดินทางข้ามจังหวัด ไปติดต่อขออนุญาต ขนานไฟด้วยตนเอง ซึ่งเป็นอุปสรรค เป็นอย่างมาก จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีการติดตั้งแล้ว ไม่ขออนุญาตฯ จากการไฟฟ้าฯ

          ขออนุญาตนำเสนอ ทำแบบเว็บของ การไฟฟ้านครหลวง : MEA ที่เว็บ myenergy.mer.or.th สามารถยื่นออนไลน์ ได้ทั้งขอขายไฟฟ้า และขอขนานไฟฟ้า ซึ่งจะมี Drop/Down List ให้เลือกว่าจะยื่นขออนุญาตแบบใด

         วิสัชนา (PEA)    >>  กฟภ. รับทราบปัญหา ซึ่งอยู่ในระหว่าการปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากเป็นแพลทฟอร์ม ที่ต้องแก้ไขในระบบใหญ่ ที่มีการส่งต่องานภายใน ซึ่ง ทางผู้บริหาร และหน่วยงานระดับนโยบาย กกพ. ก็กำชับมาแล้วเนื่องจาก การติดตั้งโซล่าเซลล์จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และประชาชน จะเข้าถึงมากยิ่งขึ้น และกำลังปรับปรุง

      

         3.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >> ข้อนี้ขอชื่นชม ก่อนหน้านี้ หากเราจะยื่นขออนุญาตฯขายไฟฟ้า ในฐานะ EPC ก็จะรับมอบอำนาจ จากเจ้าของบ้านเพื่ออำนวยความสะดวก หากจะยื่นขอขายไฟฟ้า ต้องลงทะเบียนสร้างแอ๊คเคาท์ เพื่อขอขายไฟ โดย 1อีเมล์ ก็จะขอขายไฟได้แค่ 1 หลัง ดังนั้นหากผู้รับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ จะรับมอบอำนาจจากเจ้าของบ้าน มายื่นแทน ก็จะต้องสมัครอีเมล์ใหม่ ทุกครั้ง โดยหากเป็นเว็บของ กฟน. สมัครเป็นผู้รับมอบอำนาจครั้งเดียว ก็สามารถรับมอบอำนาจยื่นแทนเจ้าของบ้านได้ตลอด โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
           *ล่าสุด ส.ค.65 เว็บของ https://ppim.pea.co.th สามารถลงทะเบียนเครั้งเดียว อีเมล์เดียว สามารถยื่นแทนเจ้าของบ้านได้ทุกรายแล้ว >>> ตรงนี้ขอชื่นชมและขอบพระคุณ กฟภ. ที่พยายามปรับปรุงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน 

           วิสัชนา (PEA)    >> ยินดีเช่นกัน ซึ่ง กฟภ. ก็พยายามปรับปรุง ให้สะดวกมากๆยิ่งๆขึ้น

 

         4.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >> การเลือกใช้อุปกรณ์ ทดแทนรีเลย์ เพราะเบรคเกอร์ บางช่วงขนาดของกระแส ไม่มีขายในท้องตลาด และหรือหากมี ก็ต้องสั่งจากต่างประเทศ นานกว่า 90 วัน จึงจะได้ของ และสินค้าบางอย่างไม่มีในท้องตลาด เช่น RCBO 100 A ที่แทบไม่มีขายเลย  ซึ่งทางโซล่าฮับ ได้จัดทำตารางแสดงรายการอุปกรณ์ แต่ละช่วงขนาดกระแส ที่จะนำมาทดแทน Relay Protection (โดยเดี๊ยวจะนำมลงในเว็บ ในโอกาสต่อไป หรือท่านสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง ในบทความนี้)

            วิสัชนา (PEA)    >> ขอไปดูรายละเอียดรายการอุปกรณ์ ที่โซล่าฮับ นำเสนอมา เพื่อให้คณะทำงานพิจารณาต่อไป ซึ่งข้อมูลเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด จะได้นำเสนอให้คณะทำงาน นำมาพิจารณาให้ต่อไปในอนาคต

 

         5.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >>  เนื่องจากการขออนุญาตฯ ในบางเขตการไฟฟ้า ต้องให้นำพยาน ไปเซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าด้วย ซึ่งเป็นการสร้างความลำบาก มาก เพราะต้องมีทั้งผู้รับมอบอำนาจ แล้วต้องหนีบพยานไปด้วยอีก 1 คน ซึ่งทำให้เปลืองบุคคลากร 2 คน ในคราวเดียวกัน สำหรับของ กฟน. ก็แค่ให้เซ็นพยาน ได้โดยไม่ต้องเดินทางไป ทั้งนี้ กฟภ. สามารถปรับปรุงให้สะดวกมากขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร 

           วิสัชนา (PEA)    >> ขอรับข้อเสนอไปปรึกษาฝ่ายกฏหมาย

 

         6.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >> เนื่องจากข้อกำหนด มีความละเอียด ซับซ้อน มีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย ช่วยสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง 12 เขตการไฟฟ้า เพื่อให้เข้าใจในข้อกำหนด ให้สอดคล้องกัน เพื่อป้องกันความสับสน ต่อผู้ขออนุญาต 

         วิสัชนา (PEA)    >> ขอส่งต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

          7.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >>  การชำระเงิน การสร้างโค๊ตเพื่อรับชำระ กรณีขออนุญาตเพื่อขอขนานไฟ เนื่องจากการชำระเงินค่าเปลี่ยนมิเตอร์ หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขออนุญาตฯ สำนักงานบริการไฟฟ้าฯ ต้องมีการสร้างโค๊ต ในการชำระเงิน ซึ่งที่พบปัญหาคือบางสำนักงานการไฟฟ้าฯ ยังไม่สามารถรับชำระเงินได้ ซึ่งต้องอาจต้องเดินทางไปยังบางแห่ง ที่ทำเป็น หรืออาจต้องเดินทางมาชำระเงินที่ สำนักงานใหญ่ กฟภ.

             วิสัชนา (PEA)    >> ขอส่งต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

           8.ปุจฉา (โซล่าฮับ) >>  การขึ้น List ของอินเวอร์เตอร์ที่ประกาศอย่างเป็นทางการล่าช้า กว่าในเว็บ ตัวอย่าง เช่น ถ้าเรายื่นขอขายไฟ ที่เว็บ ppim.pea.co.th จะมีรุ่นของอินเวอร์เตอร์ รุ่นดังกล่าวให้เลือกแล้ว ซึ่งเราก็สามารถยื่นขนานไฟได้เลย  แต่ยังไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการ ว่ารุ่นดังกล่าวผ่านการทดสอบแล้ว

              วิสัชนา (PEA)    >>  ขอส่งต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

           9.คำถามฝาก จาก SolarEdge  กฟภ มีโอกาสที่จะปลด INV ที่ไม่มี AFCI ของจาก list หรือไม่ กฟภ แจ้งว่าไม่น่าเป็นไปได้ โซล่าฮับ แสดงความเห็นว่า EPC ควรให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงของแบรนด์นั้นๆ ทาง SolarEdge เสนอให้ กฟภ. นำเสนอข้อมูลเหล่านี้ ในเว็บของ กฟภ.

           วิสัชนา (PEA)    >> ฝั่ง DC น่าจะไม่เกี่ยวข้องกับ grid code และถ้ากำหนดให้มี rapid shutdown กฟภ. เองก็มีบุคลากรในการตรวจไม่เพียงพอ 

 +++ =============================================================================+++

 *** ทั้งนี้ข้อมูลที่กล่าวนี้ เป็นข้อมูลในมุมมอง ในฐานะผู้ใช้บริการ นะครับ เพื่อสะท้อนปัญหา ข้อติดขัด ในทางปฏิบัติ  เท่านั้น  และในบางเรื่องก็ขอชื่นชมที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญ มิได้มีวัตถุประสงค์อื่นใด หากมีข้อมูลใดที่ไม่ถูกต้อง หรือทำให้ท่านขุ่นเคือง ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ***

*** สำหรับบางท่าน ที่อ่านคำถาม และ คำตอบด้านบน แล้วไม่ค่อยเข้าใจ  ก็ขอให้อ่านด้านล่าง เป็นการขยายความของคำถาม ที่โซล่าฮับ ได้เตรียมไว้ก่อนการเสวนา ซึ่งได้อธิบาย ขยายความ ให้พอได้เข้าใจในระดับหนึ่ง

(นำเสนอตอนจบก่อนแล้วค่อยขยายความที่มา ตอนท้าย >>> อันนี้ เลียนแบบ สตาร์วอร์ ที่สร้างตอนจบก่อน แล้วค่อยย้อนไปดูตอนในอดีต...^L^)

 ข้อมูลที่โซล่าฮับ จัดเตรียมมา ก่อนการเสวนา กับ กฟภ. 

>>> ก่อนที่จะมีการเสวนา ทีมงานโซล่าฮับ ได้ตระเตรียม คำถามไว้มากมาย หลายข้อหา.. เอ๊ยไม่ใช่อีกล่ะ  ว่าทำไมๆๆๆๆ ดังนั้นจึงขอส่งรายการ ที่ได้เตรียมไว้มาให้ดูก่อนแล้วกัน 

     กรณีปรับปรุงข้อกำหนดการเชื่อมต่อ ของกฟภ. ลว.29 เม.ย.65

     1.เนื่องจากมีข้อกำหนด เงื่อนไข หลายข้อและซับซ้อน สำหรับคนที่เรียนไฟฟ้า มาแต่ไม่ได้อยู่ในแวดวงโซล่าเซลล์ ก็ยังยากที่จะทำความเข้าใจ ดังรูปตัวอย่างของข้อกำหนดการเชื่อมต่อฯ

 

          1.1 หากเป็นไปได้ ขอขอนำเสนอให้ ว่าทำเป็นเคส หรือ กรณีตัวอย่างเป็นรูปธรรม เช่นเขียน Single Line ให้ดูเป็นตัวอย่าง สัก 2-3 เคส ในตอนท้ายของกฏระเบียบฯ ก็ดีนะ ตามรูปเป็นตัวอย่าง Single Line ของโซล่าฮับ ที่ ใส่ MCCB แล้วมี Ground Fault Protection

 

 

           1.2 โรงงานหรือ Owner ที่จะติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ หากเห็นประกาศว่าไม่ต้องใช้ Relay Protection แต่ไม่ได้ลงละเอียด ว่าต้องมีอุปกรณ์มาทดแทน ซึ่งบางช่วงของ พิกัดกระแส ของเบรกเกอร์ จะไม่มีอุปกรณ์มาทดแทน และหรือในเมืองไทยไม่มีของ ต้องสั่งจากต่างประเทศ ที่ใช้เวลานาน มากถึง 90 วัน ซึ่งผู้รับเหมา ผิดพลาดจากจุดนี้ เพราะโดนตัด Cost เรื่อง Relay แต่หาอุปกรณ์มาทดแทนไม่ได้ ส่งผลให้ การไฟฟ้าฯ ตรวจแบบฯ ไม่ผ่าน และส่งงานไม่ได้ สรุปสุดท้ายเบิกเงินงวดไม่ได้ 

           โซล่าฮับ ขอความกรุณาว่า >>> หากมีข้อกำหนดใดๆ รบกวนระบุอุปกรณ์ ที่มีอยู่ในตลาด ที่จะนำมาทดแทนเป็นไกด์ไลน์ด้วย เพื่อป้องกันความไม่ชัดเจน

 

          1.3 เนื่องจากข้อกำหนด มีความละเอียด ซับซ้อน มีบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย

           โซล่าฮับ ขอความกรุณาว่า >>> ช่วยสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง ภายในองค์กร เพื่อให้เข้าใจในข้อกำหนด ให้สอดคล้องกัน เพื่อป้องกันความสับสน ต่อผู้ขออนุญาต

            จึงขอยกตัวอย่าง เคสประสบการณ์จริง ของโซล่าฮับ เช่น เคยนำเสนอ Single Line ว่าจะนำอุปกรณ์ Z-CT ที่มีฟังก์ชั่น Earth Leakage มาใช้ทดแทน Relay ผู้ตรวจแบบฯ ท่านแรก แจ้งว่า ใช้อุปกรณ์ดังที่เสนอมาได้ ครบตามเงื่อนไข ทางโซล่าฮับ ก็ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว แต่พอผ่านมาระยะหนึ่งนำแบบฯ ไปส่งให้ ได้รับแจ้งว่า เจ้าหน้าที่คนเดิมย้ายไปแล้ว ต้องให้คนใหม่ตรวจแบบฯ และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ท่านใหม่ว่า Z-CT ที่มีฟังก์ชั่น Earth Leakage นำมาใช้ทดแทนไม่ได้

             ดังนั้นจึงต้อง ถอดอุปกรณ์ Z-CT ออกทิ้ง และต้องสั่ง MCCB แบบมี Ground Fault Protect : GFP มาทดแทน ตามที่เจ้าหน้าที่ตรวจแบบฯ ท่านใหม่แจ้งมา ซึ่งต้องรออุปกรณ์จากต่างประเทศ 90 วัน ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจว่า พอได้ของมาแล้วเปลี่ยนคนตรวจ แล้วจะผ่านไม๊? และก็ทำให้การเบิกเงินค่าติดตั้ง ยังได้ไม่ครบถ้วน เพราะใบอนุญาตฯ ยังไม่แล้วเสร็จ


       2. โซล่าฮับ ได้จัดทำตาราง อุปกรณ์ที่นำมาทดแทน ในช่วงของแต่ละพิกัดกระแส ที่มีจัดจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพิจารณานำมาทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม

 

  

        กรณีปรับปรุงข้อกำหนด เกี่ยวกับโซล่าเซลล์ สำหรับบ้านพักอาศัย
     1. ปัจจุบัน ส.ค.65 การยื่นขอขายไฟ สามารถยื่นขอทางออนไลน์ เว็บไซท์ https://ppim.pea.co.th เป็นช่องทางที่สะดวก มีผู้รับผิดชอบชัดเจน

 

             แต่หากว่า เป็นบ้านพักอาศัย ที่ไม่ต้องการขายไฟ (ขอขนานไฟ) ยังไม่สามารถยื่นออนไลน์ ดังนั้นจึงเกิดความยุ่งยากที่ ไม่มีช่องทางการติดต่อกับผู้รับชอบโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ ต้องเดินทางข้ามจังหวัดไปสอบถามข้อมูล และต้องเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง ซึ่งก็ต้องไปหลายๆรอบ กว่าจะได้รับการใบอนุญาตให้ขนานไฟ จุดนี้ยังสร้างความยุ่งยากให้กับผู้ขอขนานไฟ จึงทำให้บางบ้าน เลือกที่จะไม่ขออนุญาต

            *ทั้งนี้หากเป็น ของ กฟน. เว็บ https://myenergy.mea.or.th มี Drop/Down List เมนู ให้เลือกได้ว่า จะยื่นขอขายไฟ หรือ ยื่นขอขนานไฟ ซึ่งก็สะดวกมาก ซึ่งของ กฟน. งานที่ยื่นเข้าไปก็จะส่งไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง


           2. ก่อนหน้านี้ เว็บ https://ppim.pea.co.th หากจะยื่นขอขนานไฟ ต้องลงทะเบียนสร้างแอ๊คเคาท์ เพื่อขอขายไฟ โดย 1อีเมล์ ก็จะขอขายไฟได้แค่ 1 หลัง ดังนั้นหากผู้รับเหมาติดตั้งโซล่าเซลล์ จะรับมอบอำนาจจากเจ้าของบ้าน มายื่นแทน ก็จะต้องสมัครอีเมล์ใหม่ ทุกครั้ง โดยหากเป็นเว็บของ กฟน. สมัครเป็นผู้รับมอบอำนาจครั้งเดียว ก็สามารถรับมอบอำนาจยื่นแทนเจ้าของบ้านได้ตลอด โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่
           *ล่าสุด ส.ค.65 เว็บของ https://ppim.pea.co.th สามารถลงทะเบียนเครั้งเดียว อีเมล์เดียว สามารถยื่นแทนเจ้าของบ้านได้ทุกรายแล้ว >>> ตรงนี้ขอชื่นชมครับ ที่พยายามปรับปรุง

           3. กรณียื่นขายไฟ ของ กฟน. เมื่อยื่นทางออนไลน์แล้ว จะมีสถานะของการยื่นแจ้งผ่านทางอีเมล์ และแสดงสถานะการขออนุญาต ว่าถึงขั้นตอนใดแล้ว ทำให้ผู้ขออนุญาต ติดตามงานหรือรู้ว่าอยู่ในขั้นตอนใด แต่ในส่วนของ กฟภ. หากยื่นเอกสารขออนุญาตแล้ว และหากมีการประกาศว่ามีสิทธิ์ขายไฟได้ ก็จะแจ้งประกาศทางอีเมล์ และแจ้งรายชื่อที่เว็บ ppim.pea.co.th จากนั้นก็ไม่มีการอัพเดทใดๆต่อ ทำให้ผู้ขออนุญาต ต้องโทรติดตาม สอบถามแต่ละเขตการไฟฟ้าเอง และรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมาอย่างเดียว

*ซึ่งหากเป็นของกฟน. จะมี Status แสดงว่าถึงขั้นตอนใด หากล่าช้าหรือติดขัดตรงไหนก็จะติดตามงานได้โดยง่าย

          4. สำหรับการออกประกาศ กฟภ. ลว.18 ก.ค.65 เรื่องผ่อนผันการเชื่อมต่อระบบโซล่าเซลล์ บ้านพักอาศัย ก็ขอชื่นชม ที่มองเห็นปัญหา ในทางปฏิบัติ ซึ่ง

                a. สำหรับข้อ 1 เดิมในทางปฏิบัติ หากขอขายไฟ เข้าใจว่าอาจต้องส่งเรื่องไปยัง การไฟฟ้า แต่ละพื้นที่เพื่อดูว่า ในหม้อแปลงนั้นๆ มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ เกินจาก 15% ของหม้อแปลงลูกนั้นหรือไม่ ส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยเกิน เพราะบ้านพักอาศัย ยังติดโซล่าเซลล์ กันน้อยอยู่แล้ว ( ยกเว้นที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร ที่ขายบ้านแถมระบบโซล่าเซลล์ ประเภทนี้อาจจะเกิน 15% )
เมื่อผ่อนผันตามระเบียบที่ประกาศใหม่แล้ว ก็เข้าใจว่าไม่ต้องส่งเรื่องไปการไฟฟ้าพื้นที่ เพื่อตรวจสอบ ก็หวังว่าการพิจารณาอนุญาต จะรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

                b. สำหรับ ข้อ 2 เฉพาะติดตั้งโซล่าเซลล์ไม่เกิน 5 kWp. ไม่ต้องติดกันย้อน ซึ่งเจ้าของบ้านส่วนใหญ่จะขอติดกันย้อนเพิ่มเนื่องจากต้องการดูกราฟ การใช้ไฟ ของการไฟฟ้าด้วย หากไม่ติดกันย้อนก็จะดูได้เฉพาะกำลังไฟฟ้าของโซล่าเซลล์เท่านั้น ซึ่งข้อนี้ในมุมมองของบ้านพักอาศัย ก็ไม่ค่อยมีผลสักเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าการไฟฟ้า ก็จะได้ไฟเหลือจากแต่ละบ้านที่ไม่ได้ใช้ ไปฟรีๆ

          5. การติดตั้งโซล่าเซลล์ ในเมืองไทย ส่วนใหญ่ เราจะติดตั้งกำลังไฟฟ้าแผงโซล่าเซลล์ มากกว่า ขนาดของอินเวอร์เตอร์ ประมาณ 10-20 % เพื่อเผื่อการสูญเสียในระบบ , ความเข้มแสงแต่ละช่วงเวลา และเพื่อใช้งานอินเวอร์เตอร์ให้ใช้งานได้เต็มประสิธิภาพ เช่น อินเวอร์เตอร์ 5 kW. เราก็ติดแผง 6 kWp. , อินเวอร์เตอร์ 10 kW. ติดแผง 12 kWp. เป็นต้น ประกอบกับในท้องตลาดทั่วๆไป ก็จะมีอินเวอร์เตอร์ ขนาด 5 kW. และ 10 kW.

              แต่การอนุญาตให้ขายไฟ กำหนดให้ไม่เกิน 5 kWp. 1เฟส และ 10 kWp. 3เฟส โดยยึดถือจาก ขนาดของแผงโซล่าเซลล์เป็นหลัก ซึ่งค่อนข้างขัดแย้งในทางปฏิบัติ ซึ่งก็ทำให้ระบบโซล่าเซลล์ที่ติดตั้ง ทำงานที่ไม่เต็มความสามารถของอินเวอร์เตอร์ หรือการลงทุนไม่คุ้มค่าการลงทุนอย่างเต็มที่ >>> ข้อนี้อาจเกี่ยวไม่เกี่ยวข้องกับ กฟภ. แต่หากได้มีโอกาสนำเสนอ กกพ. ก็ขอฝากข้อนำเสนอนี้ด้วยครับ

+++===================================================================================+++