fbpx

ดาวโหลดอัตราค่าไฟฟ้า ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 2558 ได้ที่นี่

ก่อนที่จะคำนวณค่าไฟฟ้า เราต้องทำความรู้จักกับค่าที่เกี่ยวข้อง ก่อนดังนี้

1.Watt : วัตต์ คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้า

 2.Kilowatt : KW : กิโลวัตต์คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 W

3.Megawatt : MW : เมกกะวัตต์  คือหน่วยของ กำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 KW หรือ 1,000,000 W

4.KW-hour : กิโลวัตต์-อาว์เออร์ คือหน่วยของการคิดค่าพลังงานไฟฟ้า หรือที่เราเรียกกันว่า ยูนิต(Unit) หรือหน่วยนั่นเอง ซึ่งก็คือหน่วยของค่าไฟฟ้า ที่การไฟฟ้าเก็บตังค์บ้านเรานี่แหละครับ ทีนี้มันมีที่มา หรือคำนวณมาจากอะไรมาดูกัน

        พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต หรือ KW-hour)  =  กำลังไฟฟ้า (KW)  X  เวลา (ชั่วโมง)

หรือ ถ้าคิดกำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์ (W) ก็เอา 1,000 ไปหาร  จะได้

พลังงานไฟฟ้า (ยูนิต หรือ KW-hour)  =  กำลังไฟฟ้า (W)  X  เวลา (ชั่วโมง) / 1,000

ตัวอย่างเช่น

       4.1 พัดลมตั้งพื้นขนาด 16” ใช้กำลังไฟฟ้า 55 W เปิดยาวนานต่อเนื่อง 10 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้า

                                55 x 10 / 1,000  =  0.55 ยูนิต (หน่วย)

       

       4.2 เตารีดไอน้ำขนาดใหญ่ ใช้กำลังไฟฟ้า 1,800 W ใช้งาน ชั่วโมง  จะใช้พลังงานไฟฟ้า

1,800 x 2 / 1,000  =  3.6 ยูนิต (หน่วย)

       

        4.3 แอร์ 18,000 BTU ใช้กำลังไฟฟ้า 2,020 W เปิดยาวนานต่อเนื่อง 10 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้า

=  2,020 x 10  / 1,000  =  20.2 ยูนิต (หน่วย)

โครงสร้างค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย  ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร (ftภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat)

ในที่นี้จะอธิบายในส่วนของค่าไฟฟ้าฐาน เนื่องจากเมื่อทราบค่าไฟฟ้าฐานแล้วก็สามารถไปหาค่า ft (เปลี่ยนทุก4เดือน) และ vat ได้โดยง่าย

ค่าไฟฟ้าฐาน จำนวนยูนิต อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย

                เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าเป็นเรทหรืออัตราก้าวหน้า ซึ่งหมายถึงถ้าเราใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ค่าไฟฟ้าต่อยูนิตจะต่ำ กว่าคนที่ใช้ พลังงานไฟฟ้าสูง อีกทั้งยังแบ่งยิบย่อยเป็นประเภทการใช้งานอีก เยอะจนเรางงแหละครับ งั้นเรามาดูเฉพาะที่เกี่ยวกับบ้านพักอาศัยอัตราปกติแล้วกันครับ คือถ้า แบ่งเป็น บ้านที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน และ บ้านที่ใช้ไฟฟ้า เกิน 150 หน่วย/เดือนดูอตราค่าไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคล่าสุด ปี 2558 ตามรูป 

อตราคาไฟฟา1

ทีนี้เราลองมาคำนวณค่าไฟฟ้าจากจำนวนพลังงานไฟฟ้าตามข้อ 20 โดยตั้งสมมติฐานว่าบ้านเราใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน

จากข้อ 4.1 พัดลมกินพลังงานไฟฟ้า 0.55 ยูนิต (เปิดพัดลม 10 ช.ม.)  จะเสียค่าไฟฟ้า =  0.55 x 3.2484  = 1.78662 บาท

จากข้อ 4.2 เตารีดไอน้ำกินพลังงานไฟฟ้า 3.6 ยูนิต (รีดผ้านาน ช.ม.)  จะเสียค่าไฟฟ้า =  3.6 x 3.2484  = 11.69424 บาท

         จากข้อ 4.3 แอร์กินพลังงานไฟฟ้า 20.2 ยูนิต (เปิดแอร์ 10 ช.ม.)  จะเสียค่าไฟฟ้า =  20.2 x 3.2484  = 65.61768 บาท